th th
en

logo eie

หลักสูตร EiE: Engineering is Elementary for Out-of-School Program
หลักสูตร EiE: Engineering is Elementary for Out-of-School Programความร่วมมือจาก MUSEUM OF SCIENCE, BOSTON, USA
และ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

====================================================================

หลักสูตร Engineering is Elementary หรือ EiE 

อพวช. เห็นความสำคัญของ STEM Education และทักษะพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 จึงได้นำหลักสูตรกิจกรรม Engineer is Elementary (EIE) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Museum of Science, Boston ประเทศสหรัฐอเมริกา จนเป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ มาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมในการเสริมทักษะการเรียนรู้นอก  กิจกรรมจะเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจกับคำศัพท์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และให้ความสำคัญกับทักษะการแก้ปัญหาและค้นหาคำตอบ ด้วยกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design Process,EDP) ซึ่งเป็นการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มาสร้างเทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างสิ่งของตามความต้องการอย่างเป็นขั้นตอน โดยในระหว่างการทำกิจกรรม ทุกคนจะได้ร่วมหารือ แสดงความคิดเห็น ร่วมกันนึกถึงสิ่งที่เป็นไปได้ สร้าง ทดสอบ และปรับปรุงความคิดเหล่านั้น รวมทั้งจะได้ร่วมกันแสดงผลงานที่ร่วมกันพัฒนาขึ้นมา

ทำไมต้องวิศวกรรมเพื่อเยาวชน?

1. ประโยชน์ที่ได้รับจากวิศวกรรมสำหรับเยาวชน
หากคุณสังเกตุเวลาเด็กๆ เล่น คุณจะพบว่าพวกเขามีความสนใจในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ รวมทั้งศึกษารายละเอียดองค์ประกอบแต่ละชิ้นเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของมัน ดังนั้น เด็กๆ จึงได้ชื่อว่าเป็นวิศวกรมาตั้งแต่เกิด นักวิจัยเสนอว่าถ้าเด็กๆ ได้ฝึกฝนทักษะทางวิศวกรรมะชวยส่งเสริมการเรียนรู้ของพวกเขาได้เป็นอย่างดี
2. ความเสมอภาคในห้องเรียน
ความเสมอภาคที่สำคัญคือ ไม่มีคำตอบเดียวที่ “ถูกต้อง” ในวิศวกรรม เพราะปัญหาหนึ่งมีทางแก้ไขได้หลายวิธี จากการศึกษาพบว่ากระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมช่วยกำจัดความรู้สึกล้มเหลว และแทนที่ด้วยความคิดที่ว่าความล้มเหลวคือบทเรียนที่สำคัญต่อกระบวนการแก้ปัญหาและเป็นวิธีเรียนรู้ที่ดี 
3.เสริมสร้างทักษะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
วิศวกรรมนี้ได้นำความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา ดังนั้น การเข้าร่วมกิจกรรม นี้จะช่วยให้เด็กๆ มองเห็นความสำคัญของคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของพวกเขา
4. ทักษะศตวรรษที่ 21
กิจกรรมที่เน้นการลงมือทำ (Hands-on) ? พวกเขาจะช่วยกันค้นหาคำตอบ ร่วมกันคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ รวมทั้งสื่อสารระหว่างกันและกัน   โดยนำรูปแบบโครงงานมาใช้ในการศึกษา
5. ความสำเร็จทางอาชีพการงาน
  • กิจกรรมเชิงวิศวกรรมเน้นให้เด็กทำงานเป็นกลุ่ม พวกเขาต้องทำงานร่วมกัน สื่อสารกันระหว่างการ ในศตวรรษที่ 21 ทักษะเหล่านี้มีความสำคัญมากต่อความสำเร็จในทุกสาขาอาชีพ 
  • งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีวิศวกรรมเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนรู้  เด็กมีความตระหนักเพิ่มขึ้นต่อความหลากหลายทางอาชีพวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี  และมองเห็นว่าอาชีพเหล่านี้เป็นทางเลือกที่เขาสามารถเลือกได้
6. การมีส่วนร่วมของประชาชน
สุดท้ายนี้....เมื่อพิจารณาถึงนโยบายเร่งด่วนในด้านต่างๆ ได้แก่ พลังงาน การดูแลสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม การมีความรู้ความเข้าใจในวิศวกรรมและเทคโนโลยีเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับประชาชนในการสนับสนุนการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาประเทศในศตวรรษที่ 21

 

หลักสูตรที่เปิดให้บริการ

หลักสูตร เรื่องของเวลา วิศวกรรมสร้างเครื่องจับเวลา

pic eie It About Time

Engineering Everywhere (EE)

สาขา        : วิศวกรรมเครื่องกล
หลักสูตร      : เรื่องของเวลา: วิศวกรรมสร้างเครื่องจับเวลา
ระดับชั้น      : มัธยมศึกษาปีที่ 1 -3 
กระบวนการ  : การออกแบบทางวิศวกรรม 8 ขั้นตอน  (Engineering Design Process: An Eight- Step Process)

