th th
en

27/06/60 - นางกรรณิการ์ วงศ์ทองศิริ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (คนที่ 2 จากซ้ายมือ) นางกรรณิการ์ เฉิน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ (คนที่ 1 ซ้ายมือ)  นายสมณ์ พรหมรส ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ (คนที่ 2 จากขวามือ) และ พันตำรวจโท วรรณพงษ์ คชรักษ์ รองผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ (คนที่ 2 จากขวามือ) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านวิชาการในการเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านนิติวิทยาศาสตร์ โดยมีคณะผู้บริหารและผู้แทนจากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ให้เกียรติร่วมเป็นสักขีพยานและให้การสนับสนุน ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ คลองห้า จ.ปทุมธานี

IMG9143800x533
IMG9131800x533
IMG9075800x533-1
IMG9120800x533
IMG9055800x534
IMG9061800x533
IMG9046800x533
IMG9051800x533
IMG9037800533
IMG9041800x533

วันที่ 20 มิถุนายน 2560 / นางกรรณิการ์ เฉิน (คนกลาง)  ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ให้การต้อนรับ Ms.Heather Farn worth (คนที่ 3 จากซ้าย) ผู้อำนวยการฝ่ายขายระหว่างประเทศและดูแลผลิตภัณฑ์ จากพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ Ontario Science Centre และ Ms. Ashley Larose (คนที่ 3 จากขวา) จากพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ Science North ประเทศแคนาดา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ ณ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

IMG8234800533
IMG8231800534
IMG8229800533
IMG8227800533
IMG8224800533
IMG8222800533
IMG8221800533

13/06/60 - อพวช. ร่วมกับ เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด สถาบันคีนันแห่งเอเชีย และ NY Sci เปิดงาน NYSCI – Maker Space Development Workshop โดยมี คุณหทัยรัตน์ อติชาติ ผู้จัดการฝ่ายนโยบายด้านรัฐกิจและกิจการสัมพันธ์ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด (คนกลาง) Mr. Ara Barsam Chief of Fary, Chevron Enjoy Science (คนที่ 1 จากขวา) และ คุณสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช) (คนที่ 2 จากขวา) เป็นประธานและร่วมเปิดงานดังกล่าว ฯ โดยมี  David Wells Director of Maker Programming New York Hall of Science (คนที่ 2 จากซ้าย) และ Reid Bingham Makerspace Coordinator New York Hall of Science (คนที่ 1 จากซ้าย) ร่วมเป็นวิทยากร ณ อพวช. คลองห้า คลองหลวง ปทุมธานี

IMG1136800x533
IMG1134800x533
IMG1135800x533
IMG1131800x533
IMG1125800x533
IMG1119800x533
IMG1116800x533
IMG1092800x533
IMG1089800x533
IMG1064800x533

มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ร่วมกับ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) และกลุ่มบริษัท บี.กริม จัดงาน “เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ประจำปี 2560” ภายใต้หัวข้อ “บ้านแห่งอนาคต” เน้นการส่งเสริมและพัฒนาเด็กปฐมวัย (อายุ 3 – 6 ปี) ได้เรียนรู้และสร้างประสบการณ์ ฝึกการสังเกต คิดวิเคราะห์ พร้อมตั้งคำถามและหาคำตอบด้วยตนเองอย่างสนุกสนาน ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พร้อมจัดกิจกรรมเปิดเทศกาลฯ ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม – 31 สิงหาคม 2560 

กรุงเทพฯ/23 มิถุนายน 2560 - ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า “ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การที่เด็กและเยาวชนจะสามารถสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาได้เท่าทันต่อสิ่งรอบตัวนั้นเป็นสิ่งสำคัญ วิทยาศาสตร์ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนในการสร้างทักษะเหล่านี้ กระทรวงศึกษาธิการเอง ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในทุกระดับชั้น จึงได้มีการส่งเสริมให้โรงเรียนในสังกัดเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์ เพราะเล็งเห็นว่าโครงการฯ จะสามารถเข้ามาช่วยเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และเพิ่มทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับกลุ่มเด็กปฐมวัย ด้วยการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่มาจากประสบการณ์ตรง ปลูกฝั่งให้รู้จักช่างสังเกต ตั้งคำถามและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ซึ่งกระบวนการคิดแบบเป็นระบบนี้ หากเราสมารถปลูกฝั่งให้เกิดกับเด็กปฐมวัยได้ เด็กเหล่านี้จะเติบโตไปเป็นเยาวชนที่มีคุณภาพ และเป็นกำลังสำคัญในการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต”

0004 800 512

ด้าน นางกรรณิการ์ วงศ์ทองศิริ รองผู้อำนวยการ รักษาแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพการจัดงานในส่วนของภาคกลางว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) มีภารกิจหลักในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ รวมทั้งการสื่อสารเผยแพร่องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ สู่สังคม เพื่อให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ การวางรากฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กตั้งแต่วัยเยาว์จึงมีความสำคัญยิ่ง ในการปลูกฝังเด็กให้เติบโตไปพร้อมกับวิทยาศาสตร์ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย จึงถือว่าเป็นเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้เด็ก รู้จัก เข้าใจ และสามารถนำประโยชน์จากการเรียนรู้นี้ไปดำเนินชีวิตต่อไปในสังคมได้”

