th th
en

26/07/60 – Chevron Enjoy Science เปิดตัวโครงการ Enjoy Science : Young Makers Contest ปี 2 นำทีมโดย นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด (คนที่ 1 ซ้ายมือ) นางกรรณิการ์ วงศ์ทองศิริ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (คนที่ 2 ซ้ายมือ) นางกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (คนที่ 3 ขวามือ) และ ดร.มงคลชัย  สมอุดร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (คนที่ 4 ขวามือ) ผนึกกำลัง จัดโครงการดีๆ เพื่อเชิญชวนนักเมกเกอร์หรือนักสร้างสรรค์นวัตกรรมรุ่นใหม่ ในระดับนักเรียน-นักศึกษาสายสามัญและอาชีวศึกษา ร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในชุมชน ชิงรางวัลใหญ่ทริปร่วมงาน Maker Faire Bay Area มหกรรมแสดงสิ่งประดิษฐ์ของเหล่าเมกเกอร์ ณ เมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา และรางวัลอื่นๆ รวมมูลค่ากว่า 1.2 ล้านบาท

IMG8662800x533
IMG8659800x533
IMG8660800x533
IMG8651800x533
IMG8654800x533
IMG8633800x533
IMG8634800x533
1501468919272800x450-1
IMG8620800x533
IMG8612800x533

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นเจ้าภาพจัด “การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 3” (The 3rd ASEAN Student Science Project Competition) เวทีการประกวดทางวิทยาศาสตร์ระดับสากล ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียนมาร่วมแข่งขันและแสดงผลงาน ระหว่างวันที่ 23 – 27 กรกฎาคม นี้ ณ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

2

23 กรกฎาคม 2560 – ปทุมธานี/ ดร.อภิญาณ์ หทัยธรรม รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า "วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ และเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีคุณภาพ และ ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะให้ความสำคัญต่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก โดยปลูกฝังให้ประชากรของชาติมีความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญ โดย อพวช. และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กำหนดจัดกิจกรรม ค่ายประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียนขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ในชื่อกิจกรรม The 3rd ASEAN Student Science Project Competition, ASPC 2017 โดยความมุ่งหวังที่จะเปิดโอกาสให้เยาวชนในกลุ่มอาเซียนได้มีเวทีประกวดโครงงานด้านวิทยาศาสตร์ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เทียบเท่างานประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์ในระดับโลก กิจกรรมนี้ยังส่งเสริมให้เยาวชนอาเซียนได้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สร้างสรรค์แนวคิดด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่สามารถนำไปบูรณาการแก้ไขปัญหาได้ในชีวิตประจำวัน ในประเทศของตน ตลอดจนในภูมิภาคอาเซียนได้"

3

4

โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 – 6 ที่ได้รับการคัดเลือกจากแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียนได้นำโครงงานวิทยาศาสตร์มาร่วมการประกวดครั้งนี้ ในปีนี้ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ส่งเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม โดยมีเยาวชนและครูวิทยาศาสตร์เข้าร่วมกิจกรรม รวม 96 คน จาก 7 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ลาว และไทย โดยการประกวดจะแบ่งออกเป็น 3 สาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งหวังว่าเยาวชนทุกคนที่เข้าร่วมการประกวดครั้งนี้ โดยเฉพาะเยาวชนไทยจะได้รับโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับนานาชาติ เพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

5

นางกรรณิการ์ เฉิน ผู้แทนจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์กล่าวเสริมว่า “นอกจากเยาวชนของอาเซียนจะได้นำผลงานวิทยาศาสตร์มาร่วมประกวดแล้ว พวกเขายังได้มาร่วมใช้ชีวิตในรูปแบบกิจกรรมค่ายกันที่ อพวช. ที่เปิดโอกาสให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน พร้อมมีกิจกรรมและการบรรยายต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้จากนักวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้าของไทย นอกจากนี้ ยังมีการแสดงที่จะสร้างความประทับใจซึ่งสอดแทรกวัฒนธรรมไทย ตลอดจนการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้และสถานที่สำคัญต่าง ๆ ของไทย ซึ่งเราเชื่อว่ากิจกรรมทั้งหมดนี้จะสามารถสร้างแรงบันดาลใจและจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์ให้เยาวชนอาเซียน และสร้างเครือข่ายเยาวชนด้านวิทยาศาสตร์ให้กับภูมิภาคนี้ได้ต่อไป"

