th th
en

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.2020 มีรายงานค้นพบซากดึกดำบรรพ์เต่าคาดว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกจากวารสาร Science advance กระดองมีความยาวประมาณ 2.4 เมตร อายุประมาณ 5 – 10 ล้านปีที่แล้วจากทวีปอเมริกาใต้ ประเทศเวเนซูเอลา ชื่อ Stupendemys geopraphicus ซึ่งเป็นเต่าที่สูญพันธ์ไปแล้ว นักวิจัยคาดการณ์ว่าเต่าชนิดนี้มีขนาดใหญ่มากเนื่องจากเป็นการปรับตัวเพื่อต่อสู้กับนักล่าขนาดใหญ่ โดยยังคงมีร่องรอยการกัดบนกระดองอีกด้วย

Pic 1
ในบ้านเรา พบว่าซากดึกดำบรรพ์เต่าที่มีขนาดใหญ่นั้นใหญ่เพียงประมาณ 1.5 เมตรเท่านั้น ซากดังกล่าวเป็นเต่าบกที่พบในแหล่งขุดค้นบ่อทรายท่าช้าง จังหวัดนครราชสีมา มีการรายงานทางวิชาการในวารสาร Annales de Paléontologie ค.ศ. 2019 ชื่อ Megalochelys sp. อายุประมาณ 16 – 2.5 ล้านปีก่อน พบร่วมกับซากดึกดำบรรพ์อื่น ๆ อีกจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังพบเต่าบกอายุ 150 ล้านปี ขนาดกระดองยาวประมาณ 1 เมตร จากแหล่งขุดค้นบ้านคำพอก อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร ตีพิมพ์ในวารสาร Geological Society ,London ,Special Publications ค.ศ.2009 ว่าเป็นฟอสซิลเต่าสกุลใหม่ และชนิดใหม่ของโลกชื่อ Basilochelys macrobios. มีความหมายเป็นสิริมงคลว่า “ขอให้พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน” เพื่อเป็นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา
มีการศึกษาวิจัยเต่าบกขนาดยักษ์ทั้ง 2 ตัวที่พบในประเทศไทยอย่างละเอียด พบความโดดเด่นของเต่าโบราณที่กระดองเต่า เพราะมีบริเวณที่เชื่อมต่อระหว่างแผ่นของขอบกระดองภายนอกและภายใน มีรูปแบบลายที่เป็นตัวกำหนด ตลอดจนความชัดเจนของหัวกะโหลก กระดูกคอ กระดูกซี่โครงกระดูกขาหน้าและขาหลัง นับได้ว่าฟอสซิลเต่ายักษ์ทั้งสองตัวมีความสมบูรณ์มากที่สุดของโลก และถือเป็นบรรพษุรุษของเต่าบกในยุคปัจจุบัน ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ว่าได้

Pic 2

ผู้เขียน

ศักดิ์ชัย จวนงาม

ที่มาของรูปภาพ

https://advances.sciencemag.org/content/6/7/eaay4593

ที่มาของแหล่งข้อมูล

E.-A. Cadena, T. M. Scheyer, J. D. Carrillo-Briceño, R. Sánchez, O. A Aguilera-Socorro, A. Vanegas, M. Pardo, D. M. Hansen and M. R. Sánchez-Villagra. (2020). The anatomy, paleobiology, and evolutionary relationships of the largest extinct side-necked turtle.  Science Advances, Volume 6, Number 7.

Wilailuck Naksri, Haiyan Tong, Komsorn Lauprasert, Pratueng Jintasakul, Varavudh Suteethorn, Chavalit Vidthayanon, Julien Claude. (2019). Plio-Pleistocene giant tortoises from Tha Chang sandpits, Nakhon Ratchasima Province, Thailand.  Annales de Paléontologie, Volume 105, Issue 4, Pages 257-267.

Tong, Haiyan & Claude, Julien & Naksri, W. & Suteethorn, Varavudh & Buffetaut, Eric & Khansubha, Sasa-On & Wongko, K. & Yuangdetkla, P.. (2009). Basilochelys macrobios n. gen. and n. sp., a large cryptodiran turtle from the Phu Kradung Formation (later Jurassic-earliest Cretaceous) of the Khorat Plateau, NE Thailand. Geological Society, London, Special Publications. 315. 153-173. 10.1144/SP315.12.

 
กรอกอีเมลเพื่อติดตามข่าวสาร