th th
en

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจ ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้คิดค้นเยื่อเมมเบรน
แบบใหม่ขึ้นมา ที่ผลิตจากโพลิเมอร์ราคาถูก ซึ่งมีส่วนที่ชอบน้ำและสามารถดูดซับน้ำได้ โดยลักษณะมีรูพรุน เล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งรูพรุนเล็ก ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ประสิทธิภาพในการกรองน้ำและการเก็บพลังงานของ แบตเตอรี่เพิ่มมากขึ้น งานวิจัยนี้ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Nature Materials เมื่อเดือนธันวาคม 2562
ปัจจุบันมีการใช้เยื่อเมมเบรนที่รู้จักกันในชื่อ Nafion เพื่อแลกเปลี่ยนไอออน (ประจุบวก + หรือประจุลบ - ) ในกระบวนการกรองน้ำ การเก็บพลังงานในเซลล์เชื้อเพลิงและการเก็บพลังงานของแบตเตอรี่ แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าเยื่อเมมเบรนดังกล่าวนั้นมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นทีมนักวิจัยจึงนำเยื่อเมมเบรนที่ผลิต จากโพลิเมอร์ซึ่งมีราคาถูกกว่าและนิยมใช้ในงานอุตสาหกรรม มาพัฒนาคุณสมบัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการกรองแบบแลกเปลี่ยนไอออนให้ดียิ่งขึ้น เยื่อเมมเบรนแบบใหม่นี้มีชื่อเรียกว่า Polymers of Intrinsic Microporosity หรือ PIMs โดยทีมนักวิจัยได้ศึกษาสมบัติของเยื่อเมมเบรนนี้ผ่านแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์

Microporous Ion Sieving Membranes 777x491

รูปภาพแสดง การจำลองการแลกเปลี่ยนไอออนของเยื่อเมมเบรนที่มีรูพรุนซึ่งมีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน

“การพัฒนาเยื่อเมมเบรนแบบใหม่นั้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายด้าน ทั้งช่วยยกระดับ คุณภาพชีวิต ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บพลังงานที่ได้จากพลังงานทดแทน เช่นพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานจากลม ซึ่งสามารถช่วยต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศได้” กล่าวโดย Dr. Qilei Song

ผู้เขียน

ภาสิต หงษ์ทอง

ที่มาของรูปภาพ

https://scitechdaily.com/new-membrane-technology-improves-water-purification-and-battery-energy-storage/

ที่มาของแหล่งข้อมูล

  • https://scitechdaily.com/new-membrane-technology-improves-water-purification-and-battery-energy-storage/
    - “Hydrophilic microporous membranes for selective ion separation and flow-battery energy storage” by Rui Tan, Anqi Wang, Richard Malpass-Evans, Evan Wenbo Zhao, Tao Liu, Chunchun Ye, Xiaoqun Zhou, Barbara Primera Darwich, Zhiyu Fan, Lukas Turcani, Edward Jackson, Linjiang Chen, Samantha Y. Chong, Tao Li, Kim E. Jelfs, Andrew I. Cooper, Nigel P. Brandon, Clare P. Grey, Neil B. McKeown and Qilei Song, 2 December 2019, Nature Materials.
    DOI: 10.1038/s41563-019-0536-8
  • https://en.wikipedia.org/wiki/Polymers_of_intrinsic_microporosity#:~:text=Polymers%20of%20intrinsic%20microporosity%20(PIMs,%2C%20Peter%20Budd%2C%20et%20al.&text=Classified%20as%20a%20porous%20organic,pack%20in%20the%20solid%20state.
 
กรอกอีเมลเพื่อติดตามข่าวสาร