0003 800 533

สำหรับ “เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ประจำปี 2560” ภายใต้หัวข้อ “บ้านแห่งอนาคต” ในส่วนของภาคกลางรับผิดชอบจัดกิจกรรมโดย จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ชั้น 4 อาคารจัตุรัสจามจุรี สามย่าน กรุงเทพฯ ได้แบ่งฐานกิจกรรมออกเป็น 4 ฐานประกอบด้วย ฐานที่ 1. นักก่อสร้างตัวน้อย : ให้เด็กๆ ทดลองสร้างบ้านแบบง่าย ๆ จากอุปกรณ์ที่มี ฐานที่ 2.เรามาขนส่งสินค้ากันเถอะ : ให้เด็กๆ ลองจัดสิ่งของลงกระเป๋าหรือลงกล่องให้เป็นระเบียบและได้จำนวนมากที่สุด ฐานที่ 3.หนีร้อน : ให้เด็กๆ หาวิธีทำให้ห้องหรือสิ่งของที่ได้รับมีอุณหภูมิเย็นลง ฐานที่ 4.โรงบำบัดน้ำเสีย : ให้เด็กๆ ทำเครื่องกรองน้ำง่ายๆด้วยตัวเอง โดยจากฐานกิจกรรมเด็กๆ จะได้เรียนรู้พื้นฐานในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่หลากหลายสำหรับเด็กปฐมวัย ให้เกิดประสบการณ์และสร้างจินตนาการที่ไร้ขอบเขต และจะเป็นแรงกระตุ้นให้เด็กเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อไปในอนาคต

0001 800 522

คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานกรรมการ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เปิดเผยว่า “โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เป็นโครงการที่เราจัดกันมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เราได้ตระหนักถึงปัญหาของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ที่ผ่านมาไม่ได้รับการพัฒนาทักษะอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ ทำให้ปัจจุบันเกิดการขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จึงได้ทำการศึกษาโครงการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในประเทศเยอรมนี จากมูลนิธิ “Haus der Kleinen Forscher” (หรือ มูลนิธิบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย) และได้นำโครงการดังกล่าวมานำร่องเป็นต้นแบบในประเทศไทย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเยาวชน เป้าหมายสำคัญเพื่อปลูกฝังนิสัยรักวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กไทยอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ และเอกชน 8 หน่วยงาน ได้แก่ มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) และกลุ่มบริษัท บี.กริม”

0005 800 533

ปัจจุบันได้ดำเนินโครงการเข้าสู่ปีที่ 7 ซึ่งได้ขยายผลสู่กว่า 16,605 โรงเรียนทั่วประเทศ ผ่านผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น 230 แห่ง โดยมีกิจกรรมอบรมครู พัฒนาสื่อการเรียนการสอน และทำกิจกรรมสู่กลุ่มครอบครัว ในปีนี้เราจัดกิจกรรมภายใต้หัวข้อ “บ้านแห่งอนาคต” เพราะถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับคุณครูที่จะพานักเรียนเริ่มต้นทำกิจกรรมสำรวจอย่างจริงจัง ให้เด็ก ๆ ได้ตั้งข้อสงสัย กับสิ่งที่รอบตัว และวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ตัวตัวเอง ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับเด็กที่จะเติบโตเป็นเยาวชนที่ดีในอนาคต เราจึงจัดกิจกรรมสร้างประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานให้ครูและเด็กๆได้ตั้งคำถาม ฝึกการสังเกตและหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน

0006 800 488

“เทศกาลวันนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ประจำปี 2560” จะจัดขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 23 พฤษภาคม – 31 สิงหาคม 2560 โดยแบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเลย ภาคตะวันออก จัดโดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสระแก้ว ภาคเหนือ จัดโดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดน่าน ภาคใต้ จัดโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา และภาคกลาง โดย จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ชั้น 4 อาคารจัตุรัสจามจุรี สามย่าน กรุงเทพฯ ทั้งนี้ขอเชิญชวนโรงเรียนอนุบาล และศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ มาเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวฯ สำหรับผู้สนใจ สามารถดูรายละเอียด และดาวน์โหลดเนื้อหา คู่มือการจัดกิจกรรมได้ในเว็บไซต์ www.littlescientistshouse.com และ www.nsm.or.th

รับรางวัล – องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ขอแสดงความยินดีกับ Dr.Andreas Heinecke ผู้ก่อตั้งนิทรรศการ Dialogue in The Dark กับรางวัลโครงการที่ดำเนินกิจกรรมการสื่อสารวิทยาศาสตร์และก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมได้อย่างยั่งยืน ในการประชุมเครือข่ายพิพิธภัณฑ์/ศูนย์วิทยาศาสตร์ภาคพื้นยุโรป เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2560 ณ เมืองปอร์โต ประเทศโปตุเกส


