th th
en

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และพนักงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมพิธีสถาปนากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื่องในโอกาสาครบรอบ 38 ปี ในวันที่ 24 มีนาคม 2560 พร้อมจัดพิธีมอบเกียรติบัตร “คนดีศรี วท.” ให้กับบุคลากรในสังกัดกระทรวง ที่มีความประพฤติดีและมีผลงานดีเด่น จำนวน 16 คน โดยนายพงศ์เนตร ถาวรนาถ ได้รับพิจารณาให้เป็นพนักงานดีเด่นของ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

 MG 1165 800x533 MG 1165 800x533

IMG 3724 800 533


องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมด้วยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดกิจกรรมค่าย “Thai Science Camp ครั้งที่ 9” กิจรรรมสำหรับเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์จากทั่วประเทศ มาร่วมกิจกรรมเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ โดยเน้นเยาวชนได้ใกล้ชิดกับนักวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติและนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของประเทศไทย พร้อมฝึกทักษะการสื่อสารด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ พร้อมคัดเลือกเยาวชนร่วมเข้าค่ายวิทยาศาสตร์นานาชาติ ณ ประเทศมาเลเซีย ต่อไป

IMG 3744 800 533

10 มีนาคม 2560 / ปทุมธานี – นางกรรณิการ์ วงศ์ทองศิริ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า “อพวช. มีหน้าที่หลักในการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แก่สังคม พร้อมยังส่งเสริมมุ่งสร้างและพัฒนากำลังคนให้มีศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 พร้อมคัดเลือกเยาวชนที่มีความสนใจและชื่นชอบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเข้าค่าย “Thai Science Camp ครั้งที่ 9” นี้ ถือเป็นการสร้างเครือข่ายวิทยาศาสตร์ที่เข้มแข็งของสังคม โดยเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายดังกล่าว ฯ จะได้เรียนรู้ แลกเปลี่ยนทัศนคติกับเพื่อนร่วมค่าย และยังได้รับประสบการณ์จากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญเป็นนักวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติและระดับชั้นนำของประเทศไทย โดยเยาวชนจะได้เห็นแนวทางการทำงานและมุมมองอันจะเป็นแบบอย่างที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ พร้อมกันนี้ยังได้รับเกียรติจาก ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาร่วมเป็นวิทยากรในการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “ทศวรรษหน้ากับวิทยาศาสตร์ไทย” ครั้งนี้

IMG 3947 800 533

ซึ่ง อพวช. หวังว่ากิจกรรมการเข้าค่ายฯดังกล่าว จะไม่เป็นเพียงแค่โอกาสที่เยาวชนจะได้รับความรู้ใหม่ และฝึกกระบวนการคิดเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสของการสร้างเครือข่ายของเยาวชนที่มีพลังเชิงสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์ อีกทั้งเยาวชนยังได้ใช้เวลาว่างอย่างมีคุณค่าอีกด้วย”

IMG 3735 800 533
รศ.ดร.นภาวรรณ นพรัตนราภรณ์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า “โครงการ Thai Science Camp ครั้งที่ ๙ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงอยากเห็นเยาวชนไทย มีเวทีในการเข้าร่วมกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแรงบันดาลใจและเป็นแบบอย่างให้เข้าใจการทำงานด้านการวิจัยและพัฒนา ให้ทราบถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ เพื่อขยายโอกาสการเรียนรู้และปลูกฝังแนวคิดด้านวิทยาศาสตร์แก่นักเรียนไทยทั้งประเทศ การเข้าร่วมกิจกรรมค่ายนี้ เยาวชนจะได้ฝึกกระบวนการคิด วิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอความคิด และอภิปราย อันเป็นทักษะสำคัญต่อการทำงานร่วมกันในสังคม ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และความคิด และการต่อยอดความคิด การร่วมในกิจกรรมลักษณะเช่นนี้จึงเป็นโอกาสที่เยาวชนจะได้เตรียมความพร้อมของตนเองเพื่อก้าวสู่รูปแบบกิจกรรมในเวที Asian Science camp การแข่งขันระดับนานาชาติต่อไป”

IMG 3725 800 533

ในส่วนของกิจกรรมค่าย “Thai Science Camp” ครั้งที่ 9 นี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-13 มีนาคม 2560 สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโปรแกรมวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ โดยในปีนี้มีเยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 จากทั่วประเทศโดยผ่านการคัดเลือกจำนวน 150 คน นอกจากนี้เยาวชนยังมีโอกาสถูกคัดเลือกเพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยในการเข้าร่วมโครงการ Asian Science Camp 2017 ในเดือนสิงหาคม ณ ประเทศมาเลเซีย ต่อไป

IMG3605800533
IMG3566800533
9d170d1d612964fa77133418635e8f56XL
IMG3947800533
IMG3920800533
IMG3882800533
IMG3851800533
IMG3846800533
IMG3842800533
IMG3824800533

กลับมาอีกครั้ง...ในกิจกรรมค่ายวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ อพวช. โดยปิดเทอมหน้าร้อนนี้ จัดกิจกรรมให้น้อง ๆ เยาวชนได้มาเรียนรู้กันอย่างเต็มอิ่ม แบ่งออกเป็น 2 ค่าย ได้แก่

