th th
en

          ปทุมธานี/ 15 ตุลาคม 2560 – กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค เดินหน้าสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ จัดการแข่งขันจรวดขวดน้ำระดับประเทศ ครั้งที่ 16 โดยมี นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลและปิดการแข่งขัน ในวันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม 2560 ณ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. ผลปรากฏว่า ทีม “Very Near Project” จากโรงเรียนตรังคริสเตียนศึกษา ชนะเลิศประเภทแม่นยำระดับมัธยมศึกษา โดยจะเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันกับตัวแทนเยาวชนอีกกว่า 11 ประเทศ ในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค กับการแข่งขันจรวดขวดน้ำนานาชาติ “APRSAF Water Rocket Event” ต่อไป

 MG 5347 800x533

          นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวแสดงความยินดีกับผู้เข้าร่วมการแข่งขันจรวดขวดน้ำระดับประเทศ ครั้งที่ 16 รอบชิงชนะเลิศว่า “เป็นที่ทราบกันแล้วว่าสังคมในอนาคตเป็น สังคมฐานความรู้ กิจกรรมการแข่งขันจรวดขวดน้ำ ถือเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชนและประชาชน ให้สนใจเรื่องของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น การแข่งขันจรวดขวดน้ำระดับประเทศ เป็นกิจกรรมหนึ่งในการกระตุ้น เสริมสร้างพัฒนาทักษะกระบวนการ และการเรียนทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบให้กับเยาวชนควบคู่กับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านกิจกรรมที่สนุกสนานและท้าทาย โดยเยาวชนจะได้ลงมือปฏิบัติจริง ทดลอง สังเกต แก้ปัญหา ทำงานร่วมกับทีมเพื่อสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ให้เป็นจรวดขวดน้ำ ฐานปล่อยจรวด และขอให้เยาวชนทุกคนเก็บประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อไป แม้ว่าจะไม่ได้รางวัล ใด ๆ ก็ตาม”

 MG 5342 800x533


          ผศ.ดร. รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า “กิจกรรมการแข่งขันจรวดขวดน้ำระดับประเทศ มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนได้เห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุก จับต้องได้ใช้ประโยชน์ได้จริง การประดิษฐ์จรวดขวดน้ำ เป็นการนำหลักการ STEM Education มาใช้ได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ (Science) ได้แก่ แรง โพรเจคไทล์ มุมยิง ฯลฯ ด้านเทคโนโลยี (Technology) ได้แก่ การบิน การลอยตัว ด้านวิศวกรรม (Engineering) ได้แก่ การประดิษฐ์จรวดขวดน้ำให้มีความเหมาะสมในการแข่งขันแต่ละประเภท ด้านคณิตศาสตร์ (Mathematics) ได้แก่ คำนวณแรงลม ทิศทาง มุมยิงจากแท่นยิง ความไกล ซึ่งอาจสรุปได้ว่าเป็นการนำ STEM มาประยุกต์ในการแข่งขันจรวดขวดน้ำได้อย่างครบถ้วน ยิ่งไปกว่านั้น การประดิษฐ์ให้เกิดความสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์ยังก่อให้เกิดทักษะด้านศิลปะ (Art) อีกด้วย”


          กิจกรรมการแข่งขันจรวดขวดน้ำระดับประเทศ เป็นกิจกรรมที่ อพวช. จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในทุก ๆ ปี ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุกการทำกิจกรรม โดยในปีนี้ ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในการให้พื้นที่ในการจัดการแข่งขัน, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สนับสนุนการประชาสัมพันธ์การจัดการแข่งขัน, และมหาวิทยาลัยในภูมิภาคได้ร่วมทำงานในฐานะเจ้าภาพหลักในการจัดการแข่งขันรอบคัดเลือกระดับภูมิภาค ได้แก่ มหาวิทยาลัยบูรพา, วิทยาเขตจันทบุรี, มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฏร์ธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มีเยาวชนสนใจเข้าร่วมแข่งขันเป็นจำนวน 1,560 ทีม โดยมีเยาวชนจากทั่วประเทศผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ 97 ทีม สำหรับทีมเยาวชนที่ชนะการประกวดประเภทแม่นยำระดับมัธยมศึกษาจะได้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปร่วมการแข่งขันจรวดขวดน้ำนานาชาติ “APRSAF Water Rocket Event” ซึ่งมีเยาวชนจากทั่วภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกเข้าร่วมแข่งขันในทุกปี 

 MG 5346 800x533

          นายประพาฬพงษ์ มากนวล รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ขอแสดงความยินดีกับเยาวชนจากโรงเรียนต่าง ๆ ที่ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งเป็นผลมาจากความสำเร็จที่เกิดจากทักษะความสามารถทางวิทยาศาสตร์และความสามัคคีของทุกคนในทีม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการแข่งขันจรวดขวดน้ำระดับประเทศนั้น กลุ่มทรูเห็นถึงความสำคัญและให้การสนับสนุนในการประชาสัมพันธ์โครงการเชิญชวนรับสมัคร ตลอดจนนำความสามารถของน้องๆ ในโครงการจรวดขวดน้ำ ประมวลเป็นภาพกิจกรรมการแข่งขัน ออกอากาศผ่านทางทรูวิชั่นส์กว่า 20 ช่องรายการ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปรับทราบว่าเยาวชนไทยของเรามีความสามารถ สิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงบันดาลใจในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองในด้านวิทยาศาสตร์ที่น้องๆ มีความสนใจต่อไป”

                                                          MG 5530 800x533    MG 5523 800x533

         สำหรับผลการแข่งขันผลการแข่งขันจรวดขวดน้ำระดับประเทศ ครั้งที่ 16 มีดังนี้ ชนะเลิศ ประเภท ความไกล แบบขวดเดียว ระดับประถมศึกษา ได้แก่ทีม “Success full 2” จากโรงเรียนหินลาดนารายณ์สาร ในระยะความไกล 99.26 เมตร ระดับมัธยมศึกษา ได้แก่ทีม “ลูกพระอินทร์ 2” จากโรงเรียนสุรวิทยาคาร ในระยะความไกล 101.14 เมตร ชนะเลิศ ประเภทความไกล แบบหลายขวด ระดับประถมศึกษา ได้แก่ทีม “รุ่งอรุณจอมพลัง” จากโรงเรียนบ้านรุ่งอรุณ (กองทัพบกอุปถัมภ์) ในระยะความไกล 99.58 เมตร ระดับมัธยมศึกษา ได้แก่ทีม “SS ROCKET 3” จากโรงเรียนสวนศรีวิทยา ในระยะความไกล 117.82 เมตร ชนะเลิศ ประเภทความแม่นยำ โรงเรียนตรังคริสเตรียนศึกษา คว้าไปได้ทั้ง 2 ระดับชั้น ได้แก่ ระดับประถมศึกษา ทีม “T.C.S. 2” ในระยะใกล้เป้าหมาย 0.47 เมตร ระดับมัธยมศึกษา ทีม “Very Near Project” ในระยะใกล้เป้าหมาย 0.41 เมตร