6

7

การประกวดโครงงานดังกล่าว ฯ จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 23 - 27 กรกฎาคม 2560 พร้อมลุ้นผลการประกาศรางวัล ได้ในวันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม นี้ ณ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

 

แถลงข่าว – คุณกรรณิการ์ วงศ์ทองศิริ (คนที่ 3 ขวามือ) รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วยนายเขมทัตต์ พลเดช (คนที่ 2 ขวามือ) กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) คุณจาฤก กัลย์จาฤก (คนขวามือ) ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) แถลงข่าวเปิดตัวรายการ “เก่งวิทย์ พิชิตล้าน” นำเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์มาเป็นเกมส์การแข่งขันตอบคำถาม โดยมีทีมจาก 40 โรงเรียน มาแข่งขันประลองความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ชิงเงินรางวัลสูงสุดกว่า 1 ล้านบาท

ผู้ชมที่สนใจเกมสนุก ๆ พร้อมให้ความรู้วิทยาศาสตร์ที่ท้าทาย สามารถติดตามชมรายการ “เก่งวิทย์ พิชิตล้าน” ทางช่อง 9 MCOT HD หมายเลข 30 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 15.00น.-16.00 น. เริ่มออกอากาศตอนแรก วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคมนี้

รายละเอียดกิจกรรม "The Research Show by Naturalist" ประจำเดือนสิงหาคม 2560

พบกับนักธรรมชาติวิทยาด้านปลา

27 Splashing Fins Nat.Nai Aug17 424 600

วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม 2560
ในตอน Spashing Fins : สะบัดครีบ ตะลุยคลื่น
โดย Nat.นาย (ดร.วีระ วิลาศรี)


พบกับนักธรรมชาติวิทยาพืช

28 Root for Life Nat.Shay Aug17 424 600

วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม 2560
ในตอน Root for Life : รากคือชีวิต (พืช)
โดย Nat.ชาย (ดร.ภานุมาศ จันทร์สุวรรณ)


กิจกรรม "The Research Show by Naturalist" จัดกิจกรรมในเวลา 13.30 - 14.30 น. ณ ห้องการแสดงทางวิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา รับจำนวน 60 คน ต่อรอบ

สนใจสำรองที่นั่งได้ที่ Facebook : พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา


***หมายเหตุ กิจกรรมนี้สำหรับผู้เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเท่านั้น***

 
Read 299 times
 
 
 

 

 

 องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กำหนดจัดกิจกรรมการประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) ในระดับประถมศึกษา (ป.4-ป.6) และมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1- ม.3) ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนศูนย์ภาคกลาง ประจำปี 2560 โดยจัดประกวดในห้อข้อ “มหัศจรรย์วิทยาศาสตร์” และคัดเลือกทีมตัวแทนนักเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดของศูนย์ภาคกลาง เพื่อไปประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ในระดับประเทศต่อไป จึงขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมชมการประกวด ดังกล่าวฯ ในระหว่างวันที่ 25 – 27 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องการแสดงทางวิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2577 9999 ต่อ 1450 , 2109

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.)ร่วมกับโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ในสังกัดกองทัพอากาศ ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LESA) ภายใต้การสนับสนุนของกองทัพอากาศ และองค์การสำรวจอวกาศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JAXA) แถลงข่าวเปิดตัวการแข่งขัน “CanSat Thailand 2017” หรือ “ดาวเทียมกระป๋อง” ครั้งแรกของประเทศไทย หวังสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในการเรียนรู้เทคโนโลยีอวกาศและเทคโนโลยีดาวเทียม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับประเทศต่อไป

IMG 9736 400x600\

5 กรกฏาคม 2560/ กรุงเทพฯ – พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวว่า CanSat หรือ “ดาวเทียมกระป๋อง” เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จำลองการทำงานของดาวเทียมที่มีขนาดเล็กเท่ากระป๋องน้ำอัดลม เป็นโครงการอวกาศขนาดเล็กที่มุ่งเน้นการปฎิบัติจริง เพื่อใช้ในการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านอวกาศ โดย CanSat จะถูกปล่อยจากแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น เครื่องบิน จรวด หรือบอลลูน ในระหว่างที่กางร่มชูชีพร่อนลงมา CanSat จะปฏิบัติภารกิจทางวิทยาศาสตร์ที่กำหนดไว้ ก่อนที่จะตกถึงพื้นดิน ซึ่ง CanSat จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในหลายด้าน เช่น การออกแบบดาวเทียม การกำหนดภารกิจ การสร้างและประกอบดาวเทียม การทดสอบ การเตรียมตัวปล่อยขึ้นสู่อวกาศ และการวิเคราะห์ปัญหา เป็นต้น