          นิทรรศการชุดนี้จัดแสดงมาแล้วกว่า 22 ประเทศทั่วโลก และประเทศไทยได้มีการนำเข้ามาจัดแสดงตั้งปี พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน ภายใต้ชื่อ “บทเรียนในความมืด” (Dialogue in The Dark) นิทรรศการที่จะทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญของประสาทสัมผัสส่วนต่างๆ ในร่างกาย เชิญร่วมชมนิทรรศการที่มองไม่เห็นได้แล้ววันนี้ ที่ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ชั้น 4 อาคารจัตุรัสจามจุรี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-160-5356

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ มูลนิธิ Behring Global Educational Foundation (BGEF) จัดการประกวดโครงงาน Global Natural History Day 2017– Thailand final ภายใต้หัวข้อ Scale of Nature : From Micro to Macro ระหว่างวันที่ 8 -10 มิถุนายน 2560 ณ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี เพื่อหวังปลูกฝังเยาวชนให้เกิดความตระหนักเห็นคุณค่าของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยทีมที่มีผลงานโดดเด่นจะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมประกวดชิงชัยกับเยาวชนจาก 13 ประเทศ ระหว่างวันที่ 19 - 25 กรกฎาคม 2559 ณ เมืองฉงซิ่ง ประเทศจีน

IMG 9912 800 533

8 มิถุนายน 2560 / ปทุมธานี – นายชนินทร วรรณวิจิตร ผู้อำนวยการสำนักโครงการพิเศษ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางธรรมชาติติดอันดับต้น ๆ ของโลก เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในโซนร้อนเหนือเส้นศูนย์สูตรเล็กน้อยและอยู่ติดทะเล จึงมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการแพร่พันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลายชนิดตลอดปี จากการได้เปรียบประเทศอื่น ๆ อพวช. จึงเห็นว่าเราควรสร้างความตระหนักให้กับเยาวชนได้เห็นคุณค่าและเกิดทัศนคติที่ดีในการร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป

IMG 9863 800 533

ดังนั้น องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จึงได้ร่วมกับ มูลนิธิ Behring Global Educational Foundation (BGEF) จัดการประกวดโครงงาน Global Natural History Day 2017 – Thailand final ภายใต้หัวข้อ Scale of Nature : From Micro to Macro เพื่อหวังปลูกฝังกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านธรรมชาติวิทยา อีกทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายให้กับเยาวชนอีกด้วย

IMG 9807 800 533

ทั้งนี้ มีเยาวชนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทั่วประเทศ ผ่านการคัดเลือกในรอบแรกจนมาถึงรอบสุดท้าย จำนวน 44 ทีม โดยจะทำการประกาศผลเพื่อคัดเลือกทีมที่มีผลงานดีที่สุด 8 ทีม ในวันที่ 10 มิถนายน นี้ เป็นตัวแทน ประเทศไทย เข้าร่วมการประกวดโครงงาน Global Natural History Day 2017 ซึ่งมีเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมถึง 13 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม พิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงค์โปร์ ฮ่องกง จีน แอฟริกาใต้ แทนซาเนีย สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 19 - 25 กรกฎาคม 2560 ณ เมืองฉงซิ่ง ประเทศจีน ต่อไป

IMG9910800533
IMG9905800450
IMG9875800450
IMG9811800533
IMG9808800533
IMG9803800533

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จับมือ Universcience ประเทศฝรั่งเศส เพื่อสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเยาวชนและประชาชนไทยร่วมกัน โดยมีนางกรรณิการ์ วงศ์ทองศิริ รองผู้อำนวยการรักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นผู้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับ Mr. Bruno Maquart ประธาน Universcience ในงานประชุมประจำปี European network of science centres and museums ณ ประเทศโปรตุเกส เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ที่ผ่านมา

โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 กับโครงงาน จากโลกของจุลินทรีย์ สู่โลกของปลวก เพื่อโลกของเรา (From the world of microbes, to the world of termites, for the world of humankind) ในการประกวดโครงงาน Global Natural History Day 2017 – Thailand final ภายใต้หัวข้อ Scale of Nature : From Micro to Macro อพวช. เตรียมส่งเป็นตัวแทนประเทศไทยร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ ณ เมืองฉงชิ่ง ประเทศจีน วันที่ 19 -25 กรกฎาคม 2560