         โดยทีมที่ชนะเลิศในประเภทความไกลแบบหลายขวดและประเภทแม่นยำ จะได้รับทุนการศึกษาจาก อพวช. ทีมละ 20,000 บาท ประเภทความไกลแบบขวดเดียว 10,000 บาท นอกจากนั้น ยังมีโล่เกียรติยศและของรางวัลอีกมากมายจาก บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ติดตามผลการแข่งขันและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ 0 2577 9999 ต่อ 1414 หรือwww.nsm.or.th หรือ www.facebook.com/thailandwaterrocketchampionship

23 สิงหาคม 2560 – อิมแพ็ค เมืองทองธานี / ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานมอบรางวัล Prime Minister’ s Award 2017 ครั้งที่ 1 แก่คณะนักเรียนและครูอาจารย์ที่มีผลงานด้านวิทยาศาสตร์อันโดดเด่นสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในเวทีระดับโลก ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2560 อิมแพ็ค เมืองทองธานี หวังเชิดชูเกียรติให้เยาวชนและครูอาจารย์ที่ได้ทำคุณประโยชน์และเป็นตัวอย่างอันดีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้ง สนับสนุนสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนสนใจและให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์ และส่งเสริมให้ครูและโรงเรียนร่วมกันผลักดันเยาวชนเข้าสู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต่อไป

IMG 8424 800x533

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในโอกาสเป็นประธานในพิธีมอบรางวัล Prime Minister’ s Award 2017 ครั้งที่ 1 ว่าในยุคปัจจุบัน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ดังนั้น การปลูกฝังให้เยาวชนเกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญ และมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของเยาวชนนับเป็นกิจกรรมที่ตอบโจทย์ในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ตรงเป้า เป็นประโยชน์ ทั้งต่อตัวเยาวชน และประเทศชาติ อย่างไรก็ตามการพัฒนาโครงงานของเยาวชนทั้งหลายจะประสบผลสำเร็จไม่ได้ หากไม่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากครูที่ปรึกษาซึ่งทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญาและกำลังทรัพย์ส่วนตัว เพื่อผลักดันลูกศิษย์ให้ไปถึงเป้าหมาย และในโอกาสนี้ ขอแสดงความยินดีกับครูวิทยาศาสตร์และเยาวชนทุกคนที่ได้รับรางวัล Prime Minister’s Award 2017 และขอเป็นกำลังใจให้ครูวิทยาศาสตร์ทุกๆ คนมุ่งมั่นพัฒนาเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตที่เข้มแข็งของชาติ รวมทั้งขอเป็นกำลังใจให้เยาวชนมุ่งมั่น ศึกษา ค้นคว้า พัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติต่อไปฃIMG 8153 800x533

ร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ได้จัดให้มีการมอบรางวัล Prime Minister’s Award 2017 ขึ้นในปีนี้เป็นปีแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติและเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เยาวชนที่ได้ทำคุณประโยชน์และเป็นตัวอย่างอันดีด้านวิทยาศาสตร์ และยกย่องเชิดชูเกียรติครูวิทยาศาสตร์ที่อุทิศตนอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนให้มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และพัฒนาศักยภาพเพื่อความพร้อมต่อเวทีนานาชาติ รวมทั้งเพื่อช่วยกระตุ้นให้เยาวชนเกิดแรงบันดาลใจ และสนับสนุนส่งเสริมให้ครูมีกำลังใจมากขึ้น

IMG 8256 800x533

สำหรับการพิจารณาคัดเลือกรางวัล Prime Minister’s Award 2017 นี้ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือก โดยมีปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นประธาน และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ ได้แก่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะกรรมการฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลสำหรับเยาวชน Prime Minister’s Youth Science Award คือ เป็นเยาวชนที่ทำกิจกรรมด้านโครงงานวิทยาศาสตร์ และได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศในการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ซึ่งจัดโดย วท. และโครงงานนั้นได้รับรางวัลในเวทีประกวดนานาชาติ ซึ่งการประกวดนั้นเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยเป็นผลงานที่ได้รับรางวัลในช่วงระหว่าง 1 มิถุนายน 2559-31 พฤษภาคม 2560 และรางวัลสำหรับครูวิทยาศาสตร์ Prime Minister’s Science Teacher Award คือ ครูวิทยาศาสตร์ ที่เป็นที่ปรึกษาโครงงาน และส่งเสริมเยาวชนให้เข้าร่วมกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างสม่ำเสมอ โดยโครงงานของเยาวชนที่ครูเป็นที่ปรึกษา จะต้องได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศอย่างน้อย 3 ปี ในช่วงระหว่างปี 2556-2560 และโครงงานของเยาวชนที่ครูทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาจะต้องได้รับรางวัลในเวทีการประกวดนานาชาติ โดยเป็นการประกวดฯที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง อย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วงเวลา 5 ปี ระหว่าง 1 มกราคม 2556-31 พฤษภาคม 2560

IMG 8308 800x533

นางอรรชกาฯ กล่าวทิ้งท้าย “รางวัลที่ได้รับในครั้งนี้ นอกจากโล่เชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณจากท่านนายกรัฐมนตรีแล้ว เยาวชนที่ได้รับรางวัลยังมีโอกาสได้รับทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยภายในประเทศ และยิ่งกว่านั้น หากมีผลการศึกษาในระดับดีมาก ก็จะได้รับทุนศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ส่วนครูวิทยาศาสตร์จะได้รับเงินรางวัลสนับสนุนท่านละ 20,000 บาทด้วย”

IMG8731800x533
IMG8670800x533
IMG8602800x533
IMG8564800x533
IMG8515800x533
IMG8500800x533
IMG8304800x533
IMG8293800x533
IMG8282800x533
IMG8250800x533

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัด “การประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์” ครั้งที่ 2 หวังสื่อสารความคิดและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ให้เป็นเรื่องราวที่เข้าใจได้ ผ่านเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ที่มีทั้งจินตนาการและความรู้ควบคู่กัน โดยผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวมนัสวี วงษ์เจริญ ประเภทเยาวชน จากเรื่อง “Spare Human” และนายศิริ มะลิแย้ม ประเภทประชาชนทั่วไป จากผลงานเรื่อง “นักออกแบบห้วงมายากาล”