424 600

1.ค่ายวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ ตอน“เล่น...เรียน...รู้ วิทยาศาสตร์ในของเล่นไทย” ในวันที่ 22-24 มีนาคม 2560 พร้อมเปิดรับสมัครน้องๆเยาวชนตั้งแต่ระดับชั้น ป.4-ป.6 จำนวน 60 คน มาเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านของเล่นภูมิปัญญาไทย เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านของเล่นแนววินเทจ

Smart Math 424 600

2.ค่ายวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ ตอน Smart Math ในวันที่ 29-31 มีนาคม 2560 พร้อมเปิดรับสมัครน้องๆเยาวชนตั้งแต่ระดับชั้น ป.4-ป.6 จำนวน 60 คน มาเรียนรู้อย่างสนุกสนานไปกับคณิตศาสตร์ที่อยู่รอบตัว พร้อมประดิษฐ์ของเล่นท้าทายความคิดและจินตนาการ พร้อมเกมส์การแข่งขันทางด้านคณิตศาสตร์ที่จะช่วยฝึกเชาว์ปัญญาให้กับเยาวชน เพื่อเพิ่มแรงบันดาลใจในการเรียนรู้คณิตศาสตร์

สมัครด่วน! รับจำนวนจำกัด ดาวน์โหลดใบสมัครด้านล่าง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักพัฒนาธุรกิจและการตลาด โทร.0-2577-9999 ต่อ 2101,2123

Smart Math

pdf

02

Size: 578.16 KB
Hits : 238
Date added: 2561-03-16
jpg

03

Size: 1.29 MB
Hits : 143
Date added: 2561-03-16

นับจากเปิดตัวโครงการไปเมื่อเดือนธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา โครงการการแข่งขันการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ หรือ FameLab โดย บริติช เคานซิล ประเทศไทย 
ร่วมกับ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงาน
คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) EURAXESS และ ไอที 24 ชั่วโมง 
ได้เดินทางมาถึงรอบรองสุดท้าย โดยมีผู้เข้าแข่งขัน 10 คน ที่ผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มข้นจากคณะกรรมการ เตรียมตัวเข้ามาสเตอร์คลาส รับการอบรมพัฒนาทักษะ
การนำเสนอทางวิทยาศาสตร์ โดยวิทยากรชื่อดังจากสหราชอาณาจักร ก่อนเฟ้นหาตัวแทนประเทศไทยเพียงหนึ่งเดียวไปแข่งขันรอบชิงชนะเลิศที่ Cheltenham 
Science Festival ณ สหราชอาณาจักรต่อไป

การแข่งขัน FameLab ได้ดำเนินมาอย่างเข้มข้น จนได้นักสื่อสารด้านวิทยาศาสตร์ 10 คน จากรอบรองสุดท้ายภายในประเทศ จากสาขาอาชีพที่หลากหลาย 
ทั้งนักศึกษา นักวิจัย อาจารย์ และนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งแต่ละคนนั้นล้วนมีความสามารถในการนำเสนอที่น่าทึ่ง และนี่คือผู้เข้าแข่งขัน 10 คนสุดท้ายพร้อมหัวข้อ
ที่เต็มไปด้วยเนื้อหาที่อัดแน่นแต่สามารถสื่อสารออกมาอย่างน่าสนใจใน 3 นาที

1.นาย เจษฎา ปัญญาฟู หัวข้อ กฎของโอห์ม
2.นางสาว ณัตติพร ยะบึง " อันตรายของอนุภาคฝุ่น
3.นางสาว อรณี ศรีใชยพล " เรื่องราวของมนุษย์ซิลเวอร์นาโนพาร์ทิเคิล
4.นางสาว กมลรัตน์ คูบุบผา " กลิ่น
5.นาย ณัฏฐ์ วรพัฒนะไพบูลย์ " วัสดุเพื่อการใช้งานทางการแพทย์
6.นาย ปริญญา ขินหนองจอก " ยาทำงานอย่างไรในร่างกายของเรา
7.นาย ธรรมฤทธิ์ ลิขิตธีรเมธ " จักรวาลที่นักดาราศาสตร์มอง
8.นาย ปริญญ์ ไชยกิจ " Affectives' affected
9.นางสาว วิจิตรา หลวงอินทร์ " สมองที่สอง
10.ดร. สุธีรา รัตนศิรินทรวุธ " พิชิตมะเร็งร้ายด้วยวิธีการรักษาใหม่แบบภูมิคุ้มกันบำบัด

โดยผู้เข้ารอบทั้ง 10 คนนี้จะได้เข้ารับการอบรมทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ กับดร.เอมิลี่ กรอสแมน ผู้เป็นทั้งอาจารย์ นักวิชาการด้านชีววิทยา
และพันธุกรรมศาสตร์ของโมเลกุล วิทยากรด้านการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์และพิธีกรโทรทัศน์ชื่อดังจากสหราชอาณาจักร เพื่อเตรียมความพร้อม
สำหรับการแข่งขันรอบสุดท้ายภายในประเทศ ในวันที่ 4 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ซึ่งกลุ่มทรู โดยทรูวิชั่นส์ 
จะถ่ายทอดสดทางช่องทรูปลูกปัญญา โดยจะมีผู้ชนะการแข่งขันเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นที่จะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันกัน
กับประเทศต่างๆ ทั่วโลกในระหว่าง 6 - 11 มิถุนายน 2560 ณ งานเทศกาลวิทยาศาสตร์สุดยิ่งใหญ่ Cheltenham Science Festival 
ณ สหราชอาณาจักรพร้อมโอกาสในการเข้าเยี่ยมชมห้องแล็บทางวิทยาศาสตร์ชั้นนำประเทศใดก็ได้ในทวีปยุโรป