IMG 9882 01 800 450

ประกาศผลเป็นที่เรียบร้อย สำหรับ โครงงาน Global Natural History Day 2017 (GNHD) – Thailand final ภายใต้หัวข้อ Scale of Nature : From Micro to Macro เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ที่ผ่านมา โดยทีมผู้ชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โดย ด.ช.ศิวกร ชาญชโลธร ด.ช.วศิน เธียรวุฒิ และ นายชนันท์ เกียรติสิริสาสน์ ภายใต้โครงงานเรื่อง จากโลกของจุลินทรีย์ สู่โลกของปลวก เพื่อโลกของเรา (From the world of microbes, to the world of termites, for the world of humankind) ซึ่งเป็นโครงงานที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์กับโลก โดยการนำจุลินทรีย์จากจอมและจาวปลวกไปช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน โดยการย่อยสลายอินทรียสารที่ยากต่อการย่อยสลายตามธรรมชาติ เช่น เซลลูโลส ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของขยะชีวภาพต่าง ๆ เช่น ตอซังข้าว อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนซึ่งมีสาเหตุมาจากการเผาตอซังข้าว

สำหรับรองชนะเลิศอันดับ 1 ตกเป็นของ โรงเรียนวารีเชียงใหม่ สมาชิกทีมได้แก่ ด.ญ.ณัฏฐณิชา วิจิตตปัญญารักษ์ ด.ญ.อาทิตยา ชิลด์ และ นางฉวีวรรณ อ้นโสภา ชื่อโครงงาน Dragonfly fly to the world บอกถึงประโยชน์ของการเลี้ยงแมลงปอซึ่งเป็นโครงงานที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตแมลงปอกับการสร้างประโยชน์ในการช่วยกำจัดศัตรูพืชแบบวิถีธรรมชาติ รวมถึงการกำจัดยุงและลูกน้ำ และรองชนะเลิศอันดับ 2 ตกเป็นของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สมาชิกทีมได้แก่ด.ช.พิวัฒน์ ศุภวิทยา ด.ช.ทัศณ์พล คุณวุฒิพร และ น.ส.วนิดา ภู่เอี่ยม ชื่อโครงงาน โลกปลาตีนคือโลกของเรา (The world of Mudskipper represents the World of Humankind) ศึกษาวิถีชีวิตปลาตีนตัวบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศป่าชายเลนเพื่อสร้างความตระหนักการอนุรักษ์ป่าชายเลน

IMG 0156 800 533

นอกจากนี้ยังมีรางวัลชมเชย 5 รางวัล ได้แก่ โรงเรียนสงวนหญิง ชื่อโครงงาน ไขความลับปริศนาธรรมชาติจากรอยแตกระแหงของดิน โรงเรียนราษีไศล ชื่อโครงงาน รังไข่มดแดง ห้องครัวแห่งธรรมชาติ (การศึกษาพฤติกรรมการทำรังของมดแดงสู่การทำรังเทียม) โรงเรียนสีคิ้วสวัสดิ์ผดุงวิทยา ชื่อโครงงาน การเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกป่าโดยใช้หยวกกล้วย โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารจังหวัดน่าน ชื่อโครงงาน การศึกษาพฤติกรรมของหญ้าเข็มนาฬิกา และโรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ ชื่อโครงงาน การศึกษาการพัฒนาของเมล็ดดาวกระจายไต้หวันที่ส่งผลต่อการแพร่กระจายตัวของเมล็ด

IMG 9865 800 533

นายชนินทร วรรณวิจิตร ผู้อำนวยการสำนักโครงการพิเศษ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวทิ้งท้ายว่า “ขอแสดงความยินดีกับเยาวชนที่ได้รับรางวัลทุกคน การที่ทุกทีมได้เข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้ถือว่าทุกทีมนั้นเป็นผู้ชนะอยู่แล้ว เพราะชนะความตั้งใจและการร่วมใจกันในทีมของตนได้ ลองผิด ลองถูก ทำการทดลอง วิเคราะห์ข้อมมูลมามากมาย กว่าจะมาเป็นโครงงานเพื่อนำเสนอในการประกวดในครั้งนี้ ขอให้ทุกคนเก็บเกี่ยวประสบการณ์ระหว่างการประกวดเพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดีต่อไปในอนาคต”

 

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย จากพระราชกรณียกิจที่ทรงใช้หลักวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของพสกนิกรทั่วแผ่นดินไทย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  จัดนิทรรศการวิทยาศาสตร์ในชื่อชุด “ศาสตร์พระราชา พัฒนาจากแผ่นฟ้าจรดแผ่นดิน” เพื่อนำเสนอพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” ซึ่งธนาคารฯ และอพวช. ได้ร่วมกันจัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ ๑๐ เพื่อส่งเสริมความรู้ให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยกำหนดจัดให้มีพิธีเปิดงาน ในวันอังคารที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๐๐ น. โดยมีนางสาวอารยา ภู่พานิช รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดกิจกรรมเพื่อสังคม ภาพลักษณ์ และสื่อสารองค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ (คนกลาง) และนายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) (คนที่ ๓ ซ้ายมือ) เป็นประธานในพิธีเปิด ณ พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่