 

 

 

 

 

 

หลักสูตรหลักสูตรเรื่องของเวลา: วิศวกรรมสร้างเครื่องจับเวลา
กิจกรรมเตรียมความพร้อม 1:
วิศวกรรมคืออะไรรู้จักกับวิศวกรรม ลงมือทำกิจกรรมตามแบบทีมวิศวกรเพื่อสร้างหอคอยนาฬิกาจำลอง
กิจกรรมเตรียมความพร้อม 2: เทคโนโลยีตามกาลเวลา
รู้จักกับความหมายของเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา
กิจกรรมที่ 1: ตอนนี้กี่โมงแล้ว
คิดค้นเกี่ยวกับเรื่องของเวลาด้วยตนเอง
กิจกรรมที่ 2: เราทุกคนล้มลง
ประดิษฐ์การจับเวลาด้วยการตรวจสอบจังหวะการล้มลงของโดมิโน
กิจกรรมที่ 3: สร้างนาฬิกาทราย
สำรวจความแตกต่างของนาฬิกาทรายแต่ละแบบ และสร้างนาฬิกาทรายด้วยตนเอง
กิจกรรมที่ 4: สร้างนาฬิกาน้ำจับเวลา
ประดิษฐ์นาฬิกาน้ำจับเวลาที่สามารถจับเวลาด้วยตัวเอง
กิจกรรมที่ 5: ปรับปรุงนาฬิกาน้ำจับเวลา
แก้ไข/ทดสอบนาฬิกาน้ำจับเวลา เพิ่มระบบของหน้าจอสำหรับแสดงผลหรือการส่งสัญญาณไปยังเครื่องจับเวลา
กิจกรรมที่ 6: งานแสดงผลงานวิศวกรรม
นำเสนอผลงานการออกแบบสิ่งประดิษฐ์นาฬิกาน้ำจับเวลาที่ทำขึ้นด้วยกระบวนการทางวิศวกรรม
 Picture1

หลักสูตร: สูงท้าสั่น: วิศวกรรมสร้างอาคารต้านแผ่นดินไหว

pic eie Shake Things Up

 

Engineering Adventure (EA)

สาขา           : วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)
หลักสูตร      : สูงท้าสั่น : วิศวกรรมสร้างอาคารต้านแผ่นดินไหว
ระดับชั้น      : ประถมศึกษา 4 - 6
กระบวนการ  : การออกแบบทางวิศวกรรม 5 ขั้นตอน

 

 

 

หลักสูตรหลักสูตรเรื่องของเวลา: วิศวกรรมสร้างอาคารต้านแผ่นดินไหว
กิจกรรมเตรียมความพร้อม 1: วิศวกรรมคืออะไร
เรียนรู้การสร้างหอคอยและรู้จักกับกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม สําหรับเป็นเครื่องมือช่วยในการแก้ปัญหา
กิจกรรมเตรียมความพร้อม 2: เทคโนโลยีคืออะไร
ส ารวจแนวคิดใน การออกแบบ และปรับปรุง เทคโนโลยีในฐานะวิศวกร
กิจกรรมที่ 1: การสั่นสะเทือน
การหาวิธีป้องกันอาคารไม่ให้เกิดความเสียหายขณะเกิดแผ่นดินไหว
กิจกรรมที่ 2: โครงสร้างอาคาร
ค้นคว้าว่าแผ่นดินไหวท าให้เกิดความเสียหายกับอาคารบ้านเรือนที่สูงและ รูปทรงต่างกันอย่างไร
กิจกรรมที่ 3: หยุดการเลื่อนไถลจากพื้นท่ี
ออกแบบเชิงวิศวกรรมในการหาวิธีไม่ให้สิ่งประดิษฐ์ (อาคาร) หลุดจากโต๊ะ เมื่อเกิดการสั่นสะเทือน
กิจกรรมที่ 4: รักษารูปทรงอาคาร
ออกแบบเชิงวิศวกรรมในการหาวิธีไม่ให้อาคารเปลี่ยนแปลงรูปทรง เมื่อเกิดการ สั่นสะเทือน
กิจกรรมที่ 5: สร้างอาคารต้านทานแผ่นดินไหว
วางแผน สร้าง และ ทดสอบ อาคารโดยการเขย่าโต๊ะ
กิจกรรมที่ 6: ปรับปรุงอาคารให้ทนทาน
ปรับปรุง การออกแบบเบื้องต้น ทดสอบ และหาข้อสรุป

กิจกรรมที่ 7: การแสดงผลงานทางวิศวกรรม
นำเสนอการออกแบบเกี่ยวกับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม

 

 EA

 

หลักสูตร สุดขอบฟ้า  วิศวกรรมแห่งเทคโนโลยีการบิน

pic eie The Sky s the Limit

Engineering Adventure (EA)

สาขา        : วิศวกรรมการบิน (Aeronautical Engineering)
หลักสูตร      : สุดขอบฟ้า : วิศวกรรมแห่งเทคโนโลยีการบิน 
ระดับชั้น      : ประถมศึกษา 4 - 6
กระบวนการ  : การออกแบบทางวิศวกรรม 5 ขั้นตอน (Engineering Design Process: A Five- Step Process)