พิเศษสำหรับผู้ชมการแข่งขันและกองเชียร์ สามารถโหวตให้คะแนนนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่ชื่นชอบ เพื่อชิงรางวัลขวัญใจมหาชนได้ผ่านช่องทางออนไลน์ 
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.britishcouncil.or.th/famelab

 

1DXA7804
1DXA8562
f525928d26841a773893302587c8b9b0XL
1DXA8548
1DXA8469
1DXA8380
1DXA8282
1DXA8225
1DXA8130
1DXA8188

แถลงข่าว /๙ มีนาคม ๒๕๖๐--กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมด้วย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ  ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด มหาชน และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จัดแถลงข่าวงาน "มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๑๖" โดยมี รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (คนกลาง) ให้เกียรติเป็นประธาน พร้อมด้วย ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (คนที่สองจากขวา)  คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (คนที่หนึ่งจากขวา)  และนางกรรณิการ์ วงศ์ทองศิริ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (คนที่สองจากซ้าย) ร่วมแถลงข่าว  ณ ชั้น ๑ อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรุงเทพฯ

IMG3556800533
55fa6838c5454bc43888ad15364e3965XL
IMG3522800533
IMG3542800533
IMG3522800533-1
IMG3521800533
IMG3512800533
IMG3511800533
IMG3490800533
IMG3482800533

 กลับมาอีกครั้ง ในกิจกรรมรับซัมเมอร์ กับ ค่าย One Day Camp ที่เปิดรับสมัครน้องๆ เยาวชนมาร่วมเข้าค่ายวิทยาศาสตร์แบบ 1 วัน สำหรับน้องๆที่มีความใฝ่รู้ใจรักวิทยาศาสตร์ อยากทดลองเกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์ พร้อมฝึกทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ค่าย One Day Camp พร้อมที่จะสร้างนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์สู่สังคม เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชน โดยมีกิจกรรมที่หลากหลายน่าสนใจทันยุคสมัย โดย อพวช. ได้จัดค่ายออกเป็น 2 แห่ง คือที่ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี และจัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ชั้น 4 อาคารจามจุรีสแควร์ สามย่าน ซึ่งน้องๆสามารถเลือกวันและสถานที่ ตามรายละเอียดดังนี้

●ค่าย One Day Camp ณ อพวช.คลองห้า ปทุมธานี

ค่าย 1 วัน ระดับชั้น รายละเอียด วันที่จัด
ค่าย 1 2 3 แอคชั่น ป.4 – ป.6 การเรียนรู้ Boradcasting พร้อมสัมผัสอุปกรณ์จริงใน NSM Studio วันพุธที่ 8 มีนาคม 2560
ค่ายผ่าก้อนสำรอก..นกแสก ป.4 – ป.6 เรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการดำรง ชีวิตของนกแสก เช่นการสร้างที่อยู่ การกิน วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม 2560
ค่าย IT Maker ป.4 – ป.6 ฝึกทักษะการเป็นนักประดิษฐ์ด้วย การใช้อุปกรณ์ ด้านไอที วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม 2560 (เต็ม)
ค่าย ดาราศาสตร์ ป.4 – ป.6 เรียนรู้เกี่ยวกับระบบสุริยะ การสังเกต ดวงจันทร์ และสังเกตดวงอาทิตย์

วันอังคารที่ 21 มีนาคม 2560 (เต็ม) และวันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2560 (เต็ม)

ค่าย Fun Math ป.4 – ป.6 ฝึกสมองเพื่อพัฒนาตรรกะทางความคิด พร้อมเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง กับไอที

วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม 2560  

(เต็ม)

ค่าย หนูน้อยนักประดิษฐ์ ป.1 – ป.3 สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ด้วยวิธีคิดแบบ นักวิทยาศาสตร์โดยใช้สิ่งของรอบตัว

วันพุธที่ 29 มีนาคม 2560 (เต็ม)

และวันอังคารที่ 4 เมษายน 2560(เต็ม)

หมายเหตุ - ค่ายครั้งที่ 1 และ 2 กิจกรรมเหมือนกันทุกประการ ทุกค่ายเริ่มกิจกรรม 09.30 - 15.30 น.

