โครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2564
(Young Thai Science Ambassador, YTSA 2021)
ข่าวดีขยายเวลารับสมัคร #โครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2564 (Young Thai Science Ambassador, YTSA 2021) ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 500,000 บาท พร้อมโอกาสอัพสกิลไกลถึงต่างประเทศ
เนื่องจากมีผู้สนใจร่วมโครงการเป็นจำนวนมากแต่เตรียมตัวไม่ทัน เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนระดับปริญญาตรีได้จัดเตรียมผลงาน อพวช. จึงขยายเวลาเปิดรับผลงานจนถึงวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2565
เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่วันที่ 30 เมษายน 2565
เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโรค COVID-19 และเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค และเพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน
ในปีนี้จึงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมการอบรมและการแข่งขันผ่านระบบออนไลน์และออนไซต์
สมัครออนไลน์ คลิก>> https://forms.office.com/r/CJi3LJYNj0
ความเป็นมาของโครงการฯ
ในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และส่งผลต่อการดำรงชีวิตของเราเป็นอย่างยิ่ง จะเกิดอะไรขึ้น หากเราดำรงชีวิตแบบขาดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเรามีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ประกอบการดำรงชีวิต การมีและไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนแปลงหรือแตกต่างไปอย่างไรการสื่อสารเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อโลกและตัวเราจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมประชาชนได้รับรู้และตระหนักถึงการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็วขององค์ความรู้วิทยาศาสตร์ที่ล้วนเกี่ยวข้องต่อการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และบริษัท ทรู คอปเปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)จึงได้กำหนดจัดโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2564 (Young Thai Science Ambassador 2021) ขึ้นเป็นปีที่ 17 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา ให้มีความรู้ ความสามารถ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเรื่องราววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยกำหนดให้เยาวชนนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในแง่มุมต่าง ๆ ในหัวข้อ “สุขที่กาย ด้วยความเข้าใจ – Better Health” ภายใต้แนวคิดความเข้าใจเรื่องสุขภาพที่ดีและไม่ดีสามารถเกิดจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เรากำลังเผชิญอยู่ได้อย่างไร เราจะดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นในภาวะเช่นนี้ได้อย่างไร พร้อมแนวทางและรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการสร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบถึงเราทุกคน เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่โดยเริ่มต้นจากการเข้าใจโลก ตนเอง คนรอบข้าง ตลอดจนเรื่องราวสุขภาพของตัวเองและสุขภาพของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น SDG ข้อที่ 3 ว่าด้วยการดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ในฐานะนักสื่อสารวิทยาศาสตร์จึงมีความจำเป็นในการหาแนวทางและรูปแบบการสื่อสารที่มีเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์ เพื่อให้การสื่อสารวิทยาศาสตร์บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา ให้มีความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเรื่องราววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
- เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนได้มีโอกาสสื่อสารกับประชาชนเพื่อส่งเสริมการสร้างความตระหนักถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับโลกและชีวิตของเรา
- เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้เยาวชนระดับอุดมศึกษาที่มีความสนใจในวิทยาศาสตร์และอยากถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์สู่สังคม
- เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนนักสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของประเทศ
กลุ่มเป้าหมาย
เยาวชนอายุ 17-23 ปี และ กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
การรับสมัคร
1. คุณสมบัติของผู้สมัคร
- เยาวชนที่มีสัญชาติไทย และมีอายุระหว่าง 17 - 23 ปี
- และกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
- ต้องไม่เคยผ่านการเข้าค่ายทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยมาก่อน
- สามารถเดินทางต่างประเทศได้
2. หัวข้อในการนำเสนอผลงานปี 2564
สุขที่กาย ด้วยความเข้าใจ – Better Health
