th th
en

เรื่องย่อ THE GREAT WEAPON

19665133 251197092038076 2918482042674181838 n 415 600

ยอดอาวุธวิทยาศาสตร์ THE GREAT WEAPON
   “กัน” เด็กชาย ผู้ชื่นชอบสะสมของเล่นที่เป็นอาวุธทุกชนิด “แม่” จึงให้ปืนของเล่น เป็นของขวัญวันเกิด ส่วน“พ่อ” ให้ของขวัญวันเกิดเช่นเดียวกัน แต่ “กัน” กลับไม่สนใจของขวัญของพ่อ เมื่อถึงวันเกิด “พ่อ” พา “กัน” ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ระหว่างเที่ยว “พ่อ” โทรศัพท์คุยเรื่องงานตลอดเวลา “กัน” จึงแอบไปสำรวจพิพิธภัณฑ์ด้วยตัวเอง จนเจอ “ชาย” เหมือนตัวร้ายจากหนังสายลับ ไล่ล่า “กัน” วิ่งหนีไปทั่วพิพิธภัณฑ์ ”กัน” จะถูกจับได้หรือไม่ และ “กัน” จะใช้อะไรป้องกันตัว การที่ “พ่อ” พา “กัน” มาเที่ยวพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ “พ่อจะสอนอะไร” “กัน” จะได้อะไรกลับไปใส่สมองจากพิพิธภัณฑ์แห่งนี้...

   หนังสั้น THE GREAT WEAPON เป็นผลงานของทีม Narrator นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เนื่องจากมองเห็นว่า พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ นอกจากจะให้ความรู้แล้ว ยังสร้างเสริมจินตนาการของเด็กได้ ซึ่งหนังสั้นสะท้อนให้เห็นว่าสมัยนี้ไม่จำเป็นต้องใช้อาวุธมาต่อสู้ แต่ต่อสู้ด้วยความรู้ จึงหวังว่าพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์จะเป็นคลังเก็บข้อมูล ซึ่งทุกคนสามารถสร้างความรู้ ความสุข ความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการได้ เพื่อจะได้นำความรู้ ประสบการณ์มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

         กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จัดงาน“NSM Alumni Day 2017” ระหว่างวันที่ 10 -12 พฤศจิกายน 2560 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเฉลิมฉลอง “วันศูนย์วิทยาศาสตร์และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์สากล” ภายใต้แนวคิด “เรียนรู้ชีวิตดึกดำบรรพ์ สู่นวัตกรรม” กับ 3 นิทรรศการ “ยักษ์ใหญ่ใต้ทะเลลึก” (Monsters of the Sea) นิทรรศการ “สารพัดพิษ” (Miracle of Science : Biotoxin) และนิทรรศการ “ธรรมชาติบันดาลใจ” (Mother Nature : Innovative Inspirations) พร้อมกิจกรรมพิเศษ “NSM RUN FOR HEALTH 2017” ในวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2560 วิ่งรอบสระเก็บน้ำพระรามเก้า โครงการจากพระราชดำริด้านการบริหารจัดการน้ำ

         ปทุมธานี /25 ตุลาคม 2560 – ผศ.ดร. รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า “วันศูนย์วิทยาศาสตร์และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์สากล” (International Science Center & Science Museum Day) ตรงกับวันที่ 10 พฤศจิกายน ของทุกปี ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของยูเนสโก, สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ, ศูนย์วิทยาศาสตร์, และเครือข่ายพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในทุกภูมิภาค อาทิ The Association of Science and Technology Centres (ASTC) The Asia Pacific Network of Science & Technology Centres (ASPAC), The European Network of Science Centres and Museums (ECSITE), The North Africa and Middle East Science Centers Network (NAMES), Southern African Association of Science and Technology Centres (SAASTEC), Network for the Popularization of Science and Technology in Latin America and the Caribbean (redpop) ร่วมกันดำเนินกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal) ของสหประชาชาติ (United Nation) อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้สังคมให้ความสนใจและเห็นถึงความสำคัญของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่ให้บริการในรูปแบบของแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต

IMG 7460


         อพวช. ในฐานะ ที่เป็นหน่วยงานสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ให้กับสังคม ผ่านการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ จึงเข้าร่วมเครือข่ายพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และร่วมเฉลิมฉลองวัน “วันศูนย์วิทยาศาสตร์และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์สากล” (International Science Center & Science Museum Day) โดยการจัดงาน “NSM Alumni Day 2017” ขึ้น ระหว่างวันที่ 10 -12 พฤศจิกายน 2560 ภายใต้แนวคิด “เรียนรู้ชีวิตดึกดำบรรพ์ สู่นวัตกรรม” เชิญชวนมาเรียนรู้กับนิทรรศการและกิจกรรมเสริมศึกษาภายในนิทรรศการ “ยักษ์ใหญ่ใต้ทะเลลึก” (Monsters of the Sea) จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ นิทรรศการ “สารพัดพิษ” (Miracle of Science : Biotoxin) จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และนิทรรศการ “ธรรมชาติบันดาลใจ” (Mother Nature : Innovative Inspirations)

