th th
en

Slide1

ประกาศผลผู้ที่ได้รับเลือกให้รับประกันภัย อพวช. ปี ๒๕๖๔

ดาวน์โหลดรายระเอียด ผู้ที่ได้รับเลือกฯ ได้ที่ไฟล์ด้านล่าง

สอบถามเพิ่มเติม
กองกฎหมาย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
โทร. 0 2577 9999

ประกาศผลผู้ที่ได้รับเลือกให้รับประกันภัย2564

# Title Version Description Size Hits Download
ประกาศผลผู้ที่ได้รับเลือกให้รับประกันภัย อพวช. ปี 2564 266.23 KB 147 Download Preview

299A4248 800x533

22 กรกฎาคม 2563 / อพวช. จัดงาน "Zero Waste Day" เพื่อรณรงค์ สร้างความเข้าใจ ก่อให้เกิดความตระหนักเรื่องการลดขยะภายในองค์กรและพื้นที่โดยรอบ อีกทั้งเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการลดปริมาณขยะให้เหลือศูนย์ให้กับบุคลากรของ อพวช. โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน และ ดร.กรรณิการ์ เฉิน ประธานคณะกรรมการ โครงการลดขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste) อพวช. ให้การต้อนรับ และนำชมบูธกิจกรรมให้ความรู้ภายในงาน ณ อพวช. พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

299A4275800x533
299A4248800x533
299A4207800x533
299A4201800x533
299A4196800x533
299A4189800x533
299A4172800x533
299A3971800x533
299A3961800x533

299A7560 800x533

วันที่ 27 กันยายน 2562 / ปทุมธานี -- องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ร่วมกับองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) สำนักงานกรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรม The Plastic Initiative Awareness Raising Event โดยเชิญผู้มีบทบาทสำคัญในการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ ร่วมจัดกิจกรรม อาทิ คุณชาร์ลี วินสตัน (Charlie Winston) นักร้องนักแต่งชื่อดังเพลงชาวอังกฤษ จัดกิจกรรมสร้างความตระหนักผ่านบทเพลงให้กับเยาวชนไทย พร้อมการบรรยายพิเศษโดย รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทูตแห่งมหาสมุทรเพื่อความยั่งยืนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 2019 คุณอเล็กซ์ เรนเดลล์ นักแสดงหัวใจอนุรักษ์ ผู้ก่อตั้ง EEC Thailand (Environmental Education Centre Thai), เมดาลีน เร็กนาเกล ผู้นำแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปลอดพลาสติก x การบำบัด x ขยะเป็นศูนย์ ณ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

 . 800x533

            ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า วิกฤตขยะพลาสติกกลายเป็นปัญหารุนแรงที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญและเร่งแก้ไข อพวช. มีภารกิจหลักในการสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ให้กับสังคม จึงเข้ามามีบทบาทในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนในทุกภาคส่วน และเป็นตัวอย่างที่ดีในการร่วมแก้ปัญหาที่สำคัญนี้

299A7226 800x533

            เป็นที่ทราบกันดีว่า ทุกสรรพสิ่งล้วนมีทั้งคุณและโทษ พลาสติกก็เช่นกัน อาจกล่าวได้ว่า พลาสติกเป็นนวัตกรรมที่มีคุณประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาในทุกด้าน ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน แต่พลาสติกเหล่านี้จะกลายเป็นขยะเมื่อหมดอายุการใช้งาน ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษพบว่า ในปี 2561 ประเทศไทยมีขยะพลาสติกกว่า        2 ล้านตัน ซึ่งถูกนำไปรีไซเคิลเพียง 5 แสนตัน ส่วนที่เหลือเป็นถุงพลาสติกถึง 1.5 ล้านตัน และเป็นภาชนะพลาสติก กล่อง ขวด ฝา และอื่น ๆ อีก 5 แสนตัน นอกจากนี้ ประเทศไทยยังติดอันดับ 2 ในการนำเข้าขยะพลาสติกมากที่สุดในอาเซียน