เยาวชนจะต้องนำเสนอความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในแง่มุมต่าง ๆ เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของเราภายใต้แนวคิด “ความเข้าใจเรื่องสุขภาพที่ดีและไม่ดีสามารถเกิดจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เรากำลังเผชิญอยู่ได้อย่างไร เราจะดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นในภาวะเช่นนี้ได้อย่างไร” พร้อมแนวทางและรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการสร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบถึงเราทุกคน เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่โดยเริ่มต้นจากการเข้าใจโลก ตนเอง คนรอบข้าง ตลอดจนเรื่องราวสุขภาพของตัวเองและสุขภาพของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น SDG ข้อที่ 3 ว่าด้วยการดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ในฐานะนักสื่อสารวิทยาศาสตร์จึงมีความจำเป็นในการหาแนวทางและรูปแบบการสื่อสารที่มีเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์ เพื่อให้การสื่อสารวิทยาศาสตร์บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3. แนวทางและรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สาธารณชน
ผู้สมัครจะต้องนำเสนอรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่จะใช้ในการนำเสนอที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตนได้กำหนด เช่น การพูดถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์ (Talk), การนำเสนอด้วยรูปแบบการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show), การแสดงสาธิต (Demon), เล่านิทาน, การแสดงละคร, ละครหุ่น (mini puppet theatre), หนังสือ pop up, คลิปอะนิเมชั่น, การ์ตูนเล่าเรื่อง, ละครวิทยุ, หนังสั้น หรืออื่น ๆ
4. กติกาการรับสมัคร
4.1 การรับสมัคร
เยาวชนที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2564 สามารถสมัครผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ https://forms.office.com/r/CJi3LJYNj0 พร้อมส่งลิงค์คลิปวิดีโอแนะนำตัวเองแนวคิดเรื่องที่จะสื่อสารและรูปแบบของการสื่อสารที่จะใช้ภายใน 3 นาที ในหัวข้อที่กำหนด โดยสามารถเลือกนำเสนอเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ หมดเขตรับสมัคร วันที่ 30 เมษายน2565
4.2 ข้อกำหนดในการส่งคลิปวิดีโอการนำเสนอเรื่องราววิทยาศาสตร์ใน 3 นาที
- เยาวชนที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2564 จัดทำคลิปโดยมีรายละเอียดดังนี้
- แนะนำตัวเอง
- แนวคิดในเรื่องที่จะนำเสนอสอดคล้องกับหัวข้อที่กำหนด และเป็นหัวข้อและสาระที่ผู้นำเสนอจัดทำขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีการคัดลอกผลงานการนำเสนอของผู้อื่น อาทิ โครงสร้างเรื่องในการนำเสนอ
- วิธีการและรูปแบบในการนำเสนอ หัวข้อในการนำเสนอ สคริปต์ที่ใช้ในการนำเสนอ เป็นต้น
- สามารถเลือกใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษในการนำเสนอ โดยเลือกนำเสนอภาษาใดภาษาหนึ่งเท่านั้น
- จะต้องบันทึกการถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์ภายใต้หัวข้อที่กำหนดภายในเวลา 3 นาที และไม่น้อยกว่า 2 นาที 30 นาที
4.3 รูปแบบการสื่อสาร
ผู้สมัครจะต้องนำเสนอรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่จะใช้ในการนำเสนอที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตนได้กำหนด เช่น การพูดถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์ (Talk), การนำเสนอด้วยรูปแบบการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show), การแสดงสาธิต (Demon), เล่านิทาน, การแสดงละคร, ละครหุ่น (mini puppet theatre), หนังสือ pop up, คลิปอะนิเมชั่น, การ์ตูนเล่าเรื่อง, ละครวิทยุ, หนังสั้น หรืออื่น ๆ
หมายเหตุ: ไม่อนุญาตให้นำคลิปของผู้อื่นที่ไม่ใช่ผลงานตนเองส่งเข้าประกวด หากพบว่ามีการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในการสมัคร จะพิจารณาตัดสิทธิ์ในการแข่งขัน
5. การคัดเลือกผลงานเยาวชนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมค่ายทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย
- คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จะคัดเลือกเยาวชน 40 คนจากทั่วประเทศโดยพิจารณาจากใบสมัคร แนวทางการสื่อสาร และคลิปวิดีโอการนำเสนอ ที่ส่งเข้ามา โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกดังนี้
- หลักการและเหตุผลในการนำเสนอ 20%
- สาระวิทยาศาสตร์ที่จะนำเสนอ 30%
- ความรู้และความถูกต้องของสาระวิทยาศาสตร์
- เหมาะสมต่อกลุ่มเป้าหมาย
- เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย
- มีความชัดเจน ไม่ยากซับซ้อน หรือง่ายจนเกินไป
3. ความน่าสนใจของรูปแบบ/วิธีการ/แนวทางในการนำเสนอ 30%
- มีความเชื่อมโยงของเนื้อหา
- เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
- มีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการสื่อสารและการใช้สื่อ
- ความน่าสนใจ ดึงดูด และชวนติดตาม
4. ภาพรวมในการนำเสนอจากคลิปวีดีโอ 20%
- ประกาศผลคัดเลือกรอบแรก ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 ผ่านทาง Website ของ อพวช: www.nsm.or.th