RunUpdateArtboard 62x 100 800x529

RunUpdateArtboard 72x 100 800x529

run

run3

run4

run5

         นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรม “NSM RUN FOR HEALTH 2017” ในวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2560 วิ่งรอบสระเก็บน้ำพระรามเก้า โครงการจากพระราชดำริ ด้านการบริหารจัดการน้ำ ประเภทไมโครมาราธอนระยะทาง 5 กิโลเมตร และประเภทซุปเปอร์มินิมาราธอน 15.6 กิโลเมตร สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2577 9999 ต่อ 2122, 2123 หรือ www.nsm.or.th หรือ www.facebook.com/NSMthailand 

หมายเหตุ : ดาวน์โหลดใบสมัคร (ลิงค์ด้านล่าง) พร้อมแบบฟอร์มชำระเงิน แล้วส่งมาที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

อพวช. จัดงาน “NSM Alumni Day 2017” ระหว่างวันที่ 10 -12 พ.ย. 2560 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเฉลิมฉลอง “วันศูนย์วิทยาศาสตร์และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์สากล”

pdf

Form

Size: 590.39 KB
Hits : 154
Date added: 2561-03-19
jpg

form_run

Size: 117.95 KB
Hits : 106
Date added: 2561-03-19
pdf

FormZBillZPayment-501-NSMZRunZforZhealthZ2017

Size: 327.88 KB
Hits : 186
Date added: 2561-03-19
pptx

เรื่องเล่าเราสร้าง

Size: 17.06 MB
Hits : 87
Date added: 2561-04-24

เรื่อง คำตอบสุดท้ายของเด็กชายที่ชื่นชอบวิทยาศาสตร์

21317589 275037849654000 2034613650952862230 n 423x600

เรื่องย่อ
คำตอบสุดท้ายของเด็กชาย ที่ชื่นชอบวิทยาศาสตร์ ?
        “กัส” เด็กชายที่ชื่นชอบวิทยาศาสตร์เป็นชีวิตจิตใจ เขาตั้งใจที่จะประดิษฐ์ Mini Tesla Coil เพื่อนำไปประกวดในงาน Sci – Show ที่โรงเรียน แต่ กัส ก็ไม่รู้วิธีประดิษฐ์ที่ถูกต้องจนเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นในขณะที่เขากำลังประดิษฐ์ Mini Tesla Coil อยู่นั้นได้เกิดช็อตและระเบิดขึ้น ทำให้แม่ของเขาต้องยึดอุปกรณ์และห้ามเขาประดิษฐ์ Mini Tesla Coil อีกต่อไป จนแล้วจนรอด กัส ยังคงไปตามหาอุปกรณ์ของเขาที่แม่เอาไปเก็บไว้จนพบ แต่ทว่าครั้งนี้ กัส ได้พบหนังสือประหลาดแทน และเจ้าของหนังสือนั้น ได้พาเขาไปในที่แห่งหนึ่ง ที่ซี่งเขาจะต้องหาคำตอบที่ตัวเองตามหาให้พบ 

“กัส”จะตามหาคำตอบ ที่เขากำลังตามหาพบหรือไม่ และคำตอบนั้นคืออะไร หนังสั้นเรื่อง คำตอบสุดท้ายของเด็กชายที่ชื่นชอบวิทยาศาสตร์ เป็นผลงานของทีม Project 01 นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิตและมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ต้องการให้เยาวชนใช้วิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้

 

 

27 สิงหาคม 2560 - “อรรชกา” รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ปลื้มงานมหกรรมวิทย์ยอดเข้าชมทะลัก 1.1 ล้านคน ชี้สำเร็จเกินคาดคนสนใจเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยนิทรรศการสารพัดพิษ สุดฮิตคว้าอันดับ 1 ได้รับความนิยมสูงสุด ถัดมาเป็น นิทรรศการยักษ์ใหญ่ใต้ทะเลลึก กับ สถานีอวกาศจิสด้า

   ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2560 มาตั้งแต่วันที่ 17 ส.ค. ถึงวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมา ที่อิมแพค เมืองธานี ปรากฎว่าได้รับความสนใจเข้าชมจากเยาวชนตลอดจนประชาชนจำนวนมาก เฉพาะยอดจองเข้าชมจากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ ก่อนงานจะมีขึ้นมีมากกว่า 5 แสนคน แต่เอาเข้าจริงเมื่อถึงวันจัดงาน ปรากฎว่ามีผู้สนใจมาเข้าชมงานอย่างล้นหลาม รวมทั้ง 11 วัน มีจำนวนผู้เข้าชมถึง 1.1 ล้านคน หรือเฉลี่ยวันละกว่า 1 แสนคน ทั้งนี้ เกิดมาจากความร่วมมือร่วมใจของหน่วยงานต่างๆ รวม 72 หน่วยงานทั้งภาครัฐ จาก 10 กระทรวงและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมัน ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ ที่มาร่วมกันเสริมความยิ่งใหญ่ให้กับงานนี้ 

IMG 7297 800x533

   รมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าวต่อว่า สำหรับนิทรรศการที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษจากผู้เข้าชมงาน คือ นิทรรศการสารพัดพิษ – สนุกสนานตื่นเต้นกับการจำลองโลกแห่งเทพนิยาย มาให้น้องๆ หนูๆ ร่วมท่องดินแดนลึกลับแห่งสารพัดพิษที่เต็มไปด้วยเหล่าพืชพิษและสัตว์พิษที่ซ่อนเร้น และแฝงด้วยอันตรายในทุกย่างก้าว ที่ผู้เข้าชมงานจะได้รู้จักพิษในโลกแห่งจินตนาการ รวมทั้งการนำพิษไปใช้ประโยชน์ของมนุษย์ อันดับต่อมา คือ นิทรรศการยักษ์ใหญ่ใต้ทะเลลึก - นิทรรศการที่พาน้องๆ ไปเรียนรู้เรื่องราวของวิวัฒนาการ การดำรงชีพและการปรับตัวเพื่ออาศัยอยู่ในทะเลของเหล่ายักษ์ใหญ่ใต้ทะเลลึกที่ได้ชื่อว่าเป็นนักล่าที่อยู่บนจุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ และอันดับต่อมา คือ นิทรรศการ “สถานีอวกาศจิสด้า” (GISTDA Space Station) จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า – ที่ชวนเปิดมุมมองครั้งใหม่กับภารกิจด้านอวกาศของประเทศไทย ผู้ชมได้สนุกกับอุปกรณ์อวกาศจำลอง เช่น การฝึกเดินในสภาพไร้แรงดึงดูดของนักบินอวกาศ หรือ Gravity Walking ที่ให้ความรู้สึกเสมือนเดินอยู่ในสภาพที่มีแรงโน้มถ่วงต่ำบนดวงจันทร์ ที่สำคัญยังมีไฮไลต์สำคัญคือ การได้เชิญ Ms. Liu Yang นักบินอวกาศหญิงคนแรกแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ชีวิตและปฏิบัติภารกิจในห้วงอวกาศอันแสนยิ่งใหญ่ โดยประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกที่เธอมาเยือนหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศเทียนกงของสาธารณรัฐประชาชนจีน

IMG 7224 800x533

   ดร.อรรชกา กล่าวด้วยว่า งานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ถือว่าประสบความสำเร็จเกินความคาดหมายเพราะได้บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ที่มุ่งกระตุ้นความสนใจและสนับสนุนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของเยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยตลอด 11 วันที่ผ่านมา ผู้เข้าชมงานมีความพึงพอใจต่อภาพรวมในการจัดงานในระดับ ดีมาก ให้ความสนใจกับนิทรรศการต่างๆ ของงาน และเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดแสดงโดยหน่วยงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ภาคเอกชน ภาครัฐบาลตลอดจนองค์กรต่างประเทศกันอย่างคับคั่ง

   27 สิงหาคม 2560 -  องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เดินหน้าส่งเสริมความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อวิถีชีวิตประจำวัน จัดงานเสวนา เรื่อง “Future is NOW” ขึ้น เพื่อเปิดเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจเกียวกับเทรนด์การสื่อสารและเทคโนโลยี รวมถึงแนวทางการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยเครื่องมือดิจิทัล  และการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในยุค Thailand 4.0  โดยมี ดร. อภิญาณ์ หทัยธรรม รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม ร่วมเป็นวิทยากรในงาน เมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