●ค่าย One Day Camp ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. สามย่าน กรุงเทพฯ 

ค่าย 1 วัน ระดับชั้น รายละเอียด วันที่จัด

ค่ายนักวิทย์น้อยตามรอยพ่อ

(Little Scientist- Follow in the King's footsteps )

ป.4 - ป.6 เรียนรู้โครงการพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่สอดแทรกความรู้วิทยาศาสตร์ ฝึกการเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อย สานต่อสิ่งที่พ่อทำ

วันอังคารที่ 21 มีนาคม 2560

วันพุธที่ 22 มีนาคม 2560

                 (เต็ม)

ค่ายสนุกกับอาชีพวิทยาศาสตร์

(Enjoy Science Career)

ป.4 - ป.6 เรียนรู้ว่าการเรียนวิทยาศาสตร์สามารถไปประกอบอาชีพอะไรได้อีกบ้าง นอกจาก แพทย์ วิศวกร  และ ได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่อาชีพนั้นๆ

วันอังคารที่ 28มีนาคม 2560

วันพุธที่ 29 มีนาคม 2560 

(เต็ม)

ค่ายนักเคมีตัวจิ๋ว

(Little Chemists )

ป.4 - ป.6 เคมีเป็นเรื่องใกล้ตัว เรียนรู้และรู้จักกับสารเคมีที่มีอยู่รอบตัวเรา พื้นฐานของกรด-เบส สถานะของสะสาร และการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

วันอังคารที่ 4 เมษายน 2560

วันพุธที่ 5 เมษายน 2560

                (เต็ม)

ค่ายโลกของหนูน้อยนักประดิษฐ์

(Enjoy Kids Maker Space)

ป.4 - ป.6 ฝึกทักษะการสร้างสิงประดิษฐ์ ผ่านกระบวนการ คิด  ออกแบบ ลงมือทำ เรียนรู้ข้อผิดพลาด การแก้ปัญหา เสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิด STEM Education

วันอังคารที่ 25 เมษายน 2560 

วันพุธที่ 26 เมษายน 2560

(เต็ม)

หมายเหตุ - ทุกค่ายเริ่มกิจกรรม 10.00 - 16.30 น.

ห้ามพลาด! สมัครด่วนรับสมัครจำนวนจำกัด...ดาวน์โหลดใบสมัครด่านล่าง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสำรองที่นั่งก่อนใคร ได้ที่สำนักพัฒนาธุรกิจและการตลาด โทรศัพท์ 0 2577 9999 ต่อ 2123 ,2124

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) นำเสนอความคืบหน้า โครงการพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ของ อพวช. (Futurium) พิพิธภัณฑ์เพื่ออนาคตของประเทศไทย ตอบโจทย์นโยบายรัฐบาลผลักดันประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อให้ประเทศไทยกลายเป็นกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง อีกทั้งยังเป็นพิพิธภัณฑ์ แห่งที่ 5 ของ อพวช. เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครอบคลุมในเชิงกว้างและลึก บนพื้นที่บริหารจัดการของ อพวช. ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ให้กับรองนายกรัฐมนตรี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ในโอกาสตรวจติดตามการดำเนินงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

IMG 5551 800x535

16 มีนาคม 2560 / กรุงเทพฯ – นางกรรณิการ์ วงศ์ทองศิริ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า “พิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ของ อพวช. มีแนวความคิดที่จะสร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่พร้อมจะสร้างแรงบันดาลใจ ในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศและนำไปสู่การสร้างสรรค์ประดิษฐ์และนวัตกรรมต่อไปในอนาคต ภายใต้แนวคิด “จุดประกายความคิด สร้างจิตวิทยาศาสตร์ เพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยี พัฒนาวิชาชีพ และนวัตกรรม”

16036001

          โดยแบ่งการนำเสนอนิทรรศการภายในออกเป็น 8 แกลเลอรีในนิทรรศการ “สู่โลกนวัตกรรม” (Innovation World) และอีก 3 แกลเลอรีในนิทรรศการ “อาชีพด้านวิทยาศาสตร์” (Job World) ตามเนื้อหาที่แตกต่างกันนิทรรศการ “สู่โลกนวัตกรรม” ประกอบด้วย นวัตกรรมคมนาคมและการขนส่ง นวัตกรรมหุ่นยนต์-ระบบอัตโนมัติ นวัตกรรมการจัดการ ภัยพิบัติ นวัตกรรมพลังงานทางเลือก นวัตกรรมการเกษตรอัจฉริยะ นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ/นาโนเทคโนโลยี นวัตกรรมไทย : เพื่อเมืองไทยที่ดีขึ้น และนวัตกรรมอวกาศและการบิน ในส่วนของนิทรรศการ “อาชีพด้านวิทยาศาสตร์” (Job World) ประกอบด้วย การค้นพบแนวทางอาชีพ แนะแนวอาชีพ และทดลองปฎิบัติอาชีพ

16036002

             นอกจากนี้ อพวช. ยังมีแนวความคิดในการหาพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ตามนโยบายรัฐร่วมเอกชนให้เข้ามา มีส่วนร่วมการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ของ อพวช. มากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของการจัดแสดงนิทรรศการ และการจัดกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ ในด้านวิทยาศาสตร์ (Job Experiences)

         ซึ่งในขณะนี้ โครงการพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ของ อพวช. มีความพร้อมทั้งด้านรูปแบบอาคารและนิทรรศการ ซึ่งจะก่อสร้างบนพื้นที่ 51 ไร่ ของ อพวช. ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และอยู่ในขั้นตอนการเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