IMG 9585 800 533

นางสาวอารยา ภู่พานิช รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดกิจกรรมเพื่อสังคม ภาพลักษณ์ และสื่อสารองค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จัดนิทรรศการวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ เป็นต้นมา สำหรับในปีนี้ กำหนดจัดขึ้นในชื่อชุด “ศาสตร์พระราชา พัฒนาจากแผ่นฟ้าจรดแผ่นดิน” เพื่อเป็นการถวายความอาลัย น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงเป็นพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลทรงใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขพสกนิกร ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ทรงพระราชดำริเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องดิน น้ำ ป่าไม้ พลังงาน ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ผู้เข้าชมงานโดยเฉพาะเยาวชนจะได้ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ และน้อมนำแนวพระราชดำริไปปฏิบัติ ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และอนุรักษ์ไว้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป นอกจากจะได้รับความรู้แล้ว ยังได้ความสนุกสนานเพลิดเพลินกับกิจกรรมภายในนิทรรศการ”

IMG 9636 800 533

IMG 9644 800 533

นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า “องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จัดนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์ในหลากหลายเรื่องราวที่สร้างสรรค์มาอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้เป็นปีที่ ๑๐ เพื่อให้ผู้เดินทางมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ได้เรียนรู้ และเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่แฝงอยู่รอบ ๆ ตัวเสมอ ในปีนี้เราได้น้อมรำลึกถึงพระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ โดยจัดแสดงถึงพระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของพระองค์ท่าน รวมทั้งกิจกรรมเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริอีกมากมายที่ได้สร้างประโยชน์แก่ปวงชนชาวไทยมาโดยตลอด อาทิ โครงการที่เกี่ยวกับการสื่อสารและนวัตกรรม น้ำ ดิน ป่าไม้ และพลังงาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เช่น กิจกรรมท่องโลกการเรียนรู้กับพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย กิจกรรม 3D Printing และกิจกรรมประดิษฐ์กังหันน้ำชัยพัฒนา โดยการจัดนิทรรศการและกิจกรรมในครั้งนี้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้เข้าชมจะได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านโครงการในพระราชดำริต่างๆ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ที่ทรงสร้างประโยชน์และความสุขให้ประชาชน และสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างจะมีคุณค่าอยู่ในใจของเราคนไทยตราบนานเท่านาน”

IMG 9627 800 533

IMG 9693 800 533

ภายในนิทรรศการนำเสนอ พระปรีชาสามารถ พระอัจฉริยภาพ และพระราชกรณียกิจด้านการสื่อสาร การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่าไม้ พลังงานทดแทน ที่ได้ทรงนำหลักการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้พัฒนาจนเกิดเป็นโครงการพระราชดำริมากมายนับพันโครงการ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของพสกนิกร เป็นต้น โดยจัดแสดงในรูปแบบบอร์ดนิทรรศการ ประกอบสื่อมัลติมีเดีย และชิ้นงานวิทยาศาสตร์ให้ผู้เข้าชมได้มีปฏิสัมพันธ์กับนิทรรศการ อาทิ ฟังพระสุรเสียง VR009 ผ่านเครือข่ายวิทยุสมัครเล่น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ร่วมปฏิบัติการสืบสานศาสตร์พระราชา ประดิษฐ์กังหันน้ำชัยพัฒนา รับของที่ระลึกที่จัดทำด้วยเทคโนโลยีทันสมัย 3D printing เช่น กล้องถ่ายภาพ, เรือใบ, สุนัขทรงเลี้ยง, แผนที่ประเทศไทย เป็นต้น รวมทั้งกิจกรรม Science walk rally หาคำตอบจากนิทรรศการ ส่งเสริมการเรียนรู้และการทำงานเป็นทีม

IMG 9687 800 533

นิทรรศการ “ศาสตร์พระราชา พัฒนาจากแผ่นฟ้าจรดแผ่นดิน” จัดแสดงตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๓๐-๑๗.๐๐ น. เว้นวันหยุดธนาคาร ณ พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐-๒๕๔๔-๓๘๕๘

IMG9727800533
IMG9673800533
IMG9655800533
IMG9648800533
IMG9631800533
IMG9623800533
IMG9601800533
IMG9560800533
IMG9539800533
IMG9543400600

 

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จัดนิทรรศการวิทยาศาสตร์ในชื่อชุด “ศาสตร์พระราชา พัฒนาจากแผ่นฟ้าจรดแผ่นดิน” เพื่อนำเสนอพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” ซึ่งธนาคารฯ และอพวช. ได้ร่วมกันจัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ ๑๐ เพื่อส่งเสริมความรู้ให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยจากเดิมจัดแสดงถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2560 เนื่องจากได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้เข้าชมจำนวนมาก จึงขยายเวลาจัดแสดงถึง วันที่ 14 กรกฏาคม 2560 