588cae74e2a0a39edfd0a5929ebaaf2c L

          พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นประธานในพิธีปิดและให้โอวาทกับเยาวชนชายแดนภาคใต้จำนวน 319 คน และครอบครัวอุปถัมภ์ ในโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” รุ่นที่ 31 โดยน้อมนำพระราชดำรัสสุดท้าย ในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 ว่า “...บ้านเมืองของเราเป็นสุขสืบมาช้านาน เพราะเรามีความเป็นปึกแผ่นในชาติ และต่างบำเพ็ญกรณียกิจตามหน้าที่ให้สอดคล้องเกื้อกูลกัน เพื่อประโยชน์ของชาติ คนไทยทุกคนควรตระหนักในข้อนี้ให้มาก และตั้งใจประพฤติตัว ปฎิบัติงานให้สมฐานะ เพื่อให้สำเร็จต่อประโยชน์ส่วนรวม คือความมั่นคงปลอดภัยของชาติบ้านเมืองไทย...” ณ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ต.คลองห้า ปทุมธานี

 MG 7468 800x533


         วันนี้ (วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม 2560) เวลา 10.30 น. ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ประธานคณะกรรมการดำเนินการโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” ได้กล่าวขอบคุณในการเป็นประธานพิธีปิดโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” รุ่นที่ 31 ว่า โครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” เกิดขึ้นจากการดำริของ ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ โดยการสนับสนุนจากคณะกรรมการของมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ มูลนิธิ รักเมืองไท มูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กองทัพทุกเหล่า ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน นำเยาวชนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวอุปถัมภ์ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวอุปถัมภ์และชุมชนสังคมพหุวัฒนธรรม ทำให้เยาวชนได้รับประสบการณ์ตรง และมีความรู้ความเข้าใจบริบทของสังคมประเทศไทยมากยิ่งขึ้น จนนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครอบครัวอุปถัมภ์ กับครอบครัวเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้


          ทั้งนี้ โครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2548 โดยนำเยาวชนจาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาทำกิจกรรมร่วมกัน โดยจัดอบรมปีละ 2 รุ่น จนถึงปัจจุบันมีเยาวชนเข้าร่วมโครงการแล้ว 6,430 คน จะเห็นได้ว่ามีเยาวชนที่ผ่านการอบรมตั้งแต่รุ่นแรก ๆ ขณะนี้จบการศึกษากำลังประกอบอาชีพต่าง ๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งชมรม “สานใจไทย สู่ใจใต้” เพื่อทำหน้าที่ดูแลบำรุงรักษาบ้านเมืองและประเทศชาติของเรา ด้วยความภูมิใจที่เกิดมาบนแผ่นดินไทยแห่งนี้ ท้ายนี้ ขอฝากเยาวชนทุกคนที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ จงเป็นคนดี เป็นผู้นำในการเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี ตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน และร่วมกันพัฒนาประเทศของเราต่อไป

 MG 7393 800x533

         

         ดร.กมล รอดคล้าย เลขานุการและคณะกรรมการดำเนินการโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” เผยว่า การจัดกิจกรรมโครงการสานใจไทย สู่ใจใต้ รุ่นที่ 31 นี้ ได้นำเยาวชนจำนวน 319 คน จาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และสตูล มาเข้าร่วมกิจกรรม โดยมีพิธีเปิดโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” รุ่นที่ 31 ในวันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม ที่ผ่านมา ณ สโมสรทหารบก (วิภาวดี) โดยมี ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานในพิธี 

         จากนั้นเยาวชนใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ใน 10 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร - นนทบุรี - นครนายก - ปทุมธานี - พระนครศรีอยุธยา - ฉะเชิงเทรา - ชลบุรี - สระบุรี - สมุทรปราการ และ อ่างทอง ซึ่งการใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ถือเป็นหัวใจสำคัญของโครงการฯ เยาวชนจะได้ศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิต การประกอบอาชีพ ตลอดจนการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน เกิดความรัก ความเมตตา และความห่วงใย มีความผูกพันกับครอบครัวอุปถัมภ์ หลังจากพำนักกับครอบครัวอุปถัมภ์ เยาวชนจะเดินทางเข้าค่ายสิ่งแวดล้อม ณ อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตใน “ค่ายเปิดโลกการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สานใจไทย สู่ใจใต้” ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ทัศนศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เมืองมรดกโลก และท้ายสุดในวันพรุ่งนี้เยาวชนทั้งหมดจึงจะเดินทางกลับภูมิลำเนา โดยได้รับการสนับสนุนเครื่องบิน C -130 จากกองทัพอากาศ ส่งเยาวชนที่สนามบินกองบิน 56 หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และสนามบินบ้านทอน จังหวัดนราธิวาส