299A7389 800x455

            อพวช. จึงมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสร่วมงานกับ UNESCO ในโครงการ Plastic Initiative ซึ่งเป็นโครงการที่มีเป้าหมายในการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดจากการใช้และการจัดการขยะพลาสติกที่ไม่มีประสิทธิภาพ และเชิญชวนให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ทั้งในการใช้เท่าที่จำเป็น การจัดการที่เหมาะสม การวิจัยและพัฒนาเพื่อเปลี่ยนขยะให้เป็นสิ่งที่มีคุณค่า (Waste to Value)  การสร้างความมั่งคั่งจากขยะ (Waste to Wealth) ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมใหม่ เช่น Bioplastic ซึ่งล้วนสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับ Zero Waste, และ BCG หรือ Bio Economy (เศรษฐกิจชีวภาพ) Circular Economy (เศรษฐกิจหมุนเวียน) และ Green Economy (เศรษฐกิจสีเขียว) โดยรัฐบาลกำหนดเป็น Roadmap ตั้งเป้าหมายให้สามารถนำผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์พลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2570

Benno

            Dr. Benno Boer (Chief of Natural Sciences of UNESCO Bangkok office) ผู้แทนสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ กล่าวว่า โครงการ The Plastic Initiative นี้ ริเริ่มโดยองค์การยูเนสโก สำนักงานกรุงเทพฯ เปิดตัวเมื่อเดือนมีนาคม 2562 เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในการจัดการกับมลพิษพลาสติกอย่างครบวงจร อาทิ การระดมเยาวชน การปรับปรุงการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และการพัฒนานโยบายสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่ยั่งยืนโดยร่วมมือกับรัฐบาลเอกชน ภาคและหน่วยงานสหประชาชาติ ทั้งนี้ ยูเนสโก หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราจะได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสนับสนุนและร่วมรณรงค์ ตลอดจนการลงปฎิบัติเพื่อลดปัญหาวิกฤตขยะพลาสติกซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้พลาสติกอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต

299A0656

8 มิถุนายน 2564 / ศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานคณะกรรมการ อพวช. เข้าร่วมแสดงความยินดีและกล่าวต้อนรับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดใหม่ ในคณะกรรมการ อพวช. ทางออนไลน์ โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และคณะผู้บริหาร อพวช. ให้การต้อนรับและร่วมแสดงความยินดีกับทั้ง 3 ท่าน ได้แก่ นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ และ รศ.ดร.พสุ เดชะรินท์ ซึ่งได้เข้าร่วมรับฟังแนวทางการดำเนินงานของ อพวช. พร้อมเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ณ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี พร้อมกันนี้ นายอภิสิทธ์ ไล่สัตรูไกล ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ วาระที่ 2 ได้เข้าร่วมรับฟังทางออนไลน์ในครั้งนี้ด้วย

299A0428
299A0391
299A0407
299A0400
299A0448
299A0454
299A0655
299A0442
299A0463
299A0459

 

3 03 63800x533

13 มีนาคม 2563 - องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม Co-creating the Future of Museums and Communities : How can museum help communities to sustainably develop? เพื่อผู้ปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย ได้เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์กับนักวิชาการ และภัณฑารักษ์ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ มุ่งเน้นการเพิ่มพูนทักษะเดิม และเพิ่มเติมทักษะใหม่ ให้สามารถออกแบบการทำงานโดยใช้พิพิธภัณฑ์เป็นอุปกรณ์การทำงานอย่างมีส่วนร่วม เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของชุมชนและพิพิธภัณฑ์ โดยมี ดร.กรรณิการ์ เฉิน  รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) (คนที่ 4 จากซ้าย) ร่วมบรรยายในหัวข้อ "การทำงานร่วมกับชุมชนในบริบทของเรื่องราววิทยาศาสตร์" รวมถึง อพวช. ได้ส่งนักวิชาการร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมฯ ครั้งนี้ด้วย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป กรุงเทพฯ