IMG 9749 400x600

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า CanSat หรือ “ดาวเทียมกระป๋อง” เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในการเรียนรู้เทคโนโลยีอวกาศ และเทคโนโลยีดาวเทียมได้โดยง่าย โดยบูรณาการการทำงานของหน่วยงานในสังกัด ได้แก่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ที่มีภารกิจด้านการสร้างความตระหนักและแรงบันดาลใจด้านวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่มีภารกิจในการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้กับประเทศ และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) ที่มีภารกิจในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนร่วมมือกับโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ในสังกัดกองทัพอากาศ และศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LESA) ภายใต้การสนับสนุนของกองทัพอากาศ รวมไปถึงองค์การสำรวจอวกาศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JAXA) หน่วยงานสำคัญระดับแนวหน้าของประเทศญี่ปุ่น เพื่อผนึกกำลังกันสร้างให้กิจกรรมนี้มีความยิ่งใหญ่ และดึงดูดให้เยาวชนสนใจที่จะเข้ามาร่วมกิจกรรม ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ให้กับประเทศ

          CanSat ยังถือเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่อธิบายการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาได้อย่างชัดเจน เนื่องจากผู้เล่นต้องบูรณาการความรู้ทั้ง 4 ศาสตร์ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) มาใช้ในการประดิษฐ์และแก้ปัญหาโดยไม่แยกส่วนหรือแยกศาสตร์ เป็นการเรียนรู้แบบไม่เน้นท่องจำทฤษฎีหรือกฎทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม แก้ปัญหา หาข้อมูล วิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ ๆ ด้วยตนเอง และยังสามารถเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ ทั้งสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปศาสตร์ เพื่อนำไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวัน รวมทั้งนำไปพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานได้


          “กล่าวได้ว่า กิจกรรม CanSat เป็นหนึ่งในแผนงานการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเริ่มจากการจุดประกายความสนใจและสร้างแรงบันดาลใจด้วยกิจกรรมการแข่งขันที่สนุกสนาน พร้อมกับการได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านอวกาศและดาวเทียม เพื่อนำไปสู่ความต้องการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นไปหรือเกิดการนำไปพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับประเทศต่อไป” รมว.วท. กล่าวในที่สุด

IMG 9726 800x533

  

Mr. Masanobu TSUJI Director of JAXA Bangkok Office กล่าวว่า องค์การสำรวจอวกาศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JAXA) มีการประชุมเครือข่ายองค์กรเทคโนโลยีทางอวกาศเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Regional Space Agency Forum) APRSAF เป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาโครงการด้านอวกาศและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือด้านกิจกรรมอวกาศของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งในการประชุมนั้นจะมีการจัดกิจกรรมสำหรับเยาวชนเพื่อปลูกฝังความตระหนักด้านเทคโนโลยีอวกาศ เช่น การแข่งขันจรวดขวดน้ำนานาชาติ APRSAF ซึ่งมี อพวช. เป็นผู้รับผิดชอบคัดเลือกตัวแทนเยาวชนไทยเข้าร่วมการแข่งขัน และกิจกรรมการประกวดภาพด้านอวกาศ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ สทอภ. ในการคัดเลือกเยาวชนเข้าร่วมในระดับนานาชาติ ในส่วนของกิจกรรมการแข่งขัน CanSat นั้น APRSAF เริ่มต้นจัดให้มีการแข่งขันเป็นครั้งแรกในปีที่ผ่านมา ซึ่งหากกลุ่ม APRSAF จะมีการจัดการแข่งขันในอนาคตขึ้นอีกครั้ง เชื่อว่าประเทศไทยมีศักยภาพเพียงพอในการส่งเยาวชนเข้าแข่งขันในระดับนานาชาติต่อไปอย่างแน่นอน


          ด้าน พลอากาศเอก จอม ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้ง 2 หน่วยงานของกองทัพอากาศ ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LESA) และโรงเรียนในเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช มีความพร้อมด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทางอากาศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จากการจัดอบรมให้กับเยาวชนโรงเรียนเครือข่ายมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีพื้นที่ขนาดใหญ่และโล่งเหมาะสมในการจัดแข่งขันอีกด้วย