IMG 9536 1600 1067 800 534

ซึ่งภายในนิทรรศการจะนำเสนอ พระปรีชาสามารถ พระอัจฉริยภาพ และพระราชกรณียกิจด้านการสื่อสาร การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่าไม้ พลังงานทดแทน ที่ได้ทรงนำหลักการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้พัฒนาจนเกิดเป็นโครงการพระราชดำริมากมายนับพันโครงการ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของพสกนิกร เป็นต้น โดยจัดแสดงในรูปแบบบอร์ดนิทรรศการ ประกอบสื่อมัลติมีเดีย และชิ้นงานวิทยาศาสตร์ให้ผู้เข้าชมได้มีปฏิสัมพันธ์กับนิทรรศการ อาทิ ฟังพระสุรเสียง VR009 ผ่านเครือข่ายวิทยุสมัครเล่น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ร่วมปฏิบัติการสืบสานศาสตร์พระราชา ประดิษฐ์กังหันน้ำชัยพัฒนา พร้อมรับของที่ระลึกที่จัดทำด้วยเทคโนโลยีทันสมัย 3D printing เช่น กล้องถ่ายภาพ, เรือใบ, สุนัขทรงเลี้ยง, แผนที่ประเทศไทย เป็นต้น รวมทั้งกิจกรรม Science walk rally หาคำตอบจากนิทรรศการ ส่งเสริมการเรียนรู้และการทำงานเป็นทีม เป็นต้น

IMG 9627 800 533

โดยนิทรรศการ “ศาสตร์พระราชา พัฒนาจากแผ่นฟ้าจรดแผ่นดิน” จะเปิดให้เข้าชมในเวลา 09.30-17.00 น. เว้นวันหยุดธนาคาร ณ พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2544-3858

 
 
 

พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Museum - ITM) ภายใต้การดูแลของ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงาน “เปิดบ้านสารสนเทศ” (Open House ITM) เพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับสังคม พร้อมเพิ่มเติมทักษะในการใช้งานเทคโนโลยีต่าง ๆ รอบตัวเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยรวบรวมนิทรรศการ กิจกรรมยอดนิยม พร้อมเปิดเสวนาเกี่ยวกับการรวบรวมคอลเลคชั่นไอที 4 หัวข้อ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญการอนุรักษ์และสะสมด้านไอทีอย่างมีหลักการ พิเศษเยาวชนและนักศึกษาร่วมกิจกรรมฟรี ตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน – 23 กรกฏาคม 2560 ณ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี


14 มิ.ย. 60 / ปทุมธานี – นางกรรณิการ์ วงศ์ทองศิริ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติกล่าวว่า “ปัจจุบันเทคโนโลยสารสนเทศ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเรามากขึ้น จนกลายเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา เช่น การดูโทรทัศน์เพื่อรับทราบข่าวสารและความบันเทิง รวมไปถึงการใช้การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนตในการสื่อสาร ในการทำงาน จองตั๋วเครื่องบิน เบิกถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม เป็นต้น ดังนั้น เราควรรู้เท่าทันเทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการสร้างค่านิยมที่ถูกและตระหนักรับรู้ถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการดำเนินชีวิตมนุษย์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน”


          อพวช. โดยพิพิธภัณฑ์เทคโลยีสารสนเทศ จึงจัดกิจกรรมเปิดบ้านสารสนเทศ (Open House ITM) เพื่อเผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสานสนเทศ ผ่านนิทรรศการเทคโนโลยีสารสนเทศที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นการเรียนรู้แบบ Interactive ที่ผู้ชมได้มีส่วนร่วม โดยแบ่งออกเป็น 7 โซน ได้แก่ โซนการสื่อสารยุคโบราณ โซนการสื่อสารยุคใหม่ โซนการคำนวณ โซนคอมพิวเตอร์ และ IT Application นิทรรศการมหัศจรรย์แสงแห่งไอที สนุกกับการเล่นชิ้นงาน Laser Maze พร้อมเรียนรู้เรื่องราวของเทคโนโลยีแสงที่มีความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านไอทีกับชิ้นงาน และนิทรรศการ Inside Communication นิทรรศการชั่วคราวชุดแรกก่อนเปิดให้บริการพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้เรื่องหลักการต่าง ๆ ของการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน

8 2600x1735 800x534

นอกจากนี้ ยังมีการจัดซุ้มกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่ได้รับความนิยมจากผู้เข้าชมอีกกว่า 12 ซุ้มกิจกรรม ประกอบด้วย ลานกิจกรรมสารสนเทศ กิจกรรมที่ได้ลงมือทำชิ้นงานและของเล่นไอทีอย่างง่าย ๆ ในเวลาสั้น ๆ กิจกรรม Silk Screen ทำมือ ศึกษาประวัติความเป็นมาของงานสกรีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในวิวัฒนาการเทคโนโลยีการพิมพ์ตั้งแต่อดีตมา และเรียนรู้กระบวนการสกรีนผ้าด้วยการลงมือทำเอง กิจกรรม Math Maker กิจกรรมประดิษฐ์ชิ้นงานนวัตกรรมทางคณิตศาสตร์หรือของเล่นทางคณิตศาสตร์ที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันด้วยตนเอง โดยใช้แนวคิดทางคณิตศาสตร์ผสมกับจินตนาการ และการบูรณาการองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ อย่าง STEM มาเป็นหลักการสำคัญในการประดิษฐ์ชิ้นงานหรือของเล่นนั้น ๆ กิจกรรม Lab IT ตอน Film Lab (เก็บแสงลงกระดาษ) เรียนรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพเบื้องต้น และสัมผัสกับกระบวนการสร้างภาพ จากกล้องประเภทต่างๆ และทดลองอัดภาพในห้องมืด กิจกรรม นักสร้างเรื่องตัวน้อย (The Story by Stop Motion) เรียนรู้การออกแบบและกระบวนการสร้าง Media ในรูปแบบของ Animation ด้วย Stop Motion ที่กำลังนิยมกันมากในปัจจุบัน โดยการลงมือทำจริงกับอุปกรณ์จริง กิจกรรม IT Workshop พัฒนาระบบการคิดอย่างมีระบบ และฝึกการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาอย่างสนุก กิจกรรม สุดยอดหุ่นยนต์ขนของ Relay Robot รู้จักกับโครงสร้างและกลไกลในการควบคุมของหุ่นยนต์ขนของแบบบังคับมือ พร้อมทั้งลงมือออกแบบ สร้างมือจับให้กับหุ่นยนต์เพื่อเอาชนะภารกิจขนของที่แสนท้าทาย กิจกรรม IT Retro ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ถ่ายภาพร่วมกับวัตถุตัวอย่างของพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีความสำคัญของประเทศไทย พร้อมทั้งเรียนรู้เรื่องราว ที่มา และเรื่องเล่าที่น่าสนใจของวัสดุตัวอย่างด้านไอที กิจกรรมเช็คอิน กับ คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของประเทศไทย เรียนรู้กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นวัสดุตัวอย่างที่ทรงคุณค่าและมีเรื่องราวที่น่าสนใจ กิจกรรม แชะ แชร์ ไอที กิจกรรมกดเช็คอินแลกรับของรางวัลที่ระลึก พร้อมทั้งแชร์เรื่องราวข้อมูลข่าวสารด้านไอทีผ่านสื่อออนไลน์ได้อย่างสร้างสรรค์ กิจกรรม IT Learning Program for School กิจกรรมที่เน้นให้ครูสามารถเกิดมุมมองต่อยอดใช้พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับนักเรียนด้านไอทีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกิจกรรมเปิดชมห้องสตูดิโอ เยาวชนจะได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับกระบวนการผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์ ด้วยการทดลองและสัมผัสกับอุปกรณ์จริง ตามกระบวนการเรียนรู้แบบ Learning by doing โดยเปิดบริการนำชม 2 รอบต่อวัน

19113771 1346195012082847 8298563385356785410 n

        พิเศษกับการจัดเสวนาเกี่ยวกับการสะสมอนุรักษ์ Collection ด้านไอที โดย อพวช. ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ถึง 4 ท่าน กับการเสวนาถึง 4 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ วันพุธที่ 21 มิถุนายน 2560 หัวข้อ “ของสะสมมีเรื่องราว ไอทีมีเรื่องเล่า ครั้งที่ 1” โดย อาจารย์อเนก นาวิกมูล นักวิชาการ นักเขียนสารคดี และผู้ก่อตั้งบ้านพิพิธภัณฑ์ ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราววิวัฒนาการเทคโนโลยีสารสนเทศ และเรียนรู้รากฐานของเทคโนโลยีต้นแบบก่อนเข้าสู่ยุคดิจิตอลในปัจจุบัน พร้อมกับสร้างแรงบันดาลใจ และคุณค่าในการเก็บสะสมของเก่าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม 2560 หัวข้อ “การเป็นนักอนุรักษ์ที่ดี ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตอน หมอกระดาษ” โดย คุณพวงพร ศรีสมบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กรมศิลปากร พบกับ “หมอกระดาษ” ที่จะมาเผยวิธีการรักษา ซ่อมแซม คงคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศวัสดุประเภทกระดาษ โดยใช้วิธีทางพิพิธภัณฑสถานวิทยาโบราณคดีและวิทยาศาสตร์ เพื่อเตรียมตัวและเตรียมความพร้อมเป็นนักอนุรักษ์ที่ดี วันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม 2560 “การเป็นนักอนุรักษ์ที่ดี ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตอน ฟิล์ม” โดย คุณพวงพร ศรีสมบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กรมศิลปากร เรียนรู้การดูแล รักษา ทรัพยากรสารสนเทศวัสดุประเภท“ฟิล์ม” ด้วย กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเตรียมตัวและเตรียมความพร้อมเป็นนักอนุรักษ์ที่ดี และวันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม 2560 หัวข้อ “ของสะสมมีเรื่องราว ไอทีมีเรื่องเล่า ครั้งที่ ๒” โดย คุณสุพจน์ ทางเณร นักสะสมของเก่า พบกับนักสะสมแผ่นเสียง ที่จะเผยแรงบันดาลใจ ในการเป็นนักสะสมของเก่า และเรียนรู้เรื่องราววิวัฒนาการแผ่นเสียงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