299A6335 1600x1067

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) จัดการแข่งขัน “THAILAND CANSAT – ROCKET COMPETITION 2019” รอบชิงชนะเลิศ เพื่อเฟ้นหาทีมชนะเลิศ การประดิษฐ์ดาวเทียมขนาดเล็ก (Cansat) และจรวดเชื้อเพลิงน้ำตาล (Sugar Rocket) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1 ทีม จากทีมที่เข้ารอบทั้งหมด 15 ทีม ที่ผ่านการแข่งขันอันเข้มข้นจากรอบ 50 ทีมมาได้ การจัดการแข่งขันในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ผ่านการแข่งขันประดิษฐ์ CANSAT  –  Rocket  ร่วมกัน โดยการแข่งขันจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 – 8 กันยายน 2562 ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ  จังหวัดปทุมธานี และสนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวและการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีและ นวัตกรรมของประเทศ พร้อมก้าวเข้าสู่การแข่งขันเวทีระดับนานาชาติต่อไป

299A6259 1600x1067

..วิน ระวิวงศ์ ผู้อำารค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (.) กล่าวว่า การกระตุ้นและ ส่งเสริมสังคมไทยให้สนใจและเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อการพัฒนาประเทศ และปลูกฝังให้เยาวชนมีทัศนคติที่ดี ต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยการส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างแรงบันดาลใจ เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ และความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม”  ถือเป็นภารกิจที่สำคัญขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ การจัดแข่งขัน “THAILAND CANSAT – ROCKET COMPETITION 2019” รอบชิงชนะเลิศ ถือเป็นกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญให้กับเยาวชน ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ อพวช. ในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชน นำไปสู่การอยากเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากำลังคน ด้านวิทยาศาสตร์ให้กับประเทศ โดยทีมชนะเลิศการประดิษฐ์ Cansat  (ดาวเทียมขนาดเล็ก) และ Sugar  Rocket  (จรวด เชื้อเพลิงน้ำตาล) จะได้มีโอกาสเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในระดับนานาชาติซึ่งจะเป็นบันไดให้กับทีมเยาวชน ได้พัฒนาตนเองต่อยอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับประเทศต่อไป

299A6293 1600x1067

พล.อ.ต. ผศ.ดร.สุธี จันทรพันธุ์ รองผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) กล่าวว่า การแข่งขัน “THAILAND CANSAT – ROCKET COMPETITION 2019” รอบชิงชนะเลิศ เป็นการบูรณาการความร่วมมืออันดียิ่งของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาท สำคัญต่อการพัฒนาและสงเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเยาวชนของชาติ ในฐานะที่สถาบันเทคโนโลยีป้องกัน ประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานชั้นนำด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศ มีจุดกำเนิดในการวิจัยและพัฒนาระบบจรวดหลายลากลอง DTI-1, DTI-1G, D2, D9 และ D11A สนับสนุนภารกิจด้านความมั่นคงของประเทศ และการวิจัยและ พัฒนาจรวดดัดแปรสภาพอากาศสนับสนุนภารกิจฝนหลวง จากการสั่งสมองค์ความรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ ทดสอบ ทดลองกว่า10 ปี ปัจจุบัน สทป. สามารถพัฒนาจรวดสมรรถนะสูงขนาด 122 มม. ทำการทดสอบภาคพลวัตในระยะยิง 40 กิโลเมตร ได้สำเร็จในช่วงเดือนสิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา ถือเป็นความภาคภูมิใจขององค์กรเป็นอย่างสูง นักวิจัยและพัฒนาของ สทป. ได้นำองค์ความรู้และประสบการณ์ดังกล่าวถ่ายทอดการเรียนรู้ให้กับเยาวชนผ่านการอบรมความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ในการประดิษฐ์จรวดเชื้อเพลงน้ำตาล ( Sugar Rocket) และดาวเทียมขนาดเล็ก (Cansat) ขึ้นสู่อากาศได้ดวยตนเอง โดย สทป. มุ่งหวังให้เยาวชนระดับมัธยมปลายที่เข้าร่วมการแข่งขันทุกคน ได้รับความรู้ เกิดแรงบันดาลใจ มุ่งมั่นในการ ประดิษฐ์ คิดค้น ผลงานวิจัย ก่อเกิดเป็นนวัตกรรมที่สร้างประโยชน์ต่อสังคมและความมั่นคงของชาติ พัฒนาต่อยอดสู่การผลิต เชิงอุตสาหกรรม เพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับประเทศ

ความร่วมมือระหว่างองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ในครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จที่น่าชื่นชมอีกขั้น ในการส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ให้เยาวชนไทยมีศักยภาพพร้อมเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศชาติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไปในอนาคต

299A6412 1600x1067

299A6367 1600x1067

299A6320 1600x1067

299A6436 1600x1067

 

299A63241600x1067
299A63201600x1067
299A63211600x1067
299A62361600x1067
299A64361600x1067
299A63841600x1067
299A63701600x1067
299A63671600x1067
299A63581600x1067
299A62491600x1067

banner NSM insurance 2021

เชิญชวน เสนอราคาค่าเบี้ยประกันภัย อพวช. ประจำปี 2564

ดาวน์โหลดรายระเอียดประกาศเชิญชวนได้ที่ไฟล์ด้านล่าง

สอบถามเพิ่มเติม
กองกฎหมาย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
โทร. 0 2577 9999

เชิญชวนเสนอราคาค่าเบี้ยประกันภัย2564

001 13

อพวช. ขานรับนโยบายกระทรวง อว. มอบของขวัญปีใหม่ ชวนคนไทยมาเรียนรู้และเล่นไปกับแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้น้องใหม่ล่าสุด พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า พิพิธภัณฑ์ด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมแห่งใหม่ที่สมบูรณ์อีกแห่งหนึ่งในอาเซียน นำเสนอผ่านแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และวิธีการทรงงาน การคิดแก้ปัญหาตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 สอดคล้องแนวคิดทาง BCG Economy มุ่งเศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน พิเศษประชาชนได้เข้าชมฟรี ตั้งแต่วันนี้ – 5 มกราคม 2563

001 1 800x533

          ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า ซึ่งอยู่ในกำกับดูแลของ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เป็นโครงการเฉลิม พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้ขนาดใหญ่ที่สำคัญของประเทศไทยด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม โดยจะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตที่สมบูรณ์แห่งหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน โดยเนื้อหาที่นำเสนอสาระผ่านนิทรรศการที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พร้อมมีการนำเสนอหลักคิด วิธีการทรงงาน และกระบวนการค้นหาคำตอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระราชทานไว้ พร้อมทั้งมุ่งเน้นในการเสริมสร้างความรู้ด้านวิทยาศาสตร์แก่เยาวชนและประชาชน ด้วยการเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต และสอดคล้องกับแนวคิด BCG Economy ของรัฐบาลที่มุ่งสร้างความสมดุลให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตไปควบคู่กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน


          โดยในโอกาสนี้ อว.ขอมอบของขวัญปีใหม่ให้กับคนไทยทุกคน ด้วยการเปิดพิพิธภัณฑ์พระรามเก้าให้คนไทยเข้าชมอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งเปิดให้เข้าชมฟรีถึง 4 พิพิธภัณฑ์ในกำกับดูแลของ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ได้แก่ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์, พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา, พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า พิพิธภัณฑ์ด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมแห่งใหม่ที่สมบูรณ์อีกแห่งหนึ่งของอาเซียน ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2562 – 5 มกราคม 2563