       ทั้งนี้ อพวช. หวังว่าพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ของ อพวช. ที่จะได้รับการอนุมัติให้สร้างแห่งนี้ จะเป็นอีกแรงสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนในด้านการเป็นกำลังคนคุณภาพที่จะผลักดันประเทศไทยให้หลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง โดยอาศัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามามีส่วนช่วยพัฒนาประเทศไทยต่อไป

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา เปิดตัวกิจกรรม “Research Show by Naturalist : พบนักธรรมชาติวิทยา” พร้อมเผยกิจกรรมใหม่ตลอดปี 2560 โดยแบ่งเป็น 2 หัวข้อหลัก ได้แก่ Inspiring Job: Being a Naturalist : แรงบันดาลใจในสายอาชีพนักธรรมชาติวิทยา และ Miracle of Nature: มหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ โดยจะเน้น ให้เยาวชนและผู้เข้าชมมีการฝึกทักษะการบันทึกงานทางด้านธรรมชาติมากยิ่งขึ้น อันเป็นทักษะที่สำคัญอย่างหนึ่งต่องานทางวิทยาศาสตร์ทุกแขนง เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาทักษะ ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านธรรมชาติ รวมถึงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจต่องานด้านธรรมชาติวิทยาให้แก่ เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป

 IMG 2362 800x533
25 กุมภาพันธ์ 2560 / กรุงเทพฯ นางกรรณิการ์ เฉิน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาตวามตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ อพวช. กล่าวว่า “อพวช. มีภารกิจหลักในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาเยาวชนและประชาชนไทยให้ก้าวสู่สังคมวิทยาศาสตร์ โดยสามารถนำกระบวนการคิดและความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน จากความรู้เหล่านี้ยังสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาความรู้และพัฒนาคนสู่สังคมในยุคไทยแลนด์ 4.0 อีกด้วย สำหรับพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาซึ่งเป็น 1 ในพิพิธภัณฑ์ของ อพวช. ที่ตั้งอยู่ ณ คลองห้า ปทุมธานี ได้จัดกิจกรรม “Research Show by Naturalist : พบนักธรรมชาติวิทยา” หลังจากดำเนินจัดกิจกรรมมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี โดยในปีนี้เราได้จัดเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนเข้ามาเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติวิทยาเพิ่มมากขึ้น จากนักธรรมชาติวิทยามืออาชีพในหลายสาขาที่จะมาให้ความรู้ความเข้าใจในด้านธรรมชาติวิทยาด้านต่างๆโดยเฉพาะ

IMG 2623 800x533
ซึ่งกิจกรรมในปี 2560 นี้ ทางพิพิธภัณธ์ธรรมชาติเราได้จัดกิจกรรม “Research Show by Naturalist : พบนักธรรมชาติวิทยา” แบ่งออกเป็น 2 หัวข้อหลัก ได้แก่
1) “Inspiring Job: Being a Naturalist: เส้นทางในสายอาชีพนักธรรมชาติวิทยา” โดยมีนักธรรมชาติวิทยามืออาชีพมาอธิบายวิธีการทำงาน และแนะนำการก้าวเข้าสู่เส้นทางสายอาชีพนักธรรมชาติวิทยา จัดแสดงในทุกวันเสาร์แรกของทุกเดือน ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา อพวช. คลองห้า และวันเสาร์ที่ 4 ของเดือนมีนาคม พฤษภาคม กรกฏาคม กันยายน และพฤศจิกายน ที่จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ชั้น 4 อาคารจัตุรัสจามจุรี สามย่าน กรุงเทพฯ
2) “Miracle of Nature: มหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ” ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้พบกับความมหัศจรรย์ของธรรมชาติอันน่าทึ่งจากนักธรรมชาติวิทยามืออาชีพ จัดแสดงในทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา อพวช. คลองห้า ปทุมธานี

IMG 2647 800x533
โดยหวังว่ากิจกรรมนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเยาวชนและประชาชนทั่วไปในการมาเข้าร่วมกิจกรรม “Research Show by Naturalist : พบนักธรรมชาติวิทยา” เพื่อจุดประกายความคิด และสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในการที่จะมุ่งมั่นพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเองทางด้านวิทยาศาสตร์และธรรมชาติวิทยาต่อไป” นางกรรณิการ์ฯ กล่าวในที่สุด


สำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม “Research Show by Naturalist : พบนักธรรมชาติวิทยา” สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา โทร.0-2577-9999 ต่อ 1508 , 

IMG2230800x533
IMG2227800x533
IMG2225800x533
IMG2217800x533
IMG2205800x533
IMG2199800x533
IMG2196800x533
IMG2501800x533
IMG2518800x533
IMG2491800x533

กรุงเทพฯ 21 มกราคม 2560 - บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และพันธมิตร จัดงานมหกรรมแสดงผลงานและสิ่งประดิษฐ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ “Bangkok Mini Maker Faire ปี 2 ทำของมาอวด” รวมพล “เมกเกอร์” หรือนักสร้างสรรค์และนักประดิษฐ์ ทั้งชาวไทยและต่างประเทศกว่าร้อยชีวิต เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมเมกเกอร์ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง อันเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 ถึง 22 มกราคม ณ ลานหน้าศูนย์การค้าเดอะสตรีท รัชดา