 MG 7373 800x533

          ในส่วนของ อพวช. หน่วยงานหลักในการจัดค่าย “เปิดโลกการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สานใจไทย สู่ใจใต้” รุ่นที่ 31 นั้น ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า อพวช. มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสต้อนรับเยาวชนจาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เข้ามาเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ใหม่ ในด้านวิทยาศาสตร์ด้วยรูปแบบการจัดค่ายวิทยาศาสตร์ โดยเยาวชนจะลงมือปฎิบัติ และทดลองด้วยตนเอง อาทิ กิจกรรมนักประดิษฐ์ Maker Challenge ที่เน้นการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยตนเอง ตามหลักสะเต็มศึกษา ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการสร้างบุคคลากรที่เป็นอนาคตของชาติ ทั้งนี้ อพวช. ขอขอบคุณโครงการฯ ที่ให้ความไว้วางใจ อพวช. ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ อพวช. จะมุ่งมั่นพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมวิทยาศาสตร์ ให้ประชาชนมีกระบวนการคิดด้วยหลักการและเหตุผล อันก่อให้เกิดความเข้าใจ ความสามัคคี อย่างยั่งยืนต่อไป

        กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับหน่วยงานในท้องถิ่นทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ สถานศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัด ห้างสรรพสินค้า จัดคาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. เพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนที่สนุกและสร้างสรรค์จินตนาการกับกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ที่หลากหลาย ในรูปแบบนิทรรศการและกิจกรรมเคลื่อนที่ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเยาวชน สู่การต่อยอดพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมให้กับประเทศ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2560 – กุมภาพันธ์ 2561

6801983020400 400x600


        ปทุมธานี/1 พ.ย 2560 – ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เปิดเผยว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความมุ่งมั่นในการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้กับประเทศ พร้อมมุ่งสร้างความตระหนักทางด้านวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งเด็ก ๆ นับเป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่ง อพวช. ในฐานะหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีภารกิจโดยตรงในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักทางวิทยาศาสตร์แก่สังคมไทย จึงมองว่าคาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะสามารถเข้าไปบริการประชาชนและเยาวชนที่อยู่ในต่างจังหวัด ได้มีโอกาสเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนทัดเทียมกับในส่วนกลาง โดยเริ่มจากจุดประกายความสนใจ และสร้างแรงบันดาลใจ ด้วยเป็นกิจกรรมที่ให้ทั้งความรู้ และความสนุกสนาน เพื่อนำไปสู่การอยากเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น และยิ่งไปกว่านั้นอาจจะนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีนวัตกรรมให้กับประเทศต่อไป

PB191634 2800x2100 800x600


          คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. จัดแสดงมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 13 ปี ในรูปแบบนิทรรศการและกิจกรรมขนาดใหญ่ ใช้พื้นที่เต็มหอประชุม และห้องจัดกิจกรรมโดยรอบพื้นที่ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานในท้องถิ่นประจำจังหวัดในการใช้พื้นที่จัดแสดง โดยในครั้งนี้มีนิทรรศการและกิจกรรมที่จะนำไปจัดแสดงประกอบไปด้วย นิทรรศการ Fly to space นิทรรศการที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจด้านอวกาศ ผ่านการให้ความรู้เกี่ยวกับอวกาศ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ บนท้องฟ้า รวมถึงอากาศยาน นิทรรศการวิทยาศาสตร์แบบสื่อสัมผัส ชุด Wit in Case ที่สร้างการเรียนรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานด้านกลศาสตร์ แม่เหล็กไฟฟ้า ปฎิกิริยาตอบสนองการมองเห็น คณิตศาสตร์ แสง สี เสียง และการแก้ปัญหากับชิ้นงานกว่า 60 ชิ้น นิทรรศการ Enjoy Science Careers : สนุกกับอาชีพวิทย์ ปี 2 กว่า 10 อาชีพ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชน ให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ ในสายงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรม Maker Space พื้นที่ปลดปล่อยจินตนาการ ปั้นนักสร้างสรรค์นวัตกรรมรุ่นใหม่ โดยใช้ทักษะการประดิษฐ์เพื่อแก้ปัญหา กิจกรรมวิทยาศาสตร์สุดหรรษา (Science Games and Toys) เกมส์ และสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์กว่า 10 ฐาน อาทิ เครื่องร่อน เครื่องบินกระดาษพับ จรวดหลอด บอลลูนคอปเตอร์ กิจกรรมท้องฟ้าจำลองเคลื่อนที่ เพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้เรื่องดาว กลุ่มดาว การดูทิศทาง ตำแหน่งของเราบนพื้นโลกเทียบกับดวงดาว การจินตนาการบนท้องฟ้า และเรื่องราวตำนานแห่งดาราศาสตร์ ผ่านเครื่องฉายภาพยนตร์ในระบบ 3 มิติแบบ Full dome ห้องปฎิบัติการเคลื่อนที่ ฝึกทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ รู้จักกับอุปกรณ์ พร้อมหาคำตอบผ่านการทดลอง เรื่องคนแกล้งดิน และสมดุลหรรษา การแสดงทางวิทยาศาสตร์ พบประสบการณ์อันตื่นเต้นเร้าใจ และได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ในตอนสนุกกับการเคลื่อนที่ นอกจากนี้ อพวช. ยังมีกิจกรรมการอบรมสัมมนาอีก 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรสำหรับบุคลากรทางการศึกษา การอบรมครู การพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแบบวิทย์นอกห้องเรียน และหลักสูตรสำหรับนักเรียนมัธยมปลาย โครงการค้นหาความฝัน เพาะพันธุ์นักวิทย์ (Science Idol)

