th th
en

มนุษย์เรียนรู้เกี่ยวกับการวัดและมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ในสมัยบรรพบุรุษโบราณนานมาแล้ว โดยสันนิษฐานว่าเริ่มจากสิ่งใกล้ตัวเราก่อน นั่นคืออวัยวะใน

ร่างกายนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น อาณาจักรอียิปต์โบราณได้กำหนดอ้างอิงจากความยาวช่วงปลายแขนของผู้ปกครองประเทศหรือบุคคลอื่นที่มีอำนาจหรือ

กษัตริย์ฟาโรห์ โดยเรียกว่าระยะหนึ่งศอก แล้วนำมาสร้างเป็นเครื่องมือแท่งความยาว 1 ศอก เรียกว่า Royal Cubit ด้วยการอ้างอิงเช่นนี้ ได้มีการศึกษา

และพิสูจน์แล้วว่าพีระมิดของอียิปต์ถูกสร้างขึ้นโดยใช้หน่วยศอก การวัดที่อ้างอิงจากร่างกายมนุษย์ก็ได้เป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกและเกิดหน่วยวัดอื่นๆ

ขึ้นมาอีกมากมาย เช่น นิ้ว คืบ เป็นต้น แต่ด้วยความไม่เท่ากันของร่างกายมนุษย์บนโลกจนบางครั้งทำให้เกิดปัญหาขึ้น จึงต้องมีการกำหนดหน่วยการวัด

และเครื่องมือที่ใช้ในการวัดที่ชัดเจน เพื่อเป็นมาตรฐานและป้องกันการสื่อความหมายที่คลาดเคลื่อน จึงเป็นที่มาของวิชาที่ว่าด้วยศาสตร์แห่งการวัดหรือ

"มาตรวิทยา" และได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการตัดสินปริมาณการวัดต่างๆเพื่อจุดประสงค์หลากหลายด้าน ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

เทคโนโลยี และนวัฒนธรรมของมนุษยชาติอย่างต่อเนื่อง มนุษย์จึงมีความจำเป็นที่ต้องกำหนดหน่วยวัดความยาวขึ้นมาเพื่อใช้เป็นมาตรฐานระดับสากล

ประเทศฝรั่งเศสก็ได้เสนอหน่วยเมตรขึ้น โดยมีแหล่งอ้างอิงคือระยะทางของเส้นเมอริเดียนจากขั้วโลกเหนือไปยังเส้นศูนย์สูตร ระยะหนึ่งเมตรถูกกำหนดไว้

ที่ 1/10,000,000 ของระยะทางนี้ แต่อย่างไรก็ตาม หน่วยวัดที่ใช้โลกเป็นแหล่งอ้างอิงนั้นเป็นที่เข้าใจกันว่านำมาใช้สำหรับการวัดได้ยาก จึงมีการผลิตแท่ง

โลหะผสมเป็นตัวอ้างอิงเก็บไว้ในประเทศฝรั่งเศส แต่เนื่องจากการผ่านการใช้งานหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมความยาวของแท่งโลหะผสมที่เป็น

ตัวแทนระยะหนึ่งเมตรอาจมีการหดหรือขยายตัวทำให้เป็นการอ้างอิงที่ไม่แม่นยำ ต่อมาสืบเนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเลเซอร์ในปี 1983 ทำให้

มีการกำหนดความยาวหนึ่งเมตรจากความเร็วของแสงที่ให้การอ้างอิงที่แม่นยำและสามารถทำสำเนาได้ง่ายกว่า ในปัจจุบันความยาวหนึ่งเมตรจะหมายถึง

“ระยะทางที่แสงเดินทางในสุญญากาศเป็นเวลา 1/299,792,458 วินาที” ซึ่งได้รับการกำหนดมาตั้งแต่ปี 1983 โดยหน่วยเมตรนี้เป็นหน่วยหนึ่งในการวัดที่

ใช้ตามระบบการวัดระหว่างประเทศ หรือ ระบบเอสไอ (SI : The International System of Units) ที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกในปัจจุบัน

แต่รู้หรือไม่ว่านอกจากจะมีหน่วยวัดที่เป็นมาตรฐานสากลแล้ว เครื่องมือที่ใช้วัดก็มีความสำคัญมากเช่นกัน เราควรเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการวัดแต่

ละครั้ง ไม่เช่นนั้นการวัดของเราอาจเป็นได้แค่ การคาดคะเน เพียงเท่านั้น

 2

ภาพแสดง มาตรฐานความยาว 1 ศอก สมัยอียิปต์โบราณ

ผู้เขียน

นายภาสิต หงษ์ทอง

ที่มาของรูปภาพ

http://teqegypt.com/history-of-metrology/

ที่มาของแหล่งข้อมูล

https://www.keyence.co.th/ss/products/measure-sys/measurement-selection/basic/unit.jsp

http://dm.nimt.or.th/pem/ang/docs/LengthHistory_Wacharin.pdf

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม

https://en.wikipedia.org/wiki/Cubit#Ancient_Egyptian_royal_cubit

https://en.wikipedia.org/wiki/Metre

 

 

 
กรอกอีเมลเพื่อติดตามข่าวสาร