001 2 800x536

         ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เปิดเผยว่า อพวช. ตั้งใจให้พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า เป็นฮับหรือศูนย์กลางความร่วมมือด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมของอาเซียน มีเนื้อที่กว่า 47,400 ตารางเมตร ตั้งอยู่ภายในองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เทคโนธานี ถนนรังสิต – นครนายก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เนื่องจากความใหญ่และสมบูรณ์ของการจัดแสดงที่มีความหลากหลาย และได้เชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีผลงานวิชาการเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรวมแล้วกว่า 27 ท่าน มาร่วมเป็นที่ปรึกษาในการจัดสร้างและนำเสนออย่างน่าสนใจ

ภายในนิทรรศการพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า แบ่งพื้นที่การจัดแสดงออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 

001 11

          1. โลกของเรา OUR HOME นำเสนอเรื่องราวของการก่อกำเนิดจักรวาล ระบบสุริยะ และโลก ไปจนถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเกิดสายพันธุ์มนุษย์ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันในพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก

 

001 16

          2. ชีวิตของเรา OUR LIFE แสดงสิ่งแวดล้อมและการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตรวมถึงมนุษย์ ภายในชีวนิเวศ (Biome) ต่าง ๆ ได้แก่ แอนตาร์กติกา อาร์กติก ทุนดรา ไทก้า ทะเลทราย เขตอบอุ่น และเขตร้อน ตลอดจนอิทธิพลของมนุษย์ต่อสภาพแวดล้อมนั้น ๆ ซึ่งบางกิจกรรมก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ นอกจากนี้ยังแสดงถึงเขตภูมินิเวศ (Ecoregions) ของประเทศไทยอีกด้วย

001 21

          3. ในหลวงของเรา OUR KING นำเสนอแนวคิดของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีของนักวิทยาศาสตร์ ทรงมีวิธีคิด วิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ทรงมองเห็นความสัมพันธ์ของระบบนิเวศ ในองค์รวม เมื่อรวมเข้ากับหลักการบริหารจัดการ จึงนำมาสู่โครงการพระราชดำริ หลักคิดหลักปรัชญา ที่พระราชทานเป็นแนวทางในการดำรงอยู่ของมนุษย์กับโลกใบนี้อย่างยั่งยืน

พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า ตั้งอยู่ที่ อพวช. ถนนรังสิต – นครนายก ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ. ปทุมธานี เปิดให้บริการทุกวันอังคาร – ศุกร์ เวลา 09.30 - 16.00 น. วันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.30 -17.00 น. (ปิดบริการทุกวันจันทร์) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2577 9999 ต่อ 2122 , 2123 หรือ www.nsm.or.th และ Facebook : NSMthailand

0101

25 สิงหาคม 2562 – อิมแพ็ค เมืองทองธานี / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ประกาศผลจ้าวแห่งเครื่องบินกระดาษพับชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 16 (The 16th Thailand Paper-Folded Airplane Competition) โดยแชมป์รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี  ได้แก่ ด.ช. นรภัทร ทรงเต๊ะ จากโรงเรียนสุเหร่าบางกะสี จังหวัดสมุทรปราการ สามารถประดิษฐ์เครื่องบินกระดาษพับที่สามารถร่อนได้นาน ทำสถิติโดยเฉลี่ย 15.76 วินาที และรุ่นทั่วไป ได้แก่ นายชัยธวัช เลนสันเทียะ จากโรงเรียนหนองกราดพัฒนา จังหวัดนครราชสีมา สามารถประดิษฐ์เครื่องบินกระดาษพับที่สามารถร่อนได้นาน ทำสถิติโดยเฉลี่ย 18.94 วินาที โดยผู้ชนะทั้งสองรุ่นจะได้เข้าชิงชัยการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับชิงแชมป์โลกที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2563

