th th
en

หรือเวลาส่องแสงของดาวยักษ์ใหญ่สีแดงดวงนี้ใกล้หมดลงเต็มที

“บีเทลจุส (Betelgeuse)” หนึ่งในดาวฤกษ์ที่ปรากฏสว่างมากบนท้องฟ้า จู่ๆมันก็ดูหรี่แสงลงในช่วงปลายปี 2562 ที่ผ่านมา นั่นทำให้นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่า

ดาวดวงนี้มันใกล้ระเบิดแล้ว  แต่เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 บีเทลจุส เริ่มกลับมาสว่างขึ้นอีกครั้ง ทำให้ความคิดที่ว่ามันจะระเบิดนั้นอาจจะต้องถูกพับ

เก็บไว้ก่อน โดยหันมาสนใจกับการศึกษาที่ว่าการหรี่แสงของดาวดวงนี้ เกิดจากการพอกพูนของฝุ่นจากตัวดาวที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้

บีเทลจุสเป็นดาวมวลมากและมีอายุแก่มาก เรียกว่า ดาวยักษ์ใหญ่สีแดง (Red supergiant) อยู่ห่างจากโลกประมาณ 700 ปีแสง เป็นดาวดวงหนึ่งในกลุ่มดาว

นายพราน (Orion) อยู่ตรงหัวไหล่ของนายพราน (คนไทยมองเป็นขาหน้าของเต่าในกลุ่มดาวเต่า) นักดาราศาสตร์ทราบมาหลายสิบปีแล้วว่า ดาวดวงนี้เชื้อเพลิง

ของมันกำลังจะหมด และมันจะเกิดการระเบิดเป็น ซุปเปอร์โนวา (Supernova) (การระเบิดอันโชติช่วง) ในไม่ช้านี้

031020 LG betelgeuse inline desktop

ตั้งแต่ที่ดาวดวงนี้เริ่มหรี่แสงลงในเดือนตุลาคม 2562 นักดาราศาสตร์ก็ได้เฝ้าจับตาดูมันอย่างใจจดใจจ่อ โดยเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ความสว่างของมันลดลงจาก

การเป็นดาวที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้าลำดับที่ 6 ลงไปอยู่ในลำดับที่ 21 นั่นอาจจะไม่ได้แปลว่ามันกำลังจะระเบิด แต่พฤติกรรมแปลกๆ นี้ก็ชวนให้น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง

Emily Levesque นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ในเมืองซีแอทเทิล และ Philip Massey นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวโลเวลล์ในกรุงแฟลกสตาฟ

รัฐแอริโซนา ได้ตัดสินใจที่จะศึกษาความเป็นไปได้ทางสัณฐานวิทยา ที่จะอธิบายเรื่องการหรี่แสงลง แทนที่จะเชื่อว่ามันจะเกิด ซูปเปอร์โนวา ซึ่งตัวเลือกนี้รวมไปถึง

การเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วของพื้นผิวดาวเนื่องจากการเดือดของพลาสมาที่ประทุขึ้นและจมลงซึ่งเกิดขึ้นอยู่ภายใน หรืออาจจะเป็นเพราะเมฆฝุ่นที่เพิ่งจะเกิดการประทุ

ขึ้นจากตัวดาวเมื่อเร็วๆนี้ มาบดบังแสงดาว ทำให้บีเทลจุสดูมืดลงกว่าปกติ

นักดาราศาสตร์ทั้ง 2 คน ทำการสำรวจดาวเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เมื่อมันเกือบจะหรี่ลงมากที่สุดโดยค้นหาสัญญาณของโมเลกุลไทเทเนียมออกไซด์ ที่อยู่ชั้นนอก

ของดาวฤกษ์ ซึ่งจะเป็นตัวบอกอุณหภูมิของดาวได้ เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลการสังเกตเหล่านี้เทียบกับข้อมูลเมื่อปี 2547 พบว่าอุณหภูมิลดลงประมาณ 25 องศาเซลเซียส

มันน่าแปลกใจ ว่าอุณหภูมิมันแทบไม่แตกต่างกันเลย แสดงว่าอุณหภูมิไม่น่าจะเกี่ยวกับการหรี่แสงลงอย่างมากในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมาของดาวดวงนี้ Levesque