P2099041 2800x2100 800x600


          ซึ่งกิจกรรมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเริ่มออกเดินทางจัดกิจกรรมไปตามโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเริ่มที่ภาคอีสาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร ระหว่างวันที่ 7 - 10 พฤศจิกายน 2560 / โรงเรียนยโสธรพิทยาคม จังหวัดยโสธร ระหว่างวันที่ 14 - 17 พฤศจิกายน 2560 / มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ 21 - 24 พฤศจิกายน 2560 ภาคเหนือ โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน – ธันวาคม 2560 / วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 6 - 8 ธันวาคม 2560 / โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ระหว่างวันที่ 13 – 15 ธันวาคม 2560 / โรงเรียนสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ระหว่างวันที่ 9 - 12 มกราคม 2561 ภาคตะวันออก โรงเรียนชลราษฎรอำรุง จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 16 - 19 มกราคม 2561 / มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ระหว่างวันที่ 23 - 26 มกราคม 2561 / โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง จังหวัดระยอง ระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2561 ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 7 - 9 กุมภาพันธ์ 2561 / มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 13 - 16 กุมภาพันธ์ 2561


          สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02 577 9999 ต่อ 2109 และ 2123 

พบกับ กิจกรรม "The Research Show by Naturalist" ประจำเดือนพฤศจิกายน 2560

พบกับนักธรรมชาติวิทยาด้านสัตว์น้ำ

 35 Aquatic Detective Nat.Dan Nov.17 424x600

วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2560
ในตอน Aquatic Detective : สืบเสาะเลาะ
โดย Nat.แดน (กชกร มูลสถาน)


พบกับนักธรรมชาติวิทยาด้านสตัฟฟ์สัตว์

36 Mocking Up the Nature Nat.Bow Nov.17 424x600

วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2560
ในตอน Mocking Up the Nature : ฉากชีวิตเนรมิตรได้
โดย Nat.โบว์ (ภัทรียา สร้อยอินทร์)

จัดกิจกรรมในเวลา 13.30 - 14.30 น. ณ ห้องการแสดงทางวิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา รับจำนวน 60 คน

สนใจสำรองที่นั่งได้ที่ Facebook : พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา


***หมายเหตุ กิจกรรมนี้สำหรับผู้เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเท่านั้น***

อิมแพ็ค เมืองทองธานี / 26 สิงหาคม 2560 – กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชวนคนไทยร่วมตระหนักรับรู้ถึงปัญหาและช่วยกันปกป้องโลกให้ยั่งยืน ก่อนการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 จะเกิดขึ้นเพราะน้ำมือของพวกเรา ใน “นิทรรศการยุคมนุษย์ครองโลก” (Anthropocene) ภายในงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2560” (National Science and Technology Fair 2017) ตั้งแต่วันนี้-27 สิงหาคม 2560 ณ ฮอลล์ 2-8 อิมแพ็ค เมืองทองธานี อย่าพลาดสนุกไปกับ Carbon Playground ชมวิวัฒนาการของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอดีตจนถึงปัจจุบัน รู้จักกับการสูญพันธุ์ยุคที่ 1-5 และฤา...จะเกิดการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 ในยุคของเรา