LESA Sat 450x600

การแข่งขัน “CanSat Thailand 2017” เปิดรับสมัครเยาวชนที่สนใจเข้าร่วมแข่งขัน ตั้งแต่วันนี้ - 15 กรกฎาคม 2560 โดยคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครเข้ารอบจำนวน 5 ทีม เพื่อเข้าอบรมพัฒนาฝีมือเพิ่มเติม ณ อพวช. ตำบลคลองห้า จังหวัดปทุมธานี ก่อนจะทำการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในวันที่ 28 ตุลาคม 2560 ที่ โรงเรียน นายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ต่อไป ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม Website : www.nsm.or.th, www.nstda.or.th/cansat และ Facebook : Thai Space Education โทร 0 2577 9999 ต่อ 1411-1416

IMG9901800x533
IMG9963800x533
IMG9817800x533
IMG9766800x533
IMG9749400x600
IMG9736400x600
IMG9726800x533
IMG9688800x534
IMG0073800x533
IMG9817800x533

 

27 กรกฎาคม 2560/ ปทุมธานี – เด็กไทยนำผลงาน“เซนเซอร์ตรวจวัณโรคดื้อยาให้รวดเร็วขึ้น” คว้าที่ 1 ในการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 3 (The 3rd ASEAN Student Science Project Competition)(ASPC 2017) ที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ณ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

IMG 2375 800 533

ดร.อภิญาณ์ หทัยธรรม รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)เปิดเผยว่า “การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เป็นปีที่ 3 โดยการผนึกกำลังของ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อให้เป็นเวทีการประกวดโครงงานทางวิทยาศาสตร์ระดับภูมิภาค ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 – 27 กรกฎาคม 2560 ณ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งในปีนี้มีเยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 – 6 หรือเทียบเท่า จาก 7 ประเทศ ประกอบไปด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ลาว และไทย  มานำเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ รวม 96  ทั้งหมด 35 โครงงาน โดยการประกวดจะแบ่งออกเป็น 3 สาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ "

IMG 2477 800 533

ผลปรากฏว่านายภานุวัฒน์ ชุติเชษฐพงศ์ จากโรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี สามารถคว้ารางวัลที่ 1 ในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จาก “โครงงานเซนเซอร์ตรวจวัณโรคดื้อยาให้รวดเร็วขึ้น” (A Novel Method to Rapidly Diagnose Multi-drug Resistant Tuberculosis) ”  โดยนายภานุวัฒน์ ชุติเชษฐพงศ์ ได้กล่าวถึงโครงงานนี้ว่า “ปัจจุบันการตรวจวัณโรคดื้อยานั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อจำเป็นต่อการจ่ายยาให้กับผู้ป่วยได้ถูกต้องเพื่อจะทำการรักษาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันการตรวจหาเชื้อวัณโรคดื้อยาค่อนข้างใช้เวลานานมาก เพราะต้องรอการเจริญเติบโตของเชื้อดื้อยา ตนจึงสร้างเซนเซอร์วัดการเปลี่ยนแปลงของความเข้มข้นของโปรตีนที่เชื้อวัณโรคได้ขับออกมา โดยสามารถรู้ว่าดื้อยาชนิดไหน และจำเป็นต้องรักษาด้วยยาประเภทใด เพื่อการรักษาที่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

ASPC 2017 Project of the Year from Singapore 800 533

ในส่วนของรางวัล โครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนอาเซียนแห่งปี ตกเป็นของ นายเฉา จุน เซียน,ไบรอัน จากประเทศสิงคโปร์ ในโครงงานชื่อ “การพัฒนา Glycan array แบบธรรมชาติที่ทำงานร่วมกับการวิเคราะห์ Mass spectrometry ที่มีการรับรู้ที่สูงขึ้น” (Development of a Natural Glycan Array Compatible With High Sensitivity Mass Spectrometry Analysis) และยังคว้าที่ 1 ในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพมาครองอีกหนึ่งรางวัล

IMG 2456 800 533

ส่วนในสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ รางวัลชนะเลิศเป็นของประเทศอินโดนีเซีย ในชื่อโครงงาน “การผลิตไฟฟ้าด้วยการใช้แบคทีเรียสลายโพลิเอทิลีนในขยะถุงพลาสติก” (Generation of Electricity from Polyethylene using a Microbial Fuel Cell) เจ้าของผลงาน โดยนางสาวแองเจอริก้า เกรซ อินทาน