0404

          ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า อพวช. ร่วมกับสมาคมเครื่องบินกระดาษพับจัดการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 16 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านการทดลอง ค้นคิด ฝึกประดิษฐ์ผสมผสานการจินตนาการอย่างสร้างสรรค์ไว้ด้วยกัน ทำให้ผู้เล่นเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน โดยใช้วัสดุใกล้ตัวอย่างกระดาษแผ่นเดียว พร้อมยังเป็นการฝึกทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการทำให้กระดาษแผ่นเดียวนี้กลายเป็นเครื่องบินกระดาษพับที่สามารถลอยในอากาศให้ได้นานที่สุด  โดยการแข่งขันครั้งนี้ได้ทำการคัดเลือกมาตั้งแต่ระดับภูมิภาค แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือรุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี และรุ่นบุคคลทั่วไป ซึ่งผู้เข้าร่วมแข่งขันรอบแรกต้องทำสถิติร่อนเครื่องบินกระดาษพับได้ 9 วินาทีขึ้นไปในรุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี และ 11 วินาทีขึ้นไปในรุ่นบุคคลทั่วไป จึงจะมีสิทธิ์บันทึกสถิติเพื่อเข้าแข่งขันสำหรับรอบชิงชนะเลิศในวันที่ 25 สิงหาคม ณ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2562 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี 

0202

ด.ช.นรภัทร ทรงเต๊ะ รางวัลชนะเลิศ รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี

 

0303

นายชัยธวัช เลนสันเทียะ รางวัลชนะเลิศ รุ่นทั่วไป

 

            สำหรับการแข่งขันรอบรองชนะเลิศและชิงชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขันต้องทำสถิติการร่อนเครื่องบินกระดาษพับได้นานกว่า 11 วินาทีขึ้นไปในรุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี และ 14 วินาทีขึ้นไปในรุ่นบุคคลทั่วไป จึงจะผ่านเข้ารอบดังกล่าว โดยแชมป์รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี  ได้แก่ ด.ช. นรภัทร ทรงเต๊ะ จากโรงเรียนสุเหร่าบางกะสี จังหวัดสมุทรปราการ สามารถประดิษฐ์เครื่องบินกระดาษพับที่สามารถร่อนได้นาน ทำสถิติโดยเฉลี่ย 15.76 วินาที และรุ่นทั่วไป ได้แก่ นายชัยธวัช เลนสันเทียะ จากโรงเรียนหนองกราดพัฒนา จังหวัดนครราชสีมา สามารถประดิษฐ์เครื่องบินกระดาษพับที่สามารถร่อนได้นาน ทำสถิติโดยเฉลี่ย 18.94 วินาที

0505

         ทั้งนี้ ในพิธีมอบรางวัลได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)  มาร่วมแสดงความยินดีและมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศทั้ง 2 รุ่น ในการแข่งขันครั้งนี้ด้วย  ภายหลังการแข่งขัน อพวช. ยังส่งเสริมการพัฒนาทักษะและศักยภาพของผู้แข่งขันให้ก้าวไกลไปอีกระดับ ด้วยการส่งผู้ชนะทั้งสองรุ่นเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าชิงชัยการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับชิงแชมป์โลกที่ประเทศญี่ปุ่นต่อไป

lgkfpr

30 กรกฎาคม 2563 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เป็นประธานการประชุม คณะอนุกรรมการประสานงานร่วมภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อตอบรับนโยบายของรัฐบาลกับยุทธศาสตร์การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการพัฒนาขีดความสามารถ ทักษะ และการเรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) สู่ทุกภาคส่วน โดยการประชุมจัดขึ้น ณ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี

lgkfpr
1800x533
123-6800x533
123-5800x533
123-4800x533
123-3800x533
123-2800x533
123-1800x533