IMG 3922 resize

   ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ปัจจุบันโลกของเรามีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำนายได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ส่วนหนึ่งมาจากการกระทำของมนุษย์ทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งเป็นยุคที่เหล่ามนุษย์เป็นผู้กำหนดอนาคตของโลก ยุคที่มนุษย์เป็นใหญ่ที่สุดในระบบสิ่งมีชีวิตอย่างแท้จริง หรือ Anthropocene ยุคมนุษย์ครองโลก ที่ถูกกล่าวถึงโดย พอล ครูตเซน (Paul Crutzen) นักฟิสิกส์เคมีชาวเนเธอร์แลนด์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี จากงานวิจัยด้านเคมีในบรรยากาศ ระหว่างการบรรยายทางวิชาการ เมื่อปี ค.ศ.2000 เขาเสนอว่า Anthropocene อาจเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 ที่อุณหภูมิเริ่มสูงขึ้น มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ออกสู่ชั้นบรรยากาศ, น้ำแข็งขั้วโลกละลาย, วิกฤติภัยแล้ง, การเกิดพายุและน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน อย่างอุทกภัยครั้งใหญ่ในไทยเมื่อปี พ.ศ. 2554, การสูญพันธุ์ของสัตว์และพืชจำนวนมาก, การกลับมาของโรค Anthrax ฯลฯ เรื่องราวการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นกับโลกของเราขณะนี้ถูกบอกเล่าให้ประชาชนคนไทยได้ตระหนัก แล้วเราในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งจะร่วมกันแก้ไขปัญหาเหล่านี้เพื่อโลกใบนี้คงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไปได้อย่างไร มาร่วมกันค้นพบคำตอบเหล่านี้ได้ใน “นิทรรศการยุคมนุษย์ครองโลก” ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2560 ที่กำลังจัดขึ้นอยู่ในขณะนี้ 

IMG 3911 resize

   อย่าพลาดชมโมเดลเมืองในอุดมคติอย่าง Venus Project พร้อมสนุกสนานไปกับ Carbon Playground ชมวิวัฒนาการของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอดีตจนถึงปัจจุบัน รู้จักกับการสูญพันธุ์ยุคที่ 1-5 และฤา...จะเกิดการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 ในยุคของเรา

เรื่อง “Ghost at the museum”

21730931 277500269407758 4212251215579959260 n

ภารกิจของกลุ่มหมอผี พิสูจน์พลังของวิญญาณ

เรื่องย่อ

        ภารกิจของกลุ่มหมอผีที่ใช้วิทยาศาสตร์ มาจัดการกับสิ่งที่ลึกลับและเหนือธรรมชาติ ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เมื่อตรวจสอบเหตุการณ์ประหลาด กลุ่มหมอผี กลับหาคำตอบไม่ได้ ขณะที่ “หัวหน้ากลุ่ม” เชื่อว่าเป็นพลังงานของวิญญาณ กลุ่มหมอผี...จะหาคำตอบของภารกิจนี้ได้หรือไม่!

        หนังสั้นเรื่อง “Ghost at the museum” เป็นผลงานของ Chumphon Film จากทีมอิสระ โดยทีมฯ เล่าให้ฟังถึงแรงบันดารใจในการสร้างหนังเรื่องนี้ ว่า พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ทุกคนมองแล้วว่ามีความลี้ลับ แม้จะเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ แต่สื่อต่างๆภายในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ มักจะถูกนำเสนอในเรื่องปรากฎการณ์เหนือธรรมชาติ ดูจากเนื้อเรื่องของหนังแล้วอาจจะไม่มีสาระ แต่หากมองทางวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะค้นหาคำตอบโดยการพิสูจน์ ซึ่งต้องการชี้นำให้ผู้ชมเกิดการคิดนอกกรอบ

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย บริษัท ทรู วิชั่น กรุ๊ป จำกัด และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี ๒๕๖๐ หรือ Young Thai Science Ambassador (YTSA 2017) ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีทักษะในการสื่อสารทางด้านวิทยาศาสตร์ และสร้างเครือข่ายเยาวชนนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา ให้มีส่วนร่วมในการช่วยเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์สู่สังคมและสร้างจิตสำนึกในการเป็นทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ ผลเยาวชนไทยทีมจากมหาวิทยาลัยนเรศวร และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คว้ารางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม พร้อมบินลัดฟ้าเพื่อร่วมกิจกรรมด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ณ ประเทศเยอรมนีต่อไป