 MG 9157 001 800 533


คุณอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า “จากความสำเร็จของการจัดงาน Bangkok Mini Maker Faire ครั้งแรก ในปี 2558 ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีเกินความคาดหมาย ด้วยจำนวนผู้ร่วมงานกว่า 4,000 คน เป็นการเปิดโอกาสให้เมกเกอร์จากทั่วประเทศได้มาพบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ และนำผลงานของตนเองมาจัดแสดง นอกจากนี้ยังได้สร้างการรับรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเมกเกอร์ให้กับสังคมไทยในวงกว้าง และถือเป็นการปักหมุดประเทศไทยลงในแผนที่ของเมกเกอร์โลกเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นการต่อยอดความสำเร็จดังกล่าว ในปีนี้เราได้ร่วมมือกับ สวทช. และพันธมิตร จัดงาน Bangkok Mini Maker Faire ขึ้นเป็นปีที่สอง โดยมุ่งหวังให้วัฒนธรรมเมกเกอร์เข้ามาเป็นหนึ่งในรากฐานการพัฒนาสังคม เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ในการนำพาประเทศไปสู่สังคมเศรษฐกิจแบบใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม”

 MG 8971 800 533

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า “เพื่อเป็นการขานรับนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาล กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการบ่มเพาะและส่งเสริมสตาร์ทอัพไทยแลนด์สร้างมูลค่าในสินค้า บริการ มีความสามารถทางการค้าและเข้าถึงตลาดในประเทศ อาเซียน และตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน อันจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้มีการเติบโต ทั้งนี้การสร้างรากฐานวัฒนธรรมเมกเกอร์จะสามารถนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดแนวคิดสู่การทำสตาร์ทอัพในประเทศไทยได้ในอนาคต การจัดงานเมกเกอร์แฟร์ จึงเป็นหนึ่งในการขับเคลื่อนขบวนการเมกเกอร์ (Maker Movement) นอกจากได้สร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของเมกเกอร์ ที่ไม่ได้เป็นเพียงงานอดิเรกเหมือนเดิมอีกต่อไป ยังเป็นการส่งเสริมสังคมเมกเกอร์ให้มีความแข็งแกร่ง นับเป็นการบ่มเพาะสตาร์ทอัพที่มีคุณภาพเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจให้สามารถเติบโตขึ้นอย่างมั่นคง”

 MG 8895 800 533

งาน Bangkok Mini Maker Faire ปี 2 จัดแสดงผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ของเมกเกอร์จากทั่วประเทศไทย กว่า 60 บูธ พร้อมด้วยกิจกรรมน่าสนใจเพื่อให้ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจแก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ในวัฒนธรรมเมกเกอร์ อาทิ เวิร์กชอปสำหรับผู้รักการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ทั้งการใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ การทำงานศิลปะบนผืนผ้า ไปจนถึงการประกอบโดรน การแข่งขันหุ่นยนต์เห่ย การโชว์ขบวนพาเหรดแห่งแสงไฟและเสียงดนตรี นอกจากนั้น ยังมีการประกาศผลการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับเมกเกอร์ ในระดับนักเรียน-นักศึกษาสายสามัญและอาชีวศึกษา ในรายการ “Enjoy Sciences: Young Makers Contest” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต โดยในครั้งนี้ได้กำหนดหัวข้อ “นวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุและผู้พิการ” ผู้ชนะจะได้รับรางวัลทุนการศึกษา ตลอดจนทริปเข้าร่วมงาน Maker Faire ในสหราชอาณาจักรและประเทศญี่ปุ่น รวมมูลค่ากว่า 1.5 ล้านบาท ซึ่งการประกวดในปีนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากอีกสองพันธมิตรสำคัญคือ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)

 MG 8525 800 533

นางกรรณิการ์ วงษ์ทองศิริ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า “อพวช. มีความยินดีที่ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Young Makers Contest เพราะการกระตุ้นและส่งเสริมสังคมไทยให้สนใจและเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อการพัฒนาประเทศ ถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจหลักของเรา ซึ่งการส่งเสริมวัฒนธรรมเมกเกอร์ที่แข็งแกร่งในสังคมจะช่วยให้ประเทศไทยพัฒนาขีดความสามารถดังกล่าวได้อย่างมั่นคง โดยในปัจจุบัน อพวช. ได้ดำเนินการสนับสนุนวัฒนธรรมเมกเกอร์ให้กับสาธารณชน โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งการจัดแสดงผลงานของเมกเกอร์ รวมถึงการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์งานของเมกเกอร์ หรือ เมกเกอร์สเปซ ณ พิพิธภัณฑ์ในสังกัด เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการประดิษฐ์นวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้มีความทัดเทียมกัน”