- ผู้ที่ได้รับคัดเลือกจะได้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมการพัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมและการประเมินรอบสุดท้าย สำหรับทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2564 (Young Thai Science Ambassador 2021) เพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ จากหน่วยงานระดับประเทศ โดยจะได้รับการอบรมฯ ในระบบออนไลน์ และการอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ อพวช. คลองห้า จำนวน 3 วัน ระหว่าง 08.00 – 21.00 น. ดังนี้
วันที่ |
การอบรม |
วันที่ 2 – 16 พฤษภาคม 2565 |
อบรมออนไลน์ผ่านระบบ http://www.plearnscience.com/ |
วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2565 |
อบรมเชิงปฏิบัติการ 1 |
วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม 2565 |
อบรมเชิงปฏิบัติการ2 |
วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม 2565 |
อบรมเชิงปฏิบัติการ3 |
หมายเหตุ:รายละเอียดกำหนดการการอบรมฯ จะแจ้งให้ทราบในภายหลัง และวันที่จัดการอบรมฯ อาจมีการปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมในภายหลัง
6. การอบรมพัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ สำหรับทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยประจำปี 2564
- เยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมพัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ (online) เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ พร้อมเรียนรู้แนวทางในการฝึกปฏิบัติการนำเสนอเรื่องราววิทยาศาสตร์ให้น่าสนใจในรูปแบบต่าง ๆ (onsite) จากผู้ทรงคุณวุฒินักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์จากหน่วยงานชั้นนำระดับประเทศ นอกจากนี้ยังได้พบปะ พูดคุย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยรุ่นพี่ที่เคยเข้าร่วมในโครงการนี้
- เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมฯ จะต้องนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมการอบรมฯ มาพัฒนาผลงานการสื่อสารวิทยาศาสตร์ของตนเอง (1 คน ต่อ 1 ผลงาน) โดยมีระยะเวลานำเสนอไม่เกิน 5 นาที เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในวันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม 2565และนำคำแนะนำจากคณะกรรมการไปพัฒนาปรับปรุงผลงานแล้วนำกลับมานำเสนอผลงานรอบชิงชนะเลิศระหว่างวันที่ 5 – 12 พฤษภาคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์โดยมีกำหนดการดังนี้
วันที่ |
กิจกรรม |
วันอาทิตย์ที่ 29พฤษภาคม 2565 |
นำเสนอไอเดียผลงาน |
วันที่ 5 – 12 พฤษภาคม 2565 |
นำเสนอผลงาน และประเมินผล |
หมายเหตุ:การจัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศจะจัดผ่านระบบออนไลน์ และอาจมีการปรับเปลี่ยนกำหนดการตามความเหมาะสม
7. การเลือกผู้แทนทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยเพื่อเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยมและนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม ประจำปี 2564
- คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะพิจารณาคัดเลือกทูตเยาวชนฯ จำนวน 10 คน ที่มีการนำเสนอผลงานยอดเยี่ยม เพื่อแต่งตั้งให้เป็นทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2564
- คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะพิจารณาคัดเลือกทูตเยาวชนฯ จำนวน 4 คน จาก 10 คนที่ผ่านการคัดเลือก ที่สามารถทำคะแนนในการนำเสนอได้มากที่สุด เพื่อเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม และเยาวชนฯ จำนวน 6 คน จะได้เป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น
- นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม จำนวน 4 คน และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น จำนวน 6 คนจะได้รับภารกิจร่วมกับ อพวช. ในการสื่อสารวิทยาศาสตร์รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง อย่างน้อยคนละ 1 ผลงานใน 1 ปี
รางวัล
นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม จำนวน 4 คน
จะได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้แทนทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย เดินทางไปศึกษาดูงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ณ สหพันสาธารณรัฐเยอรมนี (เดินทางร่วมกับผู้ชนะปี 2022 ช่วงเดือนมีนาคม 2566)
หมายเหตุ:การเดินทางอาจมีการปรับเปลี่ยนกำหนดการตามความเหมาะสม
นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น จำนวน 6 คน
จะได้รับ ทุนการศึกษา คนละ 5,000 บาท (รวมจำนวนเงิน 30,000 บาท)
ผู้ที่ผ่านการเข้าค่ายทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2563
จะได้รับวุฒิบัตร เยาวชนนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และมีโอกาสร่วมงาน อพวช. ปฏิบัติงานในภารกิจต่าง ๆ ในฐานะนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ อาทิ เป็นผู้ดำเนินรายการเสวนