th th
en

27 กรกฎาคม 2560/ ปทุมธานี – เด็กไทยนำผลงาน“เซนเซอร์ตรวจวัณโรคดื้อยาให้รวดเร็วขึ้น” คว้าที่ 1 ในการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 3 (The 3rd ASEAN Student Science Project Competition)(ASPC 2017) ที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ณ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

IMG 2375 800 533

ดร.อภิญาณ์ หทัยธรรม รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)เปิดเผยว่า “การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เป็นปีที่ 3 โดยการผนึกกำลังของ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อให้เป็นเวทีการประกวดโครงงานทางวิทยาศาสตร์ระดับภูมิภาค ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 – 27 กรกฎาคม 2560 ณ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งในปีนี้มีเยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 – 6 หรือเทียบเท่า จาก 7 ประเทศ ประกอบไปด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ลาว และไทย  มานำเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ รวม 96  ทั้งหมด 35 โครงงาน โดยการประกวดจะแบ่งออกเป็น 3 สาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ "

IMG 2477 800 533

ผลปรากฏว่านายภานุวัฒน์ ชุติเชษฐพงศ์ จากโรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี สามารถคว้ารางวัลที่ 1 ในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จาก “โครงงานเซนเซอร์ตรวจวัณโรคดื้อยาให้รวดเร็วขึ้น” (A Novel Method to Rapidly Diagnose Multi-drug Resistant Tuberculosis) ”  โดยนายภานุวัฒน์ ชุติเชษฐพงศ์ ได้กล่าวถึงโครงงานนี้ว่า “ปัจจุบันการตรวจวัณโรคดื้อยานั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อจำเป็นต่อการจ่ายยาให้กับผู้ป่วยได้ถูกต้องเพื่อจะทำการรักษาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันการตรวจหาเชื้อวัณโรคดื้อยาค่อนข้างใช้เวลานานมาก เพราะต้องรอการเจริญเติบโตของเชื้อดื้อยา ตนจึงสร้างเซนเซอร์วัดการเปลี่ยนแปลงของความเข้มข้นของโปรตีนที่เชื้อวัณโรคได้ขับออกมา โดยสามารถรู้ว่าดื้อยาชนิดไหน และจำเป็นต้องรักษาด้วยยาประเภทใด เพื่อการรักษาที่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

ASPC 2017 Project of the Year from Singapore 800 533

ในส่วนของรางวัล โครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนอาเซียนแห่งปี ตกเป็นของ นายเฉา จุน เซียน,ไบรอัน จากประเทศสิงคโปร์ ในโครงงานชื่อ “การพัฒนา Glycan array แบบธรรมชาติที่ทำงานร่วมกับการวิเคราะห์ Mass spectrometry ที่มีการรับรู้ที่สูงขึ้น” (Development of a Natural Glycan Array Compatible With High Sensitivity Mass Spectrometry Analysis) และยังคว้าที่ 1 ในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพมาครองอีกหนึ่งรางวัล

IMG 2456 800 533

ส่วนในสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ รางวัลชนะเลิศเป็นของประเทศอินโดนีเซีย ในชื่อโครงงาน “การผลิตไฟฟ้าด้วยการใช้แบคทีเรียสลายโพลิเอทิลีนในขยะถุงพลาสติก” (Generation of Electricity from Polyethylene using a Microbial Fuel Cell) เจ้าของผลงาน โดยนางสาวแองเจอริก้า เกรซ อินทาน


ดร.อภิญาณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “จากการที่เยาวชนไทยได้รับรางวัลจากโครงการนี้ ถือเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในเวทีระดับอาเซียน อพวช. และทางสมาคมวิทย์ฯ มุ่งหวังที่จะให้เยาวชนไทยได้มีเวทีสร้างผลงานการประกวดโครงงานด้านวิทยาศาสตร์ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งกิจกรรมนี้ยังส่งเสริมให้เยาวชนอาเซียนได้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สร้างสรรค์แนวคิดด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่สามารถนำไปบูรณาการแก้ไขปัญหาได้ในชีวิตประจำวัน ในประเทศของตน ตลอดจนในภูมิภาคอาเซียนได้อีกด้วย”

PSPC2017104800533-1
PSPC2017095800533
PSPC2017078800533-1
IMG2482800533
IMG2480800533
IMG2468800533
IMG2465800533
IMG2462800533
IMG2451800533
IMG2431800533

 
กรอกอีเมลเพื่อติดตามข่าวสาร