1 800x533

   นนทบุรี/ 27 สิงหาคม 2559 – นางกรรณิการ์ วงศ์ทองศิริ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า “โครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2560 หรือ Young Thai Science Ambassador 2017 ได้ดำเนินโครงการมาถึงปีที่ 13 แล้ว ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนได้พัฒนาทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ และสร้างเครือข่ายนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ระดับอุดมศึกษา เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ โดยมีหัวข้อคือ “Mega - Crisis มหาวิกฤติภัยดาวโลก” แบ่งได้ 5 สาขา คือ ประชากรล้นโลก (Population Burst) ,อาหารขาดแคลน (Food Crisis),น้ำไม่เพียงพอ (Water Crisis),การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ,พลังงาน (Energy Crisis) โดยมีผลงานจากเยาวชนระดับอุดมศึกษาส่งเข้ามาจากทั่วประเทศ และคณะกรรมการได้ทำการคัดเลือกผลงานและมีเยาวชนผ่านการคัดเลือกกว่า 23 ทีม เพื่อมาเข้าร่วมกิจกรรมค่ายฯ ที่ อพวช. เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “ทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2560” และได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกับนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้าของโลก รวมถึงนักวิจัยที่มีผลงานอันโดดเด่น และผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารจากหน่วยงานต่าง ๆ มาให้ความรู้เพื่อนำมาพัฒนาผลงานของตัวเอง ในการนำเสนองานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หลังจากนั้นทางคณะกรรมการได้คัดเลือกผู้แทนทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยจำนวน 11 ทีม มานำเสนอผลงานในรอบสุดท้ายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2560 ณ อิมแพค เมืองทองธานี

IMG 0962 800x533

IMG 0954 800x533

   โดยผลปรากฏว่ารางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม ตกเป็นของมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้แก่ นายปรเมศวร์ ใครบุตร และนางสาวนูรนาเดีย หะยีมะเก๊ะ และทีมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ นายนวพล เชื่อมวราศาสตร์ และนางสาวธนิตาภรณ์ เผื่อนพงษ์ ซึ่งทั้ง 2 ทีม จะได้เดินทางไปศึกษาดูงานการสื่อสารทางด้านวิทยาศาสตร์ ณ ประเทศเยอรมนี ในเดือนพฤษภาคม 2561

IMG 0885 800x533

IMG 0887 800x533

   ส่วนรางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น ได้แก่ ทีมจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้แก่ นางสาวกัลยานุช อุฤทธิ์ ,ทีมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้แก่นางสาวจอมใจ บุญกาญจน์ และนางสาวพจน์ลดา คำพิพจน์ และทีมสุดท้ายจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้แก่ นายณัฐภัทร ยอดดี และนายวรวุฒิ จันทร์หอม โดยเยาวชนทั้ง 3 ทีมจะได้รับทุนการศึกษา ทีมละ 5,000 บาท

IMG 0872 800x533

IMG 0880 800x533

และรางวัลชมเชย 2 ทีม ได้แก่ ทีมจากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ นางสาวปานชีวา ยงทวี และนางสาวกมลวรรณ ศรีราช และทีมมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ได้แก่ นายสุริยะ สามิบัติ นายรัฐธรรมนูญ เนียมอ่อน ได้รับทุนการศึกษา ทีมละ 3,000 บาท

   นางกรรณิการ์ฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า “ขอแสดงความยินดีและขอชื่นชมเยาวชนทุกท่านที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ สำหรับโครงการนี้ หวังว่าจะช่วยสร้างเครือข่ายสำหรับเยาวชนไทยในการพัฒนาเป็นนักสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของประเทศได้อย่างมีคุณภาพต่อไปในอนาคต”

Image Gallery

IMG0537800x533
IMG0536800x533
IMG0534800x533
IMG0944800x533
IMG0934800x533
IMG0927800x533
IMG0921800x533
IMG0914800x533
IMG0646800x533
IMG0615800x533
IMG0609800x533
IMG0602800x533
IMG0577800x533
IMG0574800x533
IMG0572800x533

26 สิงหาคม 60 / นนทบุรี – กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จัดกิจกรรมเปิดตัว “โครงการส่งเริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อสารผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ (Video Conference)” เพื่อขยายโอกาสการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมเสริมบทเรียน ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูและนักเรียนไทย ณ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อาคารศูนย์จัดแสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

IMG 7998 1

   ดร. อภิญาณ์ หทัยธรรม รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า อพวช. เห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อขยายโอกาสการเรียนรู้นอกห้องเรียน ด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเยาวชนที่อยู่ห่างไกล เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ และกิจกรรมเสริมบทเรียนวิทยาศาสตร์ ให้กับครูและนักเรียนเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากขึ้น จึงได้พัฒนาโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อสารผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ร่วมกับ The National Center of the Public Awareness of science (CPAS) แห่งมหาวิทยาลัย Australia National University (ANU) และ Questacon – The National Science Centre ซึ่งเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งชาติของประเทศออสเตรเลีย และมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ โดย อพวช. จะจัดนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายสาขามาเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ ซึ่งการสื่อสารผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์” นั้น เหมาะสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนปลาย และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จัดขึ้นทุกวันอังคารและพุธ วันละ 2 รอบ โรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถสมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2577 9999 ต่อ 2019 อีเมล์This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

IMG 7934 1

 
กรอกอีเมลเพื่อติดตามข่าวสาร