15 2600x1733 800x533

       ยิ่งไปกว่านั้นยังมีกิจกรรมเสริมศึกษา สำหรับสร้างสีสัน ภายในงานที่จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาสร้างความบันเทิงตลอดทั้งวันกับกิจกรรมเวทีกลาง และเอาใจคนรักหนังกับห้องฉายภาพยนตร์และรายการวิทยาศาสตร์ด้านไอที โดยทุกกิจกรรม อพวช. เปิดให้เยาวชนและนักศึกษาร่วมกิจกรรมฟรี ตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน – 23 กรกฏาคม 2560 ณ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี สอบถามข้อมูลโทร. 0 2577 9999 ต่อ 2122, 2123 

 

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา จัดกิจกรรมต้อนรับเปิดเทอม ในงาน Open House พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา เพื่อเฉลิมฉลองเดือนแห่งวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) และวันทะเลโลก (World Ocean Day) จัดเต็มนิทรรศการ และกิจกรรมด้านธรรมชาติ ในชื่อ “สวนกระดูกสุดหรรษา : Skeleton Park” เพื่อให้ผู้ชมได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์โครงสร้างของสิ่งมีชีวิต และตระหนักด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เริ่ม 3 – 30 มิถุนายน 2560 นี้

07 800 533

08 800 533

นางกรรณิการ์ วงศ์ทองศิริ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า “เนื่องด้วยองค์การสหประชาชาติ กำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) และวันที่ 8 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันทะเลโลก (World Ocean Day) โดยมีขึ้นเพื่อต้องการให้ประชาชนทุกคนเกิดความตระหนักในด้านวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม และต้องการกระตุ้นให้ทุกคนหันมาใส่ใจร่วมกันอนุรักษ์ท้องทะเล รวมถึงการรู้จักดูแลรักษาและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า อพวช. โดยพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ถือโอกาสในการจัดงาน Open House เปิดบ้านจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมด้านธรรมชาติ ในชื่อ “สวนกระดูกสุดหรรษา : Skeleton Park” เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวันสิ่งแวดล้อมโลก และวันทะเลโลกในเดือนมิถุนายนปีนี้ เพื่อให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์โครงสร้างของสิ่งมีชีวิต และตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กิจกรรมที่จัดขึ้นจะช่วยกระตุ้นให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปในสังคมหันมาสนใจวิทยาศาสตร์ด้านธรรมชาติวิทยา ได้เรียนรู้และเข้าใจความสำคัญของสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืนต่อไปในอนาคต”

04 2 800 491

03 800 533

02 800 533

ทั้งนี้ในงานดังกล่าว ฯ จะได้พบกับนิทรรศการ Skeleton Fun Fact ที่จะพาคุณไปเรียนรู้เรื่องราวระบบโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต ยังมีการจัดกิจกรรมมากมาย อาทิเช่น กิจกรรม Research show by naturalist พบกับนักธรรมชาติวิทยา และสาระน่ารู้เกี่ยวกับระบบโครงร่างค้ำจุนของสิ่งมีชีวิต พร้อมตื่นตา ตื่นใจกับตัวอย่างสิ่งมีชีวิตมากมาย , กิจกรรม Skeleton Demo สาธิตเกี่ยวกับเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจของกระดูกสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ เช่น กระดูกไดโนเสาร์ กระดูกปลา กระดูกนก เป็นต้น , กิจกรรม Walk Rally : Skeleton Fun Park เป็นกิจกรรม 4 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ ประกอบร่างสัตว์ ขุดค้นหาโครงกระดูก จำแนกแยกแยะหากระดูก และตัวต่อโครงกระดูก , กิจกรรมสาธิตสบู่ไดโน : Dino egg fossil พบกับการสาธิตการทำสบู่ไข่ไดโนเสาร์ , กิจกรรม Hand on กระดูกของฉัน ชวนมาประดิษฐ์การ์ด เรียนรู้โครงสร้างค้ำจุนของสิ่งมีชีวิต เป็นต้น

05 800 533

06 800 533

โดยงาน “สวนกระดูกสุดหรรษา : Skeleton Park” จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 3 – 30 มิถุนายน นี้ ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เปิดให้บริการทุกวันอังคาร – ศุกร์ เวลา 09.30 -16.00 น. วันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุด นักขัตฤกษ์ เวลา 09.30 -17.00 น. (หยุดทุกวันจันทร์) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักพัฒนาธุรกิจและการตลาด โทร 0-2577-9999 ต่อ 2122 , 2123

 
กรอกอีเมลเพื่อติดตามข่าวสาร