ดร.อภิญาณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “จากการที่เยาวชนไทยได้รับรางวัลจากโครงการนี้ ถือเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในเวทีระดับอาเซียน อพวช. และทางสมาคมวิทย์ฯ มุ่งหวังที่จะให้เยาวชนไทยได้มีเวทีสร้างผลงานการประกวดโครงงานด้านวิทยาศาสตร์ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งกิจกรรมนี้ยังส่งเสริมให้เยาวชนอาเซียนได้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สร้างสรรค์แนวคิดด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่สามารถนำไปบูรณาการแก้ไขปัญหาได้ในชีวิตประจำวัน ในประเทศของตน ตลอดจนในภูมิภาคอาเซียนได้อีกด้วย”

PSPC2017104800533-1
PSPC2017095800533
PSPC2017078800533-1
IMG2482800533
IMG2480800533
IMG2468800533
IMG2465800533
IMG2462800533
IMG2451800533
IMG2431800533

เด็กไทยคว้ารางวัลโครงการวิทยาศาสตร์ โดยมีทีมเยาวชนจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยลัยขอนแก่น (มอดินแดง) จ.ขอนแก่น และโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ คว้า 1 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน และ 3 เหรียญทองแดง จากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์จากเวที "The 6th ASEAN Plus three Junior Science Odyssey (APTJSO)"เมื่อวันที่ 10 -15 กรกฏาคม 2560 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ซึ่งมี 13 ประเทศเข้าร่วมแข่งขัน ประกอบด้วยประเทศไทย กัมพูชา ลาว เนการาบรูไนดารุสซาลาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ จีน ไทเป สวีเดน พม่า และเวียดนาม

รายละเอียดกิจกรรม "The Research Show by Naturalist" ประจำเดือนกรกฎาคม 2560

พบกับนักธรรมชาติวิทยาด้านสตั๊ฟฟ์สัตว์

24 A Journey After the End Nat.NoiWan 424 600


วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม 2560
ในตอน A Journey After the End : ร่างเก่า หัวใจใหม่
โดย Nat.หน่อย (วันชัย สุขเกษม)

พบกับนักธรรมชาติวิทยาด้านนก

25 Identity of Beaks Nat.Boy 424 600

วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม 2560
ในตอน Identity (Bird) Beak : ปาก (นก) เล่าเรื่อง
โดย Nat.บอย (ยุทธพงษ์ รัศมี)

พบกับนักธรรมชาติวิทยาด้านปลาน้ำจืด

26 Water Splasher Nat.Jum 424 600


วันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม 2560
ในตอน Water Splasher : สายธารที่สาดซัด
โดย Nat.จุ๋ม (จันทรัสม์ โพธิ์สมบัติ)

กิจกรรม "The Research Show by Naturalist" จัดกิจกรรมในเวลา 13.30 - 14.30 น. ณ ห้องการแสดงทางวิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา รับจำนวน 60 คน ต่อรอบ

สนใจสำรองที่นั่งได้ที่ Facebook : พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา


***หมายเหตุ กิจกรรมนี้สำหรับผู้เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเท่านั้น***

25 กรกฎาคม 2560 – ปทุมธานี / เด็กไทยสร้างชื่อ คว้า 3 เหรียญทอง 4 เหรียญเงิน และ 1 เหรียญทองแดง จากการประกวดโครงงานด้านธรรมชาติวิทยาบนเวที Global Natural History Day 2017 ซึ่งมีเยาวชนเข้าร่วมแข่งขันถึง 220 คน จาก 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม มาเลเซีย แอฟริกาใต้ แทนซาเนีย สหรัฐอเมริกา และจีน เมื่อวันที่ 19 - 25 กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา ณ เมืองฉงชิ่ง ประเทศจีน

DSC 0740 1761x2400

นายชนินทร วรรณวิจิตร ผู้อำนวยการสำนักโครงการพิเศษ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า “การนำเยาวชนเข้าร่วมประกวดโครงงานด้านธรรมชาติวิทยาระดับนานาชาติ Global Natural History Day 2017 โดยความร่วมมือระหว่าง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย อพวช. และมูลนิธิ Global Health & Education Foundation ระหว่างวันที่ 19 - 25 กรกฎาคม 2560 ณ เมืองฉงชิ่ง ประเทศจีน โดยมีเยาวชนเดินทางเข้าร่วมประกวดโครงงาน 8 ทีม ผลปรากฏว่าเยาวชนไทยสามารถคว้ารางวัลเหรียญทองมาได้ทั้งสิ้น 3 เหรียญทอง จากทีมโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย 2 โครงงาน ได้แก่ โครงงาน “จากโลกของจุลินทรีย์ สู่โลกของปลวก เพื่อโลกของเรา” (From the world of microbes, to the world of termites, for the world of humankind) เป็นผลงานของ ด.ช.ศิวกร ชาญชโลธร และ ด.ช.วศิน เธียรวุฒิ และโครงงาน “โลกปลาตีนคือโลกของเรา” (The world of Mudskipper represents the World of Humankind) ของ ด.ช.พิวัฒน์ ศุภวิทยา และ ด.ช.ทัศณ์พล คุณวุฒิพร และอีกหนึ่งทีมจากโรงเรียนสีคิ้วสวัสดิ์ผดุงวิทยา ในโครงงาน “การเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกป่าโดยใช้หยวกกล้วย” ของ ด.ญ.พรปวีย์ เหมิกจันทึก และ ด.ญ ภัทรภรณ์ ภูวนา

          ทั้งนี้ เยาวชนไทยยังคว้ามาได้อีก 4 เหรียญเงิน ได้แก่ 1.ทีมโรงเรียนวารีเชียงใหม่ ในโครงงาน “Dragonfly fly to the world” ของ ด.ญ.ณัฐฎณิชา วิจิตตปัญญารักษ์ ด.ญ. อาทิตยา ชิลด์ นางฉวีวรรณ อ้นโสภา 2.ทีมโรงเรียนสงวนหญิง ในโครงงาน “ไขความลับปริศนาธรรมชาติจากรอยแตกระแหงของดิน” ด.ญ ผลิดา ยงพิศาลภพ ด.ญ.อารียา เตียววิไล และนายเจษฎา เนตรสว่างวิชา 3.ทีมโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร จังหวัดน่าน ในโครงงาน “การศึกษาพฤติกรรมของหญ้าเข็มนาฬิกา” ของ ด.ช.วิทวัส แก้วสี ด.ญ. ธัญชนก เตชะนันท์ และนายมนตรี นันตา 4.ทีมจากราษีไศล ในโครงงาน “รังไข่มดแดง : ห้องครัวแห่งธรรมชาติ” ของ ด.ช แสงเพชร บุญเกิด ด.ญ. ธารารัตน์ แสงแก้ว และนายศกร พรหมทา

          และอีก 1 เหรียญทองแดง จากทีมโรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ กับ “โครงงานการศึกษาพัฒนาของเมล็ดดาวกระจายไต้หวันที่ส่งผลต่อการแพร่กระจายตัวของเมล็ด” ของ ด.ญ.สุวิมล รัตนกานต์กุล ด.ช.สิทธิพงค์ คำหมั้น


“เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่เยาวชนไทยจำนวน 8 ทีมที่เราส่งประกวดในครั้งนี้ สามารถคว้ารางวัลกลับมาให้ คนไทยได้ชื่นชมทุกทีม แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเยาวชนไทยในเวทีระดับนานาชาติ ซึ่งรางวัลเหล่านี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชนอีกจำนวนมากอยากก้าวเข้ามาเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น ขอขอบคุณเยาวชนทุกคนและครูผู้คุมทีมที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการสร้างชื่อให้กับประเทศในครั้งนี้” นายชนินทรฯ กล่าว

001 800x600

 ทางด้าน ด.ช.ศิวกร ชาญชโลธร หนึ่งในเยาวชนที่คว้าเหรียญทอง ได้เปิดเผยว่า “รู้สึกดีใจที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย และได้กล่าวถึง “โครงงานจากโลกของจุลินทรีย์ สู่โลกของปลวก เพื่อโลกของเรา” (From the world of microbes, to the world of termites, for the world of humankind) ว่าเป็นโครงงานที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์กับโลก โดยการนำจุลินทรีย์จากจอมและจาวปลวกไปช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน โดยการย่อยสลายอินทรียสารที่ยากต่อการย่อยสลายตามธรรมชาติ เช่น เซลลูโลส ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของขยะชีวภาพต่าง ๆ เช่น ตอซังข้าว อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนซึ่งมีสาเหตุมาจากการเผาตอซังข้าว ซึ่งจากการศึกษาได้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในแต่ละระดับของธรรมชาติมาใช้เพื่อแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม"

002 800x600

  ส่วน ด.ช.พิวัฒน์ ศุภวิทยา หนึ่งในทีมของผลงาน “โครงงาน โลกปลาตีนคือโลกของเรา” (The world of Mudskipper represents the World of Humankind) กล่าวว่า “โครงงานนี้ศึกษาวิถีชีวิตปลาตีนตัวบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศป่าชายเลนเพื่อสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ป่าชายเลนอย่างยั่งยืน การที่เราศึกษาเกี่ยวกับโลกขนาดเล็ก ๆ ของ ปลาตีน นอกจากจะสามารถสะท้อนความอุดมสมบูรณ์ ความสัมพันธ์เชิงสายใยอาหาร ปัญหาการถูกทำลายของป่าชายเลน ปัญหาน้ำกัดเซาะชายฝั่ง และปัญหาสภาวะโลกร้อน เรายังสามารถนำปัญาหาที่ได้จากการศึกษาไปเปรียบเทียบเพื่อสะท้อนปัญหาระดับโลกของเราได้”

003 800x600

และ ด.ญพรปวีย์ เหมิกจันทึก หนึ่งในเจ้าของโครงงาน “การเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกป่าโดยใช้หยวกกล้วย” จากทีมโรงเรียนสีคิ้วสวัสดิ์ผดุงวิทยา ได้กล่าวถึงผลงานที่คว้าเหรียญทองว่า “โครงงานนี้เกิดจากการได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการปลูกป่าตามโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ที่ต้องเข้าไปปลูกป่าในพื้นที่ห่างไกลจากชุมชน ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมไม่สามารถใช้ประกอบอาชีพทางการเกษตรได้ ประกอบกับเป็นพื้นที่แห้งแล้งไม่มีแหล่งน้ำ และในบางครั้งเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ต้นไม้อาจจะตาย จึงเกิดความคิดที่จะนำต้นกล้วยมาเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูกป่าได้ โดยนำหยวกกล้วยที่มีอยู่ทั่วไปเป็นวัสดุสำหรับการอนุบาลกล้าไม้ ทำให้กล้าไม้เติบใหญ่เป็นต้นไม้และป่าไม้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปดูแลรักษา และหวังว่าโครงงานนี้จะช่วยสร้างความตระหนักด้านการอนุรักษ์และเห็นความสำคัญของป่าไม้มากยิ่งขึ้น”


          นอกจากนี้ยังมีทีมเยาวชนไทยอีกจำนวน 10 ทีม เข้าร่วมประกวดโครงงานดังกล่าว ผลปรากฏว่า คว้ามาได้อีก 5 เหรียญทอง และ 5 เหรียญทองแดง ซึ่งทีมที่ได้เหรียญทองมีดังนี้ โรงเรียนจิตรลดา 2 เหรียญทอง โดย ทีม 1. ด.ช.ไกรวิน เกษร และ ด.ญ.ศิรกาญจน์ บูรณวิทยานน์ และทีม 2. ด.ญ.พรลาภิณ สวัสดิบุตร และ ด.ญ.เพียงขวัญ เอี่ยมโอภาส โรงเรียนวารีเชียงใหม่ จำนวน 2 เหรียญทอง จากทีม 1. ด.ญ. ฐิติวรดา กาวิชัย และ ด.ช.ฬูค่า ชนกันต์ บอนด์ ทีม 2. ด.ญ.อธิษฐาน เกรียงไกรศักดิ์ และ ด.ญ.ซือหธิง อึ้ง โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร 1 เหรียญทอง โดย ด.ช. ปุณกฤษ วงค์พนิตกฤต และ ด.ญ.นิธิชา แสงประจักษ์ 

          และ 5 เหรียญทองแดง ดังนี้ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี 4 เหรียญทองแดง ประกอบด้วย ทีม 1. ด.ญ.ดวงพร ธัญญะโสภาคย์ และ ด.ญ.นิชานันท์ ล้ำวิริยะพันธ์ ทีม 2. ด.ช.ปัณณ์ เลิศจตุรภัทร และ ด.ญ.เก็จมณี พิมพ์วิจิตร ทีม 3. ด.ญ.ดลพร วัลลานนท์ และ ด.ญ. มาณวี สุขแสงพนมรุ้ง ทีม 4. ด.ช. ปวริศร์ เปี่ยมปรีชา และด.ช. ชนาธิป พรมพันธ์ใจ และ 1 เหรีญญทองแดงจาก โรงเรียนวารีเชียงใหม่ โดย ด.ญ. นีน่า ธีระศุภเสฐ และ ด.ญ.อภัสสรา เกล คัลลาเฮน

 

5/07/60 - นางกรรณิการ์ วงศ์ทองศิริ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (คนที่ 3 ซ้ายมือ) นายเจมส์ แพทริค เคนเนลลีย์ กรรมการผู้จัดการ และผู้บริหารฝ่ายการเงิน บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด (คนที่ 3 จากขวามือ) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจัดทำโครงการ Better Science For Better Life “วิทย์ก้าวหน้า ชีวิตก้าวไกล” เพื่อสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ ให้เยาวชนและประชาชนเห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม อันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจและประเทศ โดยมีคณะผู้บริหาร อพวช. และผู้แทนจากบริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ให้เกียรติร่วมเป็นสักขีพยาน ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ คลองห้า จ.ปทุมธานี

IMG9648800533-1
IMG9642800533
IMG9629800533
IMG9621800533
IMG9614800533
IMG9609800533
IMG9601800533
IMG9592800533
IMG9565800533
IMG9576800533

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับสมาคมเครื่องบินกระดาษพับ จัดการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 14 รอบคัดเลือก ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2560 โดยจัดการแข่งขันตระเวนไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อเฟ้นหาคนเก่งที่สามารถพับเครื่องบินกระดาษพับและร่อนได้นานที่สุด เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันระดับนานาชาติที่ประเทศญี่ปุ่นต่อไป

IMG 5032 800 533

26 มิถุนายน 2560/ ปทุมธานี – นางกรรณิการ์ วงศ์ทองศิริ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เปิดเผยว่า กิจกรรมการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับ เป็นกิจกรรมนอกห้องเรียนที่ อพวช. จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 14 ปีแล้ว เนื่องจาก อพวช. มองว่าการทำเครื่องบินกระดาษพับเป็นกิจกรรมที่ ผู้เล่นไม่ต้องลงทุนมาก มีเพียงกระดาษแผ่นเดียวก็สามารถสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นเครื่องบินกระดาษพับได้แล้ว และหากผู้เล่นต้องการพัฒนาฝีมือให้เครื่องบินกระดาษพับร่อนได้นานที่สุดก็ไม่มีอุปกรณ์เสริม มีเพียงจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ใช้การสังเกต จดบันทึกสถิติ ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของกระบวนการคิดแบบเป็นวิทยาศาสตร์ ที่ อพวช. พยายามจะผลักดันให้เกิดความตระหนักขึ้นกับสังคม โดยอาศัยกิจกรรมที่สนุกสนานและเป็นเรื่องใกล้ตัว

IMG 5239 800 533

สำหรับ "การแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 14" (The 14th Thailand Paper-folded Airplane Competition) อพวช. ได้จัดให้มีการแข่งขันรอบคัดเลือกระดับภูมิภาค โดยแบ่งจัดผ่านเครือข่ายต่าง ๆ 3 เครือข่าย ได้แก่ เครือข่ายคาราวานวิทยาศาสตร์อพวช. เครือข่ายมหาวิทยาลัยในภูมิภาค และภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2560 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2560 โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ประเภท รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี และรุ่นทั่วไป ผู้เข้าแข่งขันต้องประดิษฐ์เครื่องบินกระดาษพับที่สามารถร่อนได้นานกว่า 9 วินาทีขึ้นไปในรุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี และ 11 วินาทีขึ้นไปในรุ่นทั่วไป ยกเว้นในส่วนของภาคกลางผู้เข้าแข่งขันในรุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี ต้องมีสถิติ 11 วินาทีขึ้นไป และรุ่นบุคคลทั่วไปต้องมีสถิติ 14 วินาทีขึ้นไป จึงจะมีสิทธิ์บันทึกสถิติเพื่อเข้าแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ ในวันที่ 27 สิงหาคม 2560 ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งหลังจากได้ผู้ชนะ อพวช. จะส่งเป็นตัวแทนประเทศไทย เดินทางไปร่วมแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับที่

IMG 5276 800 533

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมแข่งขัน“เครื่องบินกระดาษพับชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 14” แต่ยังไม่เคยพับเครื่องบินกระดาษพับ อพวช. ได้จัดให้มีการสอนพับเครื่องบินกระดาษพับเบื้องต้น ในแบบต่าง ๆ ภายในบริเวณสนามแข่งขัน เพื่อเตรียมพร้อมก่อนลงสนามแข่งขันอีกด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02 577 9999 ต่อ 1414 ดาวน์โหลดกติกาได้ที่ www.nsm.or.th ติดตามข่าวสารการเคลื่อนไหว https://facebook.com/thaipaperairplane และกำหนดการแข่งขันได้ที่ http://www.nsm.or.th/index.php?option=com_k2&view=item&id=6302:14&Itemid=156

IMG 5051 800 533

 
กรอกอีเมลเพื่อติดตามข่าวสาร