หลักสูตร วิศวกรรมแห่งเทคโนโลยีการบิน
กิจกรรมเตรียมความพร้อม 1: วิศวกรรมคืออะไร
เรียนรู้การสร้างหอคอยและรู้จักกับกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม
สำหรับเป็นเครื่องมือช่วยในการแก้ปัญหา
กิจกรรมเตรียมความพร้อม 2: เทคโนโลยีคืออะไร
วิเคราะห์แนวคิดใน การออกแบบ และ ปรับปรุง เทคโนโลยี ในฐานะวิศวกร
การผจญภัยที่ 1: ความท้าทายเกี่ยวกับการบิน
เรียนรู้งานด้านวิศวกรรมการบินของ NASA การถ่ายภาพทางอากาศ และศึกษา
การเคลื่อนที่ของวัสดุแต่ละชนิดเมื่อวางในท่อลมแนวตั้ง
การผจญภัยที่ 2: คอปเตอร์กระดาษ
สังเกตการลดระดับของคอปเตอร์กระดาษ และออกแบบคอปเตอร์ที่ร่อนลงสู่พื้นช้าที่สุด
การผจญภัยที่ 3: สูงขึ้นและลอยไป
สร้างจานบินที่สามารถหมุนและลอยอยู่ในอากาศได้
การผจญภัยที่ 4: สร้างสิ่งประดิษฐ์ทางเทคโนโลยีการบิน
การใช้ความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมการบินเพื่อออกแบบแบบจำลองของสิ่งประดิษฐ์ทางการบินตามเกณฑ์และข้อจำกัด
การผจญภัยที่ 5: ปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์ทางเทคโนโลยีการบิน
ปรับปรุง แบบจำลองของสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยีการบินให้เป็นไปตามเกณฑ์ข้อกำหนดและข้อจำกัดต่างๆ
การผจญภัยที่ 6: การแสดงผลงานทางวิศวกรรม
การนำเสนอแบบจำลองสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยีการบินและแสดงตัวอย่างของ
ภาพถ่ายทางอากาศที่ได้จากการปฏิบัติภารกิจการบินของ NASA

 

 EA

หลักสูตร ดวงอาทิตย์มาแล้ว: วิศวกรรมสร้างบ้าน : ติดฉนวนกันความร้อน

pic eie Here Comes the SunEngineering Everywhere (EE)
สาขา        : วิศวกรรมสีเขียว (Green Engineering)
หลักสูตร      : ดวงอาทิตย์มาแล้ว: วิศวกรรมสร้างบ้าน : ติดฉนวนกันความร้อน
ระดับชั้น      : มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3
กระบวนการ  : การออกแบบทางวิศวกรรม 8 ขั้นตอน  (Engineering Design Process: An Eight- Step Process)





 

 

หลักสูตร ดวงอาทิตย์มาแล้ว: วิศวกรรมสร้างบ้านติดฉนวนกันความร้อน
กิจกรรมเตรียมความพร้อม 1: วิศวกรรมคืออะไร
รู้จักกับวิศวกรรม ลงมือทำกิจกรรมตามแบบทีมวิศวกร เพื่อสร้างตู้ขนย้ายโมเดลแมมมอธแช่แข็ง
กิจกรรมเตรียมความพร้อม 2: เทคโนโลยีคืออะไร
เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีผ่านเกมส์จับคู่และ จินตนาการ นึกถึงวิธีในปรับปรุงเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ 1: บ้านติดฉนวนกันความร้อน
สร้างแบบบ้านคอนเทนเนอร์ที่จะนำไปติดตั้งฉนวนกันความร้อน
กิจกรรมที่ 2: สำรวจวัสดุสำหรับทำฉนวนกันความร้อน
ทดสอบ วัสดุสำหรับใช้ทำฉนวนกันความร้อนประเภทต่างๆ
กิจกรรมที่ 3: เราจะอาศัยอยู่ได้หรือไม่
จินตนาการ แบบพื้นห้องสำหรับบ้านคอนเทนเนอร์
กิจกรรมที่ 4: การสร้างบ้านติดฉนวนกันความร้อน
ติดตั้งฉนวนกันความร้อนกับบ้านคอนเทนเนอร์
กิจกรรมที่ 5: ปรับปรุงบ้านติดฉนวนกันความร้อน
ปรับปรุง แบบบ้านที่ติดฉนวนกันความร้อน
กิจกรรมที่ 6: การแสดงผลงานทางวิศวกรรม
นำเสนอผลงานการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่ทำขึ้นด้วยกระบวนการทางวิศวกรรม

 

Picture1

 

 Poster EiE 2020 01

 รายละเอียดหลักสูตร EIE

pdf

ใบสมัครกิจกรรม EIEl

Size: 117.92 KB
Hits : 414
Date added: 2563-02-15
pdf

ใบสมัครกิจกรรม EIEl

Size: 117.92 KB
Hits : 407
Date added: 2563-02-15