1 800x533

นนทบุรี/ 19 สิงหาคม 2560 – รศ.ดร.มรว.ชิษนุสรร สวัสดิวัตน์ ประธานโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 2 กล่าวว่า ขอแสดงความยินดี และชื่นชมในความพยายามตั้งใจของผู้เข้าร่วมการประกวด และผลงานทุกผลงาน ที่สามารถนำจินตนาการผสานกับเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ สร้างสรรค์เป็นผลงานด้านวรรณศิลป์ที่น่าประทับใจ โดยอาศัยการสื่อสารความคิดและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ผ่านความสนุกและบันเทิง เพื่อส่งเสริมสังคมให้เกิดความตระหนักว่าการใช้ชีวิตกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอนาคต ควรเตรียมตัวและทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มากขึ้น โดยหวังว่าการประกวดครั้งนี้จะเป็นอีกแรงผลักดันให้เกิดนักเขียนนวนิยาย เรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์รุ่นใหม่เกิดขึ้นในสังคมไทยต่อไป

58 800x533

57 800x533

ในการโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ในครั้งนี้ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ที่มีความสนใจในเรื่อง สั้นแนววิทยาศาสตร์ มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดมากถึง 181 เรื่อง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ประเภทเยาวชน ประเภทประชาชนทั่วไป และประเภทกลุ่ม โดยทางคณะกรรมการจาก อพวช. มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และผู้กำกับภาพยนตร์จาก GDH 559 ได้ร่วมกันคัดเลือกผลงานที่มีความโดดเด่นด้านเนื้อหา และมีลีลาการเขียนที่น่าสนใจชวนติดตาม ให้เหลือเพียง 15 เรื่อง เพื่อรวมเล่มตีพิมพ์เป็นหนังสือ “มายามนุษย์เทียม” ได้แก่ ประเภทเยาวชน รางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง “Spare Human” โดย นางสาวมนัสวี วงษ์เจริญ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ผลงานเรื่อง “Letters from the Future” โดย นายภาคภูมิ ชัยชนะ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ผลงานเรื่อง “เด็กโลกใหม่” โดย นายกิตติ อัมพรมหา รางวัลชมเชย 3 รางวัล จากผลงานเรื่อง “สมุดบันทึกความฝันของคุณหมอแบ็ค” โดย นายกฤตชนิศ เชื้อแก้ว ผลงานเรื่อง “Connection” โดย นายวรวุฒิ อวรรณ และผลงานเรื่อง “จินตมิติ” โดย นายสุริยา เตชะลือ ประเภทประชาชนทั่วไป รางวัลชนะเลิศ ผลงานเรื่อง “นักออกแบบห้วงมายากาล” โดย นายศิริ มะลิแย้ม รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ผลงานเรื่อง “แอนดรอยด์ไม่เอาไหนของพ่อ” โดย นายธัญธัช รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ผลงานเรื่อง “จักรกลสงคราม” โดย นายปิยะโชค ถาวรมาศ รางวัลชมเชย 5 รางวัล จากผลงานเรื่อง “วัฏฏะเวลา” โดย นายจักรพงษ์ จีนะวงษ์ ผลงานเรื่อง “พ.ร.บ.ชิพ” โดย นายชูชาติ ทรัพย์นิธิ ผลงานเรื่อง “ความฝันโรยกลีบกุหลาบ” โดย นายศรินธร ภัสดาวงศ์ ผลงานเรื่อง “ผู้จัดการซาก” โดย นายสาทิส ไฟพิมพ์ ผลงานเรื่อง “ความหวังในปี 2150” โดย มายา ประเภทกลุ่ม รางวัลชมเชย จากผลงานเรื่อง “แด่มาตุภูมิ” โดย อสิตา และ ดร.สฎา อยู่สถาพร

a540b2ab34d393970e781d799320d67c L

นางกรรณิการ์ วงศ์ทองศิริ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)กล่าวว่า อพวช. ทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้กับสังคม ผ่านนิทรรศการและกิจกรรม ที่หลากหลาย การได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ในครั้งนี้ จึงถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสร้างความตระหนักให้กับสังคมหันมาสนใจวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น วิทยาศาสตร์ดูเป็นเรื่องยากสำหรับหลาย ๆ คน ดังนั้นการนำวิทยาศาสตร์มานำเสนอในรูปแบบ เรื่องสั้น นวนิยาย ที่ค่อยๆ อธิบายผ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตทำให้ผู้อ่านสามารถเชื่อมโยงได้ว่ามันอยู่ในชีวิตเราอย่างไร และในบางครั้งเนื้อหาเกินจริงด้วยสร้างจากจินตนาการ แต่ก็มีจินตนาการในหลายเรื่องที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักวิทยาศาสตร์นำมาสร้างเป็นสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่มีให้เห็นในปัจจุบัน

สำหรับผู้สนใจ ผลงานเขียนทั้ง 15 เรื่อง สามารถติดตามอ่านได้ในหนังสื่อรวมเล่มเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์เรื่อง “มายามนุษย์เทียม” พิมพ์และจัดจำหน่ายโดย บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด ในเดือนกันยายน 2560

 

IMG59851600x1067800x534
IMG59351600x1067800x534
IMG59291600x1067800x534
IMG59251600x1067800x534
IMG59161600x1067800x534
IMG59061600x1067800x534
IMG59041600x1067800x534

เรื่อง Find Out

20934991 270693026755149 4345595527573274033 o 425x600

เรื่องย่อ

        ความไม่รู้นั้น ไม่ผิด การค้นหาจึงน่ายกย่อง “เจีย” เด็กหนุ่มขี้สงสัย ที่มาพร้อมกับความไม่รู้ของเขา และความไม่รู้ของ “เจีย” ถูกนำเสนอให้ออกมาเป็นรูปแบบของ “ตัว” ซึ่งตัวไม่รู้ตัว มักจะโผล่มาทุกครั้ง เมื่อ “เจีย”เกิดความสงสัย โดยที่เจ้าตัวไม่รู้ มันจะตามติดตัว “เจีย” อยู่ตลอดเวลา ความไม่รู้ของ “เจีย” ทำให้เขาได้พบกับสถานที่ที่รวมความสนุกและความรู้ไว้ด้วยกัน

