ไข้หวัดสเปนในประเทศไทย เมื่อ 100 ปีก่อน
ไข้หวัดสเปน เคยระบาดใหญ่ทั่วโลกเมื่อกว่า 100 ปีแล้วและคร่าชีวิตคนทั่วโลกกว่า 50 ล้านคน โดยเริ่มระบาดในปี พ.ศ. 2461 ไข้หวัดสเปนเกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาชนิด A (H1N1) โดยที่มาอาจคล้ายกับไข้หวัดนก และโรคโควิด-19 คือมีการแพร่เชื้อจากสัตว์มาสู่คน และมีอาการคล้ายกับไข้หวัดทั่วไป คือ เป็นไข้ ไอ จาม คลื่นไส้ ปวดเมื่อตามร่างกาย และท้องเสีย
สำหรับในประเทศไทย มีการบันทึกในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2462 เล่มที่ 36 หน้าที่ 1193 สรุปความว่า มีผู้ติดเชื้อทั่วประเทศไทยประมาณ 2,300,000 คน โดยมีการสรุปแยกตามมณฑลการแบ่งการปกครองในตอนนั้นทั้งหมด 17 มณฑล คือ
มณฑล |
จังหวัด |
ประชากรรวม |
ป่วยเป็น |
เสียชีวิต |
พายัพ |
เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และลำพูน |
805,787 |
147,794 |
12,204 |
มหาราฎร์ |
แพร่ น่าน และลำปาง |
546,944 |
89,735 |
5,907 |
นครไชยศรี |
นครปฐม สุพรรณบุรี และสมุทรสาคร |
343,963 |
128,412 คน |
1,138 |
ราชบุรี |
ราชบุรี เพ็ชร์บุรี (เพชรบุรี) กาญจนบุรี สมุทรสงคราม และประจวบคีรีขันธ์ |
465,080 |
123,018 |
1,887 |
นครศรีธรรมราช |
สงขลานครศรีธรรมราชและพัทลุง |
525,394 |
125,422 |
4,314 |
นครราชสีมา |
นครราชสีมา |
590,612 |
151,953 |
5,900 |
นครสวรรค์ |
นครสวรรค์ ตาก ไชยนาท (ชัยนาท) อุไทยธานี (อุทัยธานี) และกำแพงเพ็ชร์ (กำแพงเพชร) |
359,978 |
102,984 |
2,465 |
ปราจิณบุรี |
ฉเชิงเทรา (ฉะเชิงเทรา)ปราจิณบุรี (ปราจีนบุรี)นครนายก ชลบุรีและกระบินทร์บุรี |
401,972 |
170,062 |
2,094 |
พิศณุโลก |
พิศณุโลก (พิษณุโลก) |
394,323 |
66,462 |
2,172 |
ปัตตานี |
ปัตตานี สายบุรี นราธิวาส และยะลา |
302,870 |
113,691 |
3,500 |
สุราษฎร์ |
สุราษฎร์ หลังสวน และชุมพร |
185,106 |
64,649 |
2,097 |
อยุธยา |
พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ประทุมธานี (ปทุมธานี) และธัญญบุรี |
681,533 |
257,733 |
3,447 |
จันทบุรี |
จันทบุรี ระยอง และตราด |
149,377 |
35,724 |
1,076 |
ภูเก็ต |
ภูเก็ต ระนอง ตรัง สตูล ตะกั่วป่า กระบี่ และพังงา |
244,919 |
47,318 |
1,972 |
ร้อยเอ็จ |
ร้อยเอ็จ (ร้อยเอ็ด)มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ |
690,523 |
157,762 |
9,968 |
อุบล |
อุบล ขุขันธ์ และสุรินทร์ |
970,715 |
362,141 |
11,442 |
อุดร |
อุดร นครพนม เลย ขอนแก่น สกลนคร และหนองคาย |
818,470 |
182,802 |
8,640 |
รวม |
8,478,566 |
2,317,662 |
80,223 |
โรคไข้หวัดใหญ่สเปนค่อยๆ ลดการระบาดลงในช่วงปลายปี พ.ศ. 2462 และหายไปในปลายปี พ.ศ. 2463 โดยมีสมมติฐานว่า ไวรัสได้กลายพันธุ์จนความรุนแรงของมันค่อยๆ ลดลง ประกอบกับภูมิคุ้มกันของมนุษย์ที่มีวิวัฒนาการขึ้นจนสามารถต่อต้านไวรัสในร่างกายได้ ด้วยข้อสันนิษฐานนี้ หากมองในแง่ดี โรคโควิด-19 ก็อาจจะคลายความรุนแรงได้เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ
ที่มาภาพ ; https://www.apa.org/helpcenter/h1n1-flu
ผู้เขียนและเรียบเรียง อานุภาพ สกุลงาม นักวิชาการ กองวิชาการ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช.
บรรณาธิการวิชาการ อุมาภรณ์ เครือคำวัง ผู้อำนวยการกองวิชาการ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช.
อ้างอิง http://www.ift2004.org/showimgdetil.php?id=4
http://www.voicetv.co.th/read/YX4hHxUXs