bbb00 5

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ชวนเยาวชนมาสร้างสรรค์จินตนาการผ่านตัวต่อรูปสี่เหลี่ยมที่ทุกคนคุ้นเคย กับ นิทรรศการ LEGO® Coding Space ร่วมสัมผัสทักษะการเป็นผู้สร้างผ่านชุดการเรียนรู้จาก LEGO® สนุกไปกับกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ฝึกทักษะ โดยการลงมือปฏิบัติจริง (Hands-on experience) เริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ณ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี

bbb00

            ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า “ปัจจุบันสื่อการเรียนรู้เพื่อการเรียนการสอนในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ มีการพัฒนาให้มีความหลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น อพวช. เองถือเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนที่สำคัญและมีภารกิจหลักในการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม จึงได้นำ นิทรรศการ LEGO® Coding Space มาจัดแสดงโดยได้รับความมือจาก บริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อให้เยาวชนได้ฝึกทักษะโดยการลงมือปฏิบัติจริง (Hands-on experience) ได้คิด ประดิษฐ์ และสร้างสรรค์จินตนาการผ่านชุดการเรียนรู้จาก LEGO® ภายในนิทรรศการจะได้พบกับ LEGO® ตัวต่อรูปสี่เหลี่ยมที่ทุกคนคุ้นเคย ร่วมเดินทางและสัมผัสทักษะการเป็นผู้สร้าง ท้าทายจินตนาการด้วยการลงมือทำผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ”

            นิทรรศการ LEGO® Coding Space ประกอบไปด้วย 4 โซน ดังนี้

bbb00 1

 

โซนที่ 1 ผนังแห่งจินตนาการ (Wall of Imagination) – ทดลองใช้ White Brick สร้างเมืองจินตนาการ โดยใช้ความคิด สร้างสรรค์ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างนวัตกรรมในอนาคต  

bbb00 2

โซนที่ 2 ทักษะสร้างโลก (Skill of Creator) – เรียนรู้ทักษะหรือแนวคิดที่จำเป็นในการเป็น Creator

bbb00 3

โซนที่ 3 เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Learning by Doing) – เน้นการลงมือทำโดยให้เด็ก ประกอบรถ แล้วนำมาแข่งในราง โดยเด็กสามารถสร้างเงื่อนไขขึ้นมาเองได้ เช่น วิ่งช้าเป็นผู้ชนะ เป็นต้น

bbb00 4

โซนที่ 4 ภารกิจพิชิตความท้าทาย (Challenge the Mission) – เรียนรู้การแข่งขันด้วยโจทย์ที่ท้าทายเพื่อต่อยอดนวัตกรรมในอนาคต

bbb00 8

สำหรับผู้เข้าชมที่สนใจชมและทำกิจกรรมใน นิทรรศการ LEGO® Coding Space สามารถเข้าชมได้ฟรี ! โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เปิดบริการทุกวันอังคาร – ศุกร์ เวลา 09.30 -16.00 น. วันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.30 -17.00 น. (ปิดบริการทุกวันจันทร์) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร 0-2577-9999 ต่อ 2122, 2123 หรือ www.nsm.or.th

 

299A4406 800x533

ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ (ลำดับที่ 2 จากซ้าย) ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับสมาคมเครื่องบินกระดาษพับมอบรางวัลชนะเลิศการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 16 เพื่อให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ ฝึกทักษะด้านวิทยาศาสตร์ ผลปรากฏว่า ด.ช.นรภัทร ทรงเต๊ะ สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศไปครองในรุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี และ นายชัยธวัช เลนสันเทียะ คว้ารางวัลชนะเลิศในรุ่นทั่วไป โดยทั้งคู่จะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับนานาชาติ ณ ประเทศญี่ปุ่นในปี 2563   

 

299A4431 800x533

ด.ช.นรภัทร ทรงเต๊ะ รางวัลชนะเลิศ รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี

 

0002 800x535

นายชัยธวัช เลนสันเทียะ รางวัลชนะเลิศ รุ่นทั่วไป

หน้าที่ 1 จาก 21
 
กรอกอีเมลเพื่อติดตามข่าวสาร