        “เจีย” บังเอิญไปเจอหนังสือเกี่ยวกับการตอบปัญหาวิทยาศาสตร์ที่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.) จัดทำขึ้น แต่ภายในหนังสือเล่มนั้นไม่ได้มีเฉลย ด้วยความที่ “เจีย” เป็นเด็กขี้สงสัย จึงเดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พร้อมกับหนังสือเล่มนั้น เพื่อค้นหาคำตอบ “เจีย” จะค้นหาคำตอบที่ตัวเองสงสัยได้หรือไม่ และด้วยวิธีใด และ”ตัวไม่รู้” จะอยู่กับ “เจีย”ต่อไปหรือไม่ “เจีย”จะทำอย่างไรต่อไป

        หนังสั้นเรื่อง Find Out เป็นผลงานของทีม Square Pix Studio นักเรียนโรงเรียนหอวัง ที่ เห็นงานศิลปะในอินเตอร์เน็ต เป็นตัวสีดำๆ ยืนท่ามกลางผู้คน จึงมีแนวคิดว่าน่าค้นหา จึงใช้ตัวสีดำๆ มาเป็นตัวเอกของเรื่องนี้ โดยใช้ความไม่รู้ เปรียบเสมือนตัวสีดำๆ หวังว่าผู้ชมจะสนุกสนานกับหนังสั้นเรื่องนี้และไปค้นหาตัวเองในสถานที่ที่เราไม่เคยไปมาก่อน เพื่อให้ได้ประสบการณ์ใหม่ๆและความรู้ติดตัว

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) โชว์นิทรรศการ “ธรรมชาติบันดาลใจ” ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2560 เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของชีวิตกับธรรมชาติและการสร้างนวัตกรรมด้วยแรงบันดาลใจจากธรรมชาติผ่านรูปแบบต่างๆ

IMG 1672 800x533

IMG 1719 800x533

งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2560 ระหว่างวันที่ 17 – 27 ส.ค.นี้ ที่ฮอลล์ 3 อิมแพค เมืองทองธานี องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ได้เข้าร่วมออกบูธ ภายใต้แนวคิด “ธรรมชาติบันดาลใจ” โดยมีการนำเสนอนวัตกรรมจากแรงบันดาลใจจากธรรมชาติอย่างหลากหลาย โดยนายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ได้เปิดเผยว่า ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ อพวช. ได้จัดทำนิทรรศการที่นำเสนอนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาหลากหลายที่มนุษย์กำลังเผชิญอยู่ แต่การสร้างนวัตกรรมที่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบอาจนำไปสู่ปัญหาใหม่ๆ ไม่รู้จักจบสิ้น ดังนั้น การนำเสนอแนวคิดด้านนวัตกรรมด้วยแรงบันดาลใจจากธรรมชาติจึงเป็นแนวทางที่นำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนได้ เพราะ “ธรรมชาติ ฉลาดใช้ ฉลาดอยู่” ผ่านนวัตกรรมหลากหลายทั้ง “นวัตกรรมเรือที่ควบคุมระดับการลอยที่ผิวน้ำด้วยอากาศ” ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากการควบคุมระดับการลอยตัวในน้ำของสัตว์น้ำ เช่น ปลาที่ใช้ถุงลม หรือ หมึกกระดองที่ใช้แกนกลางลำตัวที่เรียกว่าลิ้นทะเล หรือ นวัตกรรมที่ใช้ชุดว่ายน้ำที่มีพื้นผิวเลียนผิวหนังของปลาฉลาม นวัตกรรมปีกเครื่องบินแบบปลายปีกตั้ง ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากปีกของนกที่ร่อนอยู่กลางอากาศได้เป็นเวลานานๆ เช่น เหยี่ยว ซึ่งวงปลายปีกจะโค้งงอนขึ้น หรือ นวัตกรรมปีกเครื่องบินหลากหลายแบบที่ได้แรงบันดาลใจจากการบินของนกชนิดต่างๆ เช่น เครื่องบินขับไล่ ซึ่งต้องเปลี่ยนทิศทางการบินได้อย่างรวดเร็ว มีปีกคล้ายนกกระจอก เครื่องบินโดยสารที่ต้องเดินทางระยะทางไกลจะมีปีกคล้ายนกอัลบาทรอส

IMG 4785 1600x1067 800x534

รอง ผอ.อพวช.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังมีนวัตกรรมเลียนแบบแนวคิดระบบนิเวศซึ่งมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ ของเสียจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งอาจถูกนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง และนวัตกรรมเครื่องตักความชื้นเลียนแบบสัปปะรดสีของนักเรียนโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา ที่เป็นโครงงานชนะการประกวด 2016 Stockholm Junior Water Prize ประเทศสวีเดน เป็นต้น

IMG 1760 800x533

“นิทรรศการธรรมชาติบันดาลใจ เป็นการสังเกตุข้อได้เปรียบจากพืชและสัตว์ในธรรมชาติแล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนได้ เพราะธรรมชาติ ฉลาดใช้ ฉลาดอยู่” นายสุวรงค์ กล่าว

นอกจากนี้ อพวช. ยังมี เกม กิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ ให้น้องๆ ร่วมสนุก ลุ้นรับของที่ระลึก และถ่ายภาพร่วมกับชิ้นงานต่างๆ โดยงานจัดจนถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2560 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 19.00 น. ณ ฮอลล์ 3 อิมแพค เมืองทองธานี

 

อิมแพ็ค เมืองทองธานี / กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2560 เชิญชวนพสกนิกรชาวไทยร่วมชื่นชมในพระอัจฉริยภาพและคุโณปการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และ “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” พร้อมทั้ง พระบรมวงศานุวงศ์ ในนิทรรศการเทิดพระเกียรติ “พระผู้เป็นแรงบันดาลใจของแผ่นดิน” ภายในงานพลาดชมไม่ได้กับจำลองพระที่นั่งภูวดลทัศไนย และ Stellarium Technique ภายใน Stellarium Interactive พิชิตภารกิจต่าง ๆ เพื่อเข้าใจวงโคจร และปรากฏการณ์บนท้องฟ้า และท้าทายประสบการณ์ขับเครื่องบินผ่านโปรแกรม Flight Simulator ทดสอบร่างกาย สายตาว่าพร้อมเป็นนักบินหรือไม่ ตั้งแต่วันนี้ -27 สิงหาคม นี้ ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี

IMG 7715 800 533

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยงานหลักในการจัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ครั้งนี้ กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2560 (National Science and Technology Fair 2017) นี้ขึ้นมา ภายใต้กรอบแนวคิด “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม” เนื่องในสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” หนึ่งในนิทรรศการไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาด คือ นิทรรศการเทิดพระเกียรติ (Royal Pavilion) ในปีนี้นำเสนอใน Theme “พระผู้เป็นแรงบันดาลใจของแผ่นดิน” ด้วยการจัดแสดงพระอัจฉริยภาพและคุโณปการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” พบกับนิทรรศการย้อนรอยอดีตสยามประเทศไปเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ชมพระอัจฉริยภาพและพระราชกรณียกิจของบูรพมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงวางรากฐานวิทยาศาสตร์ไทยที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ที่สำคัญของสยามประเทศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ ทรงเป็นผู้บุกเบิกการนำเอาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ พิสูจน์ความเชื่อเดิม นำพาสยามประเทศสู่แสงสว่างแห่งปัญญา เริ่มต้นของสยามอารยะ ก้าวสู่การพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง โดยในปีนี้ มุ่งเน้นการนำเสนอหลักการคิด เครื่องมือ ตำรา และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงใช้ในการทรงคำนวณปรากฏการณ์ธรรมชาติด้วยวิทยาศาสตร์

อย่าพลาดชมจำลองพระที่นั่งภูวดลทัศไนย หรือหอนาฬิกาหลวง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ทรงสถาปนาเวลามาตรฐานขึ้นในประเทศไทย หรือที่เรียกกันว่า Bangkok mean time เพื่อทำหน้าที่บอกและรักษาเวลามาตรฐานของไทย พร้อมชม Stellarium Technique ภายใน Stellarium Interactive พิชิตภารกิจต่าง ๆ เพื่อเข้าใจวงโคจร และปรากฏการณ์บนท้องฟ้า เช่น การย้อนกลับไปหว้ากอเมื่อ 150 ปีที่แล้ว หรือดูสุริยุปราคาในอีก 70 ปีข้างหน้า รวมทั้ง ร่วมกิจกรรมทำแผนที่ดาว, กิจกรรมข้างขึ้นข้างแรม และกิจกรรมปฏิทินจันทรคติ

IMG 7705 800x533

นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” ชื่นชมกับแสงสว่างจากปัญญาพระราชทาน (The Light of Wisdom) สู่งานพัฒนา เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม โดยในปีนี้นำเสนอศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยหลักคิด หลักปฏิบัติ ที่พระองค์ทรงมอบแนวทางไว้ เพื่อนำพาพวกเราทุกคน ครอบครัว สังคม รวมถึงประเทศชาติ สู่ความเจริญรุ่งเรืองในที่สุด พลาดไม่ได้กับกิจกรรมการทดลองเกี่ยวกับดิน, ตัวอย่างแสดงชั้นดิน และตัวอย่างสารเคมีที่ใช้ในการทำฝนหลวง

IMG 7718 800x533

โดยจุดนี้ยังถือเป็น Landmark อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของงาน “รัชกาลที่ 9 : ธ สถิตย์ในดวงใจ” นำเสนอพลวัตการพัฒนาจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า 4,100 โครงการ ตลอด 70 ปีที่ผ่านมา ที่นำเสนอในรูปแบบ “Rotovision Mechanic” อันสื่อความถึงแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โครงการจากต้นน้ำ พื้นที่เกษตรกลางน้ำ จนถึงการบริหารจัดการน้ำ จนกลับไปสู่วัฏจักรอีกครั้ง แทรกด้วยโครงการพัฒนาดิน ป่า และคุณภาพชีวิตของประชาชน ในการแก้ปัญหาด้วยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พระปรีชาสามารถที่ทรงสร้างสรรค์และผสานการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ก่อเกิดเป็นประดิษฐกรรมล้ำค่าที่ช่วยบรรเทาความทุกข์ยากให้แก่เหล่าพสกนิกร ขจัดปัดเป่าปัญหา และขับเคลื่อนพัฒนาประเทศได้อย่างมากมาย

IMG 6710 800x533

นิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ร่วมชื่นชมในพระอัจฉริยภาพ พระปรีชาสามารถ และพระราชกรณียกิจด้านอากาศยานและการบินที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 50 ปี ในฐานะทรงเป็น “เจ้าฟ้านักบิน” พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี พลาดไม่ได้กับโมเดลเครื่องบินจำลองที่ทรงใช้ฝึก ท้าทายประสบการณ์ขับเครื่องบินผ่านโปรแกรม Flight Simulator และสนุกสนานไปกับกิจกรรมพับเครื่องบิน F-5

นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของพระบรมวงศานุวงศ์อีกด้วย ได้แก่ นิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 “พระราชินีนักอนุรักษ์” และ “พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ” นำเสนอพระราชกรณียกิจที่พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันระหว่างคน ป่า และสัตว์ป่าอย่างยั่งยืน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างอาศัยเกื้อกูลกัน พบโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ระบบนิเวศ ป่าต้นน้ำ ป่าชุ่มน้ำ และระบบนิเวศทางทะเล ร่วมกิจกรรมจักสานจากวัสดุธรรมชาติ นิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี “เจ้าฟ้านักอนุรักษ์” ชื่นชมพระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์พรรณพืช ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) และพระราชทานให้โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างธนาคารพืชพรรณขึ้น สำหรับเก็บรักษาพันธุกรรมพืชทั้งที่เป็นเมล็ดและเนื้อเยื่อ นิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ “เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์” ชื่นชมพระราชกรณียกิจการทรงงานที่ทรงนำวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อการแก้ไขปัญหาของประเทศ โดยเฉพาะปัญหาด้านสาธารณสุข สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ทรงส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนให้เกิดบุคลากรด้านสาธารณสุข การแพทย์ วิทยาศาสตร์ ภายใต้วิสัยทัศน์ “สร้างผู้นำทางปัญญาแห่งวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ

IMG 6680 800x533

ดร.อรรชกาฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า ขอเชิญชวนพสกนิกรชาวไทยทุกคนมาร่วมชื่นชมในพระอัจฉริยภาพและคุโณปการของ “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และ “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” พร้อมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ที่เกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ได้ในนิทรรศการเทิดพระเกียรติ “พระผู้เป็นแรงบันดาลใจของแผ่นดิน” พร้อมเปิดโลกทัศน์และประสบการณ์ใหม่ สัมผัสเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างเพลิดเพลินสนุกสนานได้ที่งาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2560” วันนี้ - 27 สิงหาคม 2560 เวลา 09.00-19.00 น. ณ ฮอลล์ 2-8 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ

สำหรับโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่ต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ ติดต่อได้ที่ โทร 0 2577-9960 เวลาที่เหมาะสมสำหรับการเข้าชมของประชาชนทั่วไป วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 15.00-19.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-19.00 น. ติดตามข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดงานได้ที่ www.thailandnstfair.com หรือ Facebook : มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ LINE ID : @thailandnstfair หรือ Instagram : Thailandnstfair หรือสอบถามข้อมูลที่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โทร. 0 2577 9960 สื่อมวลชนสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โทร 0 2577 9999

