th th
en

           เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2021 Kowalski ได้รายงานใน Science News for Students ว่า การนั่งเฉย ๆ เป็นเวลานานอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตได้
           

          จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) นับตั้งแต่ปลาย ค.ศ. 2019 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลต่อทุกๆ คนที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป

จากเดิม เช่น เรียนผ่านระบบออนไลน์ ทำงานที่บ้าน (Work from Home) และการใช้จ่ายต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์ ทำให้การพบปะพูดคุย เดินทาง รวมถึงการทำกิจกรรมร่วมกันลดลง

เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดและการติดเชื้อโควิด-19 จึงทำให้คนส่วนใหญ่นั่งอยู่กับที่มากกว่าขยับเขยื้อนร่างกาย

           Jacob Barkley นักวิทยาศาสตร์การกีฬาจาก Kent State University แห่งรัฐโอไฮโอ สหรัฐฯ ได้สำรวจข้อมูลการออกกำลังกายของนักศึกษาและเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย 398 คน

ในช่วงก่อนและหลังการปิดภาคเรียนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา พบว่าส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการออกกำลังกายเปลี่ยนไป โดยมีแนวโน้ม

การออกกำลังกายลดลงและนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน เช่นเดียวกับผลการสำรวจประชาชนชาวบราซิลจำนวน 937 คนในช่วงการกักตัว จากวารสาร Psychiatry Research ฉบับเดือนตุลาคม

ค.ศ. 2020 พบว่า พวกเขาอยู่บ้านมากกว่าออกไปข้างนอก ยกเว้นการไปซื้อหาอาหารเท่านั้น และส่วนใหญ่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานกว่า 10 ชั่วโมง ซึ่งส่งผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า

          จากผลการสำรวจทั้งสองต่างชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ สุขภาพ และภาวะซึมเศร้า เช่นเดียวกับผลการสำรวจเยาวชน 4,257 คน ในช่วงอายุ 12, 14,

และ 18 ปี จากวารสาร Lancet Psychiatry ฉบับเดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 จากการศึกษาพฤติกรรมของเด็กนักเรียนอายุ 12 ปี ในช่วงการกักตัว พบว่าพวกกเขานั่งอยู่กับที่ยาวนานกว่า 8 ชั่วโมง

มีเวลาพักขยับเขยื้อนเพียง 43 นาที และออกกำลังกายเพียง 80 นาที ส่งผลทำให้หงุดหงิดง่าย ขาดสมาธิ และทำให้ซึมเศร้า

          อย่างไรก็ตาม ยังมีนักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า การนั่งเป็นเวลานานอาจไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะซึมเศร้า เพราะอาจขึ้นอยู่กับตัวบุคคลที่อาจมีสภาพจิตใจที่หดหู่หรือผิดหวัง

ที่ต้องเผชิญในสถานการณ์การระบาดของโรค แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า การนั่งนาน ๆ ส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปยังสมองได้ และอาจส่งผลต่อปฏิกิริยาเคมีที่ช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตของ

เซลล์ประสาทในสมองได้ รวมถึงปัญหาการนอนไม่หลับและการรับประทานอาหารขยะมากจนเกินไป จนส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน หรือนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้ นอกจากนี้

รายงานในวารสาร the Journal of Affective Disorder กล่าวถึงการนั่งเป็นเวลานานจนเกินไปส่งผลต่อการจดจำ เนื่องจากปัญหาการไหลเวียนโลหิตไปยังสมองเช่นกัน

          ฉะนั้น การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เป็นประจำ จะส่งผลดีต่อการทำงานของสมองและการจดจำ และยังส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจได้ จากคำแนะนำจาก

the British Journal of Sports Medicine เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020

shutterstock 1803953959 2

 

ผู้เขียน วิลาสินี ไตรยราช

เอกสารอ้างอิง

Kowalski, K (2021). Too much sitting could hurt your mental health. Available from:

https://www.sciencenewsforstudents.org/article/too-much-sitting-could-hurt-mental-health. [Accessed 19 April 2021].

 

 

 
กรอกอีเมลเพื่อติดตามข่าวสาร