กล่าว  นักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องฝุ่นนี้ไว้ในวารสารดาราศาสตร์ฟิสิกส์ (Astrophysical Journal Letters) ว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสูญเสียมวล (Elimination)

นักดาราศาสตร์ทราบกันดีว่าดาวยักษ์ใหญ่สีแดง อย่างเช่น ดาวบีเทลจุส มักจะมีเมฆก๊าซที่ควบแน่นกลายเป็นฝุ่นรวมกันอยู่ และดาวก็หรี่ลงอย่างสม่ำเสมอในทุกช่วง

ความยาวคลื่นแสงที่ Levesque ทำการวัด ซึ่งสนับสนุนความคิดที่ว่าฝุ่นจากดาวมีผลต่อการหรี่แสงของมัน ซึ่งถ้าฝุ่นนี้เป็นฝุ่นที่อยู่ในอวกาศ(ไม่ใช่ฝุ่นจากตัวดาว)

ความยาวคลื่นแสงจะหรี่ลงแค่บางความยาวคลื่นเท่านั้น

Miguel Montargès นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ของ KU Leuven ในประเทศเบลเยียมกล่าวว่า “การศึกษาในครั้งนี้ถือเป็นก้าวแรกของการเข้าใจได้อย่างดีขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้นกับ

ดาวดวงนี้” โดย Montargès และทีมงานของเขาได้สังเกตการณ์ บีเทลจุส ด้วยกล้อง VLT (Very Large Telescope) ในประเทศชิลี จากผลการสังเกตการณ์ ดาวดวงนี้

ดูหรี่ลงอย่างเห็นได้ชัดในเดือนธันวาคม 2562 เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสังเกตในช่วงเดือนมกราคม 2562 ก่อนที่จะค่อยๆเริ่มสว่างขึ้นมาอีกครั้ง แต่ดูเหมือนว่าการหรี่แสง

นี้จะเกิดขึ้นเฉพาะในซีกใต้ของดาวเท่านั้น ไม่ได้สม่ำเสมอทั่วทั้งดวง ซึ่งสอดคล้องกับภาพที่ทีมงานได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา นั่นสามารถอธิบาย

ได้ด้วยการเกิดเมฆฝุ่น ถึงแม้ว่าจริงๆแล้วกระบวนการอาจจะซับซ้อนกว่านั้น ซึ่ง Montargès วางแผนที่จะทำการสังเกตการณ์บีเทลจุสอีกครั้งในช่วงกลางเดือนมีนาคมนี้

และจะรายงานผลการสังเกตช่วงปลายปี

หากการหรี่แสงของบีเทลจุสนั้นเกิดจากเมฆฝุ่นจริงๆ นั่นจะทำให้นักดาราศาสตร์มีโอกาสที่จะสังเกตการสูญเสียมวลของของดาวฤกษ์ของจริงได้ ซึ่งมีวลีดังที่ว่า

“พวกเราคือซากธุลีของดวงดาว” บางทีอะตอมที่เราเฝ้าดูมันอยู่อาจจะกลายไปเป็นส่วนหนึ่งของดาวเคราะห์และสิ่งมีชีวิตในวันข้างหน้า นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมมัน

ถึงน่าตื่นเต้นมาก

นักดาราศาสตร์คนอื่นๆ เสนอข้อมูลเพิ่มเติมว่า “แบบจำลองเรื่องฝุ่นนั้นดูเข้าท่า แต่ก็ไม่ได้ตัดความเป็นไปได้ของคำอธิบายอื่น ๆ ที่สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่

เกิดภายในดาวดวงนี้ได้ บีเทลจุส นั้นจะหรี่ลงและสว่างขึ้นตามธรรมชาติในรอบ 420 วัน และแม้ว่าครั้งนี้มันจะหรี่ลงอย่างมาก แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในขั้นปกติ ซึ่งเราก็ยัง

ไม่สามารถฟันธงได้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของมัน 

ผู้เขียน 

นายเชษรฐา ละดาห์

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารวิทยาศาสตร์ อพวช.

ที่มารูปภาพแหล่งที่มาของข้อมูล

https://www.sciencenews.org/article/betelgeuse-star-dust-supernova-explosion

 

 

 
กรอกอีเมลเพื่อติดตามข่าวสาร