24 สิงหาคม 2560 - Mr. Fortunato T.de la Pena รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์และคณะ เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการและกิจกรรมวิทยาศาสตร์ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2560 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมี ดร.อภิญาณ์  หทัยธรรม รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ, นายสุวรงค์  วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และนายชนินทร  วรรณวิจิตร ผู้อำนวยการสำนักโครงการพิเศษ อพวช. ให้การต้อนรับ

วันที่ 22 สิงหาคม 2560 /องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ลงนามบันทึกความเข้าใจ กับ กรมการจัดหางาน (กกจ.) เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อการแนะแนวอาชีพและการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และวิทยาศาสตร์ในสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงร่วมกันใช้ทรัพยากรและความสามารถดำเนินการตามภารกิจหลักของทั้งสองฝ่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุด ณ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  อิมแพ็ค เมืองทองธานี

IMG 7045 800x533 1

นางกรรณิการ์ วงศ์ทองศิริ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)กล่าวว่า “อพวช. มีภารกิจในการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ให้กับสังคม ผ่านการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ การที่ อพวช. และ กกจ. ได้ทำการลงนามความเข้าใจถือเป็นโอกาสอันดีที่ ทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกับนำองค์ความรู้ของทั้งสองหน่วยงานมาบูรณาการให้เกิดประโยชน์กับสังคม เช่น การนำนิทรรศการ “Enjoy Science Careers: สนุกกับอาชีพวิทย์” ที่ อพวช. ร่วมกับ เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และ สถาบันคีนันแห่งเอเซีย พัฒนาเป็นนิทรรศการแนะนำอาชีพสาขาสะเต็มศึกษา เช่น นักคิดค้นยา, วิศวกรชีวการแพทย์ และนักปรับปรุงพันธุ์พืช เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้และทดลองสวมบทบาทเป็นผู้เชี่ยวชาญในอาชีพสาขาสะเต็มซึ่งยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในสังคมไทย แต่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศขึ้น โดย อพวช. มองว่าการลงนามความเข้าใจในครั้งนี้จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการแนะนำอาชีพวิทยาศาสตร์ด้านสะเต็มศึกษา ให้รู้จักในตลาดแรงงานได้มากยิ่งขึ้น”

IMG 7062 800x533 1

นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมจัดหางาน กล่าวว่า “กกจ. มีหน้าที่ส่งเสริม พัฒนา ให้บริการแนะแนวอาชีพและการประกอบอาชีพ พร้อมให้บริการข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานที่ทันสมัย ในความร่วมมือกับ อพวช. ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพและการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และวิทยาศาสตร์ในสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป รวมถึงร่วมกันใช้ทรัพยากรและความสามารถดำเนินการตามภารกิจหลักของทั้งสองฝ่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุด และร่วมกันพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานทั้งสองฝ่าย ด้านการสำรวจ ศึกษาวิจัย การพัฒนากิจกรรม การจัดการแหล่งเรียนรู้ การถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับอาชีพและการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม ธรรมชาติวิทยา สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และวิทยาศาสตร์ในสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง”

IMG 7150 800x533

ซึ่งภารกิจแรกที่ทั้งสองหน่วยงานเห็นพ้องต้องกันคือการแนะแนวอาชีพวิทยาศาสตร์ด้านสะเต็มศึกษา ผ่านการจัดแสดงนิทรรศการชุด “Enjoy Science Careers: สนุกกับอาชีพวิทย์” ซึ่งเป็นอาชีพที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนัก แต่เป็นอาชีพที่สร้างรายได้และเป็นที่ต้องการของประเทศ ให้กับประชาชนได้รับทราบถึงลักษณะงาน การเตรียมตัวเพื่อก้าวเข้าสู่อาชีพด้านสะเต็มศึกษา เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลในการนำไปใช้ในการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานต่อไปในอนาคต

21 สิงหาคม 2560 – อิมแพ็ค เมืองทองธานี / กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ปลื้ม 7 ประเทศ ร่วมผนึกกำลังจัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2560” (National Science and Technology Fair 2017) นำสุดยอดนิทรรศการ ผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมโชว์คนไทย พลาดไม่ได้กับ ไฮไลท์ โชว์แสดงศักยภาพระบบเครื่องยนต์ในยนตกรรมระดับหรูอย่าง Benz และ BMW, ติดตามการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่จะเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 21 สิงหาคมนี้ , ชมการทดลองทางวิทยาศาสตร์จากประเทศเยอรมัน Miniphanomenta, รู้จักกับทูตสะเต็ม Famelabber & SchoolLabber รวมทั้ง ชมผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่น่าสนใจจากนานาประเทศอีกมากมาย ตั้งแต่วันนี้ - 27 สิงหาคม 2560 ณ ฮอลล์ 2-8 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

IMG 9107 800 533

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ” ขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2549 เรื่อยมา เนื่องในสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ ”พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” โดยที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างประเทศร่วมจัดแสดงตลอดมา และในปีนี้ก็เช่นเดียวกันที่ได้รับความร่วมมือจาก 7 ประเทศ นำสุดยอดนิทรรศการ ผลงานวิจัยค้นคว้าใหม่ๆ เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมมาโชว์ให้เยาวชนและคนไทยได้เห็นถึงความก้าวหน้าและศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่นำสมัยของโลก เพื่อให้งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ปี 2560 สมกับเป็นกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปีของประเทศและภูมิภาคเอเชีย ในการแสดงผลงานความก้าวหน้าและศักยภาพทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ทันสมัย แสดงถึงความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ที่มีต่อกันระหว่างไทยกับอีก 7 ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เยอรมัน ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ ภายใต้แนวคิด “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม”

ดร.อรรชกาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า นิทรรศการ ผลงานวิจัยค้นคว้าใหม่ ๆ เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมนำสมัยจากทั้ง 7 ประเทศ 16 หน่วยงานนำมาจัดแสดงมีไฮไลท์ที่น่าสนใจที่ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง ดังนี้ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี นำเสนอภายใต้ Theme “Land of Innovation” จัดแสดงโชว์ศักยภาพระบบเครื่องยนต์ยนตรกรรมหรูอย่าง Benz และ BMW , โครงการนำร่องศูนย์วิทยาศาสตร์ “Mini Phanomenta” ในโรงเรียนของประเทศเยอรมนี หรือตัวอย่างการนำสถานีวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการไปตั้งไว้ในโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้แบบไม่จำกัดเวลา (Open Process) ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน และขณะนี้ได้ขยายขอบเขตมาสู่ประเทศไทย เพื่อร่วมกันพัฒนาการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยภายในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมโชว์การทดลองวิทยาศาสตร์จากประเทศเยอรมนี

IMG 9045 800 533

ด้าน British Council ผู้แทนแห่งสหราชอาณาจักร จัดแสดงผลงานภายใต้ Theme “Building The Next Generation of Scientists” ร่วมสร้างนักวิทยาศาสตร์ รุ่นใหม่ไปกับโครงการทุนนิวตัน และร่วมพูดคุยกับทูตสะเต็ม FameLabber & SchoolLabber ตัวจริงเสียงจริงที่จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีพสะเต็มที่น่าสนใจ ช่วยจุดประกายเส้นทางสู่อาชีพและสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนไทย อาทิ วันที่ 17, 19 และ 20 สิงหาคม 2560 พบพี่นุ้ย วีณา เนาวประทีป ในหัวข้อ The Science of Ice-cream วันที่ 20 สิงหาคม 2560 พบกับพี่นิว นวีน ปิติพรวิวัฒน์ ในหัวข้อ วิทย์ติดจอ ชวนคุยเรื่องวิทย์จากหนัง Sci.Fi และพบกับอาจารย์แอน สุกัชญา เตชะชูเชิด ในหัวข้อ ผ้าคลุมล่องหนและคาถาเตือนภัย เป็นต้น, / ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา นำเสนอการติดตามสุริยุปราคาเต็มดวงที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาในวันที่ 21 สิงหาคม นี้ พร้อมชม Mini simulator ทดลองท่องไปในอวกาศ / ด้านประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส Universcience นำเสนอการกำเนิดและวิวัฒนาการคณิตศาสตร์ การกำเนิดตัวเลขโดยบอกเล่าผ่านนิทาน 6 เรื่อง พร้อมชมลูกคิดยุคแรกในภาษาฮินดู / ประเทศญี่ปุ่น นำเสนอนวัตกรรมก้าวล้ำนำสมัยด้านอวกาศและการบิน โดย JAXA, นวัตกรรมเพื่อการเกษตรสมัยใหม่ รถแทรกเตอร์ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมพวงมาลัยไฟฟ้าอัตโนมัติด้วยระบบ GSNN (IT Agriculture), เครื่องควบคุมรถขุดดินอัจฉริยะ, พบกับความน่ารักของหุ่นยนต์แมวน้ำ “PARO” เพื่อการบำบัดรักษาโดยไม่ใช้ยา, ระบบการตรวจจับเศษวัสดุแปลกปลอมสำหรับรันเวย์เครื่องบิน ของ National Institute of Information and Communication Technology, พบการพัฒนาสายพันธุ์อ้อยที่ผสมข้ามสายพันธุ์กับสายพันธุ์ที่พบในป่า เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำตาลและการผลิตชีวมวล, เทคโนโลยีบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อลดปริมาณการผลิตก๊าซเรือนกระจกจากปศุสัตว์และเพิ่มการสะสมคาร์บอนในพืชและดิน โดย ศูนย์วิจัยนานาชาติเพื่อวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งญี่ปุ่น หรือ JIRCAS

IMG 8988 800 533

ด้านประเทศสาธารณรัฐเกาหลี นำกิจกรรม Science Lab มาให้เยาวชนได้สนุกสนานกับการทดลอง อาทิ ถ่ายภาพจิ๋วแบบอัจฉริยะ, ท้าทายกับการบังคับโดรนให้ยิงเข้าเป้า, ชมความน่ารักของ Machanoid หุ่นยนต์สัญชาติเกาหลีที่เคลื่อนไหวคล้ายกับมนุษย์โดยการบังคับด้วยเสียง / ส่วนประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นำเสนอโครงการแห่งความภาคภูมิใจ Science for the People ของ Department of Science and Technology อาทิ โปรตีนจากพืชที่ผลิตจากมะพร้าว, Local Traffic Simulator (LocalSim) เป็นต้น


ดร.อรรชกา กล่าวทิ้งท้ายว่า นับเป็นโอกาสอันดีของเยาวชนและประชาชนคนไทย ที่จะได้ชมผลงานการวิจัย การค้นพบ เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของโลกจากต่างประเทศที่นำมาร่วมกันจัดถึง 7 ประเทศในครั้งนี้ และยังมีหน่วยงานภายในประเทศอีกมากกว่า 100 หน่วยงานที่ทุ่มเทเต็มที่ช่วยกันเนรมิตงานนี้ให้ยิ่งใหญ่ระดับประเทศและภูมิภาคเอเชีย จึงไม่อยากให้คนไทยพลาดชมกัน ดังนั้น จึงขอเชิญทุกท่านให้เข้าชมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ปี 2560 ตั้งแต่วันนี้ -27 สิงหาคม 2560 ณ ฮอลล์ 2-8 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมสนุกและเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ทุกคนสามารถเข้าชมได้อย่างเพลิดเพลิน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชมและร่วมกิจกรรม


สำหรับโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่ต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ ติดต่อได้ที่โทร 0 2577 9960 เวลาที่เหมาะสมสำหรับการเข้าชมของประชาชนทั่วไป วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 15.00-19.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-19.00 น. ติดตามข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดงานได้ที่ www.thailandnstfair.com หรือ Facebook : มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ LINE ID: @thailandnstfair หรือ Instagram : ThailandNSTFair

22 สิงหาคม 2560 - อิมแพ็ค เมืองทองธานี / กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชวนคนไทยเปิดประสบการณ์ มโหฬาร มหึมา มหัศจรรย์ ร่วมผจญภัยเรียนรู้ไปในโลกเหนือจินตนาการกับนิทรรศการสุดอลังการแห่งปี ชุด “ยักษ์ใหญ่ ใต้ทะเลลึก” (Monsters of the Sea) ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2560 ตั้งแต่วันนี้ -27 สิงหาคม นี้ ณ ฮอลล์ 2-8 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