 MG 8511 800 533


ดร.มงคลชัย สมอุดร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กล่าวว่า “กำลังคนอาชีวศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งต่อภาคการผลิต ภาคบริการและการเป็นผู้ประกอบการ การที่ประเทศไทยจะก้าวสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมได้นั้น จะต้องยกระดับคุณภาพการศึกษาวิชาชีพ การส่งเสริมให้นักเรียนอาชีวศึกษาเข้าสู่วัฒนธรรมเมกเกอร์เป็นอีกหนึ่งในแนวทางการพัฒนากำลังคนให้สอดรับกับความต้องการกำลังคนของประเทศซึ่งมีแนวโน้มความต้องการแรงงานที่สามารถสร้างนวัตกรรมมาแทนที่แรงงานฝีมือ เรามีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับโครงการ Chevron Enjoy Science และหวังจะได้เห็นผลสัมฤทธิ์ คือกำลังคนที่มีคุณภาพเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป”

 MG 9016 800 533

การส่งเสริมวัฒนธรรมเมกเกอร์ในประเทศเป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นของเชฟรอนในการพัฒนาพลังคน ภายใต้โครงการ “Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต” ซึ่งเป็นโครงการระยะยาว 5 ปี ที่มุ่งส่งเสริมแรงบันดาลใจและสร้างความสนใจในการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ หรือ สะเต็ม ทั้งในระบบการศึกษาสายสามัญและสายอาชีพ ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เราเชื่อว่าการยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศผ่านการพัฒนานวัตกรรมจะเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองที่สำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ให้สัมฤทธิ์ผล” คุณอาทิตย์ กล่าวสรุป

 MG 9347 800 533

     นอกจากนี้ในงานยังมีพิธีประกาศผลรางวัลโครงการ "Enjoy Science: Young Makers Contest 2016"  โดยแบ่งออกเป็นสายสามัญ และสายอาชีวศึกษา ได้แก่

•รางวัลชนะเลิศ 
ประเภทนักเรียน-นักศึกษาสายสามัญ (ระดับไม่เกินปริญญาตรี)

 MG 9214 800 533

โครงการ: The fall surveillance system by a 3D non-contact sensor ระบบเฝ้าระวังผู้สูงอายุโดยใช้กล้องตรวจจับการเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติตรวจจับการล้มพร้อมแจ้งเตือน
ทีม: BME Innovation KMITL Team 2
จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ผู้พัฒนาผลงาน
1)นายรัชพล แขมภูเขียว นักศึกษา
2)นายสุธีบูรณ์ ชูวิทยา นักศึกษา
3)ผศ.ดร.ภัทรพงษ์ ผาสุขกิจ อาจารย์ที่ปรึกษา

•รางวัลชนะเลิศ 
ประเภทนักเรียน-นักศึกษาสายอาชีวศึกษา (ระดับไม่เกิน ปวส.)

  MG 9177 800 533
โครงการ: ไม้เท้าแจ้งเตือนการล้มสำหรับผู้สูงอายุ
ทีม: สมิหลา ทีม A
จาก วิทยาลัยสารพัดช่างสงขลา
ผู้พัฒนาผลงาน
1)นางสาวรุจิภา ภูมิ นักศึกษา
2)นางสาวกุลนิดา มานะชำนิ นักศึกษา
3)นายอรรถพล ดือเร๊ะ อาจารย์ที่ปรึกษา

 MG 8859 800 533

วันที่ 10 มีนาคม 2560 / ดร.อภิญาณ์ หทัยธรรม รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ให้การต้อนรับผู้แทนจากคณะ "ASEAN Next 2017 Conference (Technopolis Tour) 10th March 2017" จากประเทศอาเซียน ในการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ เพื่อศึกษาดูงานและเจรจาหารือแนวทางความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

1Z0A9917800533
S163850800600
S163847800600
S163848800600
S163844800600
760bba062b2ebf52a45b4d17a935102eXL
1Z0A9923800533
1Z0A9922800533

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เปิดตัว 2 นิทรรศการถาวรชุดใหม่ล่าสุด นิทรรศการ “วิถีเกษตรแห่งความสุข” หวังให้เกิดความตระหนักเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลผลิต พร้อมเสนอแนวทางการทำเกษตรที่ปลอดภัยโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และนิทรรศการ “NSM Studio” เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นพื้นฐานให้กับเยาวชน ด้วยการทดลองและสัมผัสอุปกรณ์จริงในกระบวนการผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์ ภายใต้แนวคิด Learning by Doing เล่น-เรียน-รู้ ณ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นประธานในพิธีเปิด เนื่องในโอกาสเยี่ยมชมการดำเนินงานของ อพวช.

 MG 0929 800x533
10 กุมภาพันธ์ 2560 / ปทุมธานี –นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า “หนึ่งในนโยบายสำคัญของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ การสร้างกำลังคนที่มีความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คิดอย่างเป็นระบบมีเหตุและผล สามารถนำองค์ความรู้ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ หรือ อพวช. เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศในการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างกำลังคนผ่านนิทรรศการและกิจกรรมให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเยาวชนและประชาชน ในการที่ อพวช. เปิดตัว 2 นิทรรศการใหม่ “วิถีเกษตรแห่งความสุข” และนิทรรศการ “NSM Studio” จึงเป็นอีกส่วนหนึ่งในการตอบโจทย์นโยบายกระทรวงฯ ในการสร้างความตระหนักให้กับสังคม โดยหยิบยกเรื่องราวที่อยู่รอบตัวมาอธิบายขยายความในรูปแบบนิทรรศการที่น่าสนใจ เข้าใจง่าย และสามารถสัมผัส จับต้อง เรียนรู้ได้อย่างสนุกสนานซึ่งจะช่วยสร้างความสนใจ ประทับใจ จนเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ต่อยอดด้านอื่น ๆ ต่อไป”

 MG 1036 800x533

นางกรรณิการ์ วงศ์ทองศิริ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า อพวช. มีภารกิจในการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับสังคม ด้วยการให้บริการแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และอีกหนึ่งแหล่งเรียนรู้จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ชั้น 4 อาคารจัตุรัสจามจุรี ในส่วนของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์นั้นเปิดให้บริการมากว่า 16 ปี ทางพิพิธภัณฑ์เองจึงเล็งเห็นว่านิทรรศการบางชุดเกิดความล้าสมัยไม่ทันต่อกระแสเทคโนโลยีที่พัฒนาไปตลอดเวลา จึงได้มีการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ภายในอาคารมาอย่างต่อเนื่อง โดยนิทรรศการ “วิถีเกษตรแห่งความสุข” ถือเป็นนิทรรศการถาวรชุดใหม่ล่าสุด

 MG 0929 800x533

นิทรรศการ “วิถีเกษตรแห่งความสุข” จะสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากการทำการเกษตรที่มีการใช้สารเคมีในปัจจุบัน ไปสู่การทำการเกษตรที่ปลอดภัยโดยอาศัยเทคโนโลยีทุกแขนงมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความยั่งยืน จัดแสดงในพื้นที่ ชั้น 4 ของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ แบ่งการนำเสนอออกเป็น 3 โซน ได้แก่

โซนที่1 ผลกระทบจากการเกษตรปัจจุบัน นำเสนอภาพการเกษตรปัจจุบันที่ส่งผลต่อผู้บริโภค ปริมาณสารเคมีที่อยู่ในผลิตผลการเกษตร และอาหารทั่วไปที่มีผลิตผลทางการเกษตรที่ส่งผลต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม 
โซนที่ 2 ความสุขที่ต้องการให้เกิด ความสุขที่เกิดจากการทำการเกษตรแบบต่างๆ ที่ไม่พึ่งพาสารเคมี ส่งผลให้ครอบครัวมีความสุข ดำรงชีวิตได้อย่างพอเพียงในทุกสภาพเศรษฐกิจ โดยการสร้างบรรยากาศแห่งความสุขของการทำเกษตร
โซนที่ 3 เกษตรทางเลือก ทางเลือกในการทำการเกษตร ตั้งแต่ความรู้พื้นฐานของการเติบโตของพืช เกษตรอินทรีย์ ซึ่งใช้วิธีการการปลูกพืชหมุนเวียน การควบคุมพืชโดยวิธีชีวภาพ แนวทางการทำปศุสัตว์อินทรีย์ เกษตรโซนนิ่ง เกษตรอัจฉริยะที่เน้นเรื่องการเกษตรแม่นยำโดยอาศัยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าเข้ามาปรับใช้กับวิธีการทำการเกษตร เกษตรทฤษฎีใหม่ และโคก นา หนองโมเดล ที่ปรับจากแนวคิดเกษตรทฤษฏีใหม่ การทำเกษตรในครัวเรือน และแนวคิดเกษตรที่ประสบความสำเร็จเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนเมืองในการทำการเกษตรแบบง่าย ๆ

 MG 1101 800x533

สำหรับในส่วนของนิทรรศการ “NSM Studio” ที่จัดแสดง ณ บริเวณชั้น 2 อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยภายในนิทรรศการจะมีเครื่องมืออุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์ที่ทันสมัยใช้งานได้จริง ซึ่งเยาวชนสามารถทดลองใช้เพื่อเข้าใจหลักการทำงานของเครื่องมือในการผลิตรายการต่าง ๆ ได้ ที่สำคัญ อพวช. ยังใช้ NSM Studio แห่งนี้ ผลิตรายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อต่าง ๆ ให้กับหน่วยงานเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างความตระหนักให้กับสังคมอีกด้วย

สำหรับผู้สนใจชมนิทรรศการ “วิถีเกษตรแห่งความสุข” และนิทรรศการ “NSM Studio” สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02 577 9999 ต่อ 2122 และ 2123 www.nsm.or.th หรือ www.facebook.com/NSMthailand

 สัมมนาสะเต็ม - องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมด้วย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และ Museum of Science , Boston จัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "หลักสูตรสะเต็มศึกษาสำหรับการเรียนรู้ตามอัธยาศัย" STEM Education for Informal Learning เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและฝึกพัฒนาทักษะในการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตามอัธยาศัยให้แก่นักวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์ของ อพวช. โดยมี Ms.Nia P.Keith และ Ms.Katy Hutchinson สองวิทยากรผู้เชี่ยวชาญการจัดหลักสูตรด้านสะเต็มศึกษา จาก Museum of Science Boston ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2560 ที่ผ่านมา  ณ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ. ปทุมธานี

MG8218800533
MG8221800533
MG8227800533
MG8238800533
MG8243800533
MG8254800533
MG8287001800450

 

 
กรอกอีเมลเพื่อติดตามข่าวสาร