“พลาสติกทางเลือกใหม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้ภายใน 1-2 เดือน”
เราทราบกันดีว่าขยะพลาสติกเป็นปัญหาที่ต้องได้รับความร่วมมือในระดับโลก เนื่องจากปัจจุบันปัญหาไมโครพลาสติกในทะเลทำให้สัตว์ทะเลได้รับผลกระทบมาก และยิ่งไปกว่านั่นมนุษย์ก็ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้จากการจับสัตว์น้ำมารับประทานทำให้ไมโครพลาสติกย้อนกลับเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ การคิดค้นพลาสติกทางเลือกใหม่จึงมีขึ้นเพื่อช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกเหล่านั้นจนเกิดงานวิจัยต่าง ๆ มากมายวันนี้ขอตัวอย่างพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ จากผลงานของนักวิจัยและนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ทั้ง 3 ท่านดังต่อไปนี้ครับ
ลูซี่ ฮิวจ์(Lucy Hughes) นักศึกษาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ชาวอังกฤษ ได้คิดค้นพลาสติกที่เธอตั้งชื่อว่า “MarinaTex” เป็นพลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) สามารถย่อยสลายเองใน1-2 เดือนเนื่องจาก MarinaTexเป็นพลาสติกที่มีส่วนผสมของเกล็ดปลาและหนังปลาจึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนอกจากจะใช้แทนพลาสติกได้อย่างดี ยังช่วยลดปัญหาเศษซากปลาเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมประมงอีกด้วย
ซานดรา ปาสโกเอ ออร์ติซ(Sandra Pascoe Ortiz)นักวิจัยด้านวิศวกรรมเคมีจากแม็กซิโก คิดค้นพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ใน 2-3เดือน โดยทำจากต้นกระบองเพชรที่ตัดหนามออก ต้นกระบองเพชรในแม๊กซิโกมีหลายสายพันธุ์ เธอกล่าวว่าprickly pear cactusเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมที่สุดเนื่องจากมียางมาก วิธีการคือนำกระบองเพชรมาปอกเปลือกแล้วคั้นน้ำออกก่อนจะนำไปแช่ตู้เย็น หลังจากนั้นเติมสารเติมแต่งจากธรรมชาติที่ไม่เป็นพิษต่อร่างกายแล้วจึงนำมารีดให้เป็นแผ่นบาง ๆ ทิ้งไวจนแห้ง แต่พลาสติกจากกระบองเพชรก็ยังไม่สามารถคงรูปได้นานเท่าพลาสติกทั่วไป จึงยังต้องมีการพัฒนากันต่อไป
มาการิต้า เทเลป(Margarita Talep)นักออกแบบชาวชิลี ทำการทดลองสร้างบรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้แล้วทิ้งโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเนื่องจากย่อยสลายเองได้ในเวลา 3-4 เดือน ด้วยการนำโพลิเมอร์และวุ้นที่สกัดจากสาหร่ายสีแดงมาเป็นส่วนประกอบหลักเพื่อให้ได้ลักษณะคล้ายกับพลาสติก เติมสีสันจากน้ำของผักและผลไม้ให้ได้สีสันที่สวยงาม เมื่อได้มาเป็นของเหลวก็จะนำไปขึ้นรูปโมเดลจนเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถซีลปิดได้ด้วยความร้อน
นี่เป็นเพียงตัวอย่างของนักวิจัยที่ได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ ทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ หวังว่าในอนาคตบรรจุภัณฑ์เหล่านี้จะสามารถนำมาใช้ได้อย่างแพร่หลาย แต่ก่อนจะถึงวันนั้นเราทุกคนต้องร่วมมือกันลดการใช้พลาสติกในชีวิตจำวันเพื่อช่วยลดปัญหาไมโครพลาสติกที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
ผู้เขียน
อภินันท์ เปลี่ยนจันทร์
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารวิทยาศาสตร์ อพวช.
ที่มาของรูปภาพ
https://www.khaosod.co.th/wpapp/uploads/2019/11/bioplastic.jpg
https://www.brandbuffet.in.th/wp-content/uploads/2019/06/Sandra-Pascoe-Ortiz-Plastic-.jpg
https://www.brandbuffet.in.th/wp-content/uploads/2019/06/Sandra-Pascoe-Ortiz-Plastic-.jpg
ที่มาของแหล่งข้อมูล
ลูซี่ ฮิวจ์ (Lucy Hughes) นักศึกษาชาวอังกฤษ ได้คิดค้นพลาสติกที่เธอตั้งชื่อว่า “MarinaTex”
- https://www.bbc.com/thai/features-50438230
- https://www.dezeen.com/2019/11/15/marinatex-lucy-hughes-james-dyson-award-design/
ซานดรา ปาสโกเอ ออร์ติซ ค้นพบวิธีเปลี่ยนใบกระบองเพชรให้กลายเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติคล้ายกับพลาสติก
- https://www.bbc.com/thai/international-48647799?xtor=AL-73-%5Bpartner%5D-%5Bkhaosod.co.th%5D-%5Blink%5D-%5Bthai%5D-%5Bbizdev%5D-%5Bisapi%5D
- https://www.forbes.com/sites/scottsnowden/2019/07/14/scientist-in-mexico-creates-biodegradable-plastic-from-prickly-pear-cactus/#6a36d57f6c49
- https://abcnews.go.com/GMA/Living/cactus-juice-newplastic-female-scientist-discovers-biodegradable-plastic/story?id=65830239
Margarita Talepนักออกแบบชาวชิลี สร้างบรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้แล้วทิ้งโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
https://www.dezeen.com/2019/01/18/margarita-talep-algae-bioplastic-packaging-design/