IMG 4802 800x533

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยงานหลักในการจัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ครั้งนี้ กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2560 (National Science and Technology Fair 2017) นี้ขึ้นมา โดยหนึ่งในนิทรรศการที่ภูมิใจนำเสนอ คือ นิทรรศการ “ยักษ์ใหญ่ใต้ทะเลลึก” หรือ Monsters of the Sea ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ได้นำมาจากประเทศอาร์เจนตินา เพื่อนำมาจัดแสดงให้เยาวชนและประชาชนคนไทยได้เรียนรู้เรื่องราวของวิวัฒนาการและการปรับตัวเพื่ออาศัยอยู่ในทะเลของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักล่าที่อยู่บนจุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศทางทะเล โดยนิทรรศการชุดนี้จะพาผู้เข้าชมทุกคนข้ามห้วงสมุทรแห่งกาลเวลา เพื่อรู้จักสิ่งมีชีวิตเจ้าของตำนานยักษ์ใหญ่ ใต้ทะเลลึกในแต่ละยุคสมัย นับตั้งแต่อดีตเมื่อราว 400 ล้านปีก่อนจวบจนถึงปัจจุบัน พร้อมตื่นตาตื่นใจไปกับหุ่นจำลอง ขนาดใหญ่ของสัตว์ทะเลดึกดำบรรพ์ที่มีความยาวตั้งแต่ 5-13 เมตร ด้วยเทคนิคการแสดงแบบ Animatronics ที่สร้างมิติในการเคลื่อนไหวให้ดูสมจริง ก่อนจะนำไปจัดแสดงอย่างเต็มรูปแบบที่ อพวช. คลองห้า จ.ปทุมธานี เร็ว ๆ นี้ ไม่ว่าจะเป็น ปลาหุ้มเกราะจอมขม้ำ “ดังเคิลออสเตียส” (Dunkleosteus) แห่งมหาสมุทรยุคดีโวเนียน ซึ่งเป็นปลาในยุคแรก ๆ ที่เริ่มมีขากรรไกรซึ่งวิวัฒนาการมาจากส่วนของเหงือกที่ใช้ในการหายใจ, “เพลซิโอซอรัส” (Plesiosaurus) สัตว์เลื้อยคลานคอยาวผู้เป็นตำนานต้นแบบของเนสซีหรือสัตว์ประหลาดแห่งทะเลสาบล็อคเนสส์ และสัตว์นักล่ามหากาฬ “ไพลโอซอรัส” (Pliosaurus) เจ้าของฉายาเพชฌฆาตเอ๊กซ์ (Predator X) ที่มีขนาดลำตัวยาวถึง 13 เมตร และหนักมากกว่า 200 ตัน รวมทั้ง “เมกาโลดอน” (Megalodon) ฉลามยักษ์ที่มีขนาดของกรามที่ใหญ่ถึง 2 เมตร มีฟันขนาดใหญ่เกือบเท่าฝ่ามือคน พร้อมเรียนรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการ การปรับตัว และการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ในท้องทะเล ตลอดจนสาเหตุของการ สูญพันธุ์ แล้วยังถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ทำความรู้จักกับสัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์ในทะเล ซึ่งเคยมีชีวิตอยู่ในช่วงระยะเวลาเดียวกันกับไดโนเสาร์ แต่ไม่จัดว่าเป็นสัตว์กลุ่มเดียวกัน โดยในนิทรรศการชุดนี้ยังได้นำเสนอหุ่นจำลองสัตว์เลื้อยคลานในทะเลแห่งมหายุคเมโซโซอิกไว้ด้วยกันหลายชนิดอีกด้วย

IMG 4754 800x533 1

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมวาดภาพระบายสียักษ์ใหญ่ใต้ทะเลลึกทั้ง 6 แบบ ใน ”Animated-Paint : Creating Your Own Monster” ที่จะทำให้ภาพวาดของน้อง ๆ ออกมาโลดเล่นได้เหมือนมีชีวิตจริงบนหน้าจอ 

IMG 4758 800x533

ดร.อรรชกาฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า ขอเชิญชวนเยาวชนและประชาชนคนไทยมาร่วมเปิดประสบการณ์เรียนรู้และร่วม ผจญภัยไปในโลกเหนือจินตนาการกับนิทรรศการ “ยักษ์ใหญ่ใต้ทะเลลึก” (Monsters of the Sea) ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2560 ตั้งแต่วันนี้-27 สิงหาคม นี้ เวลา 09.00-19.00 น. ณ ฮอลล์ 2-8 อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ

IMG 7745 800x533

สำหรับโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่ต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ ติดต่อได้ที่ โทร 0 2577-9960 เวลาที่เหมาะสมสำหรับการเข้าชมของประชาชนทั่วไป วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 15.00-19.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-19.00 น. ติดตามข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดงานได้ที่ www.thailandnstfair.com หรือ Facebook : มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ LINE ID : @thailandnstfair หรือ Instagram : Thailandnstfair หรือสอบถามข้อมูลที่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โทร. 0 2577 9960 สื่อมวลชนสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โทร 0 2577 9999

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (คนที่ 4 จากซ้าย) และนายมงคลนิมิตร เอื้อเชิดกุล กรรมการและผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมองค์กรและรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (คนที่ 3 จากซ้าย) ร่วมมอบรางวัลในการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา-เอสโซ่ เมื่อวันที่ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2560 ณ อิมแพค เมืองทองธานี

02 424 600

เรื่องย่อ


เด็กบ้านทุ่งหลงรักวิทยาศาสตร์
เรื่องราวของ ”จ่อย” เด็กบ้านนอก คอยทำหน้าที่ส่งข้าวให้แม่ ตามบ้านต่างๆ วันหนึ่ง “จ่อย” บังเอิญเห็น “พี่ปอนด์” นั่งดูวิดีโอเกี่ยวกับนาซ่าและดาวเคราะห์ต่างๆ “จ่อย” ไม่รู้ว่าสิ่งที่เห็นคืออะไร จึงพยายามถามทุกคนที่รู้จัก เพื่อหาคำตอบ แต่ทุกคนกลับมองว่าเรื่องนาซ่ากับ บ้านนอกนั้น มันช่างห่างไกลกันเหลือเกิน แต่ในใจลึกๆ “จ่อย” ยังรู้สึกว่าจะต้องหาคำตอบให้ได้ กระทั่ง “จ่อย” ได้รับหนังสือจาก “พี่ปอนด์” และได้อ่านหนังสือแล้วเผลอหลับ “จ่อย” ฝันว่าได้ไปดาวอีกดวง ซึ่งในดาวดวงนั้น “จ่อย”ได้ทำภารกิจต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย... "จ่อย" จะทำภารกิจได้หรือไม่ ความฝันจะพา”จ่อย”ไปได้ไกลเพียงใด?


หนังสั้น เรื่อง ทุ่งนาซ่า เป็นผลงานของทีม Partner Film นักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทีมที่คว้ารางวัลที่ 3 จากการประกวดหนังสั้น สนุกมหัศจรรย์ ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

 
Read 388 timesLast modified on วันจันทร์, 21 สิงหาคม 256

https://youtu.be/Q_aKyPKhDVc

 
กรอกอีเมลเพื่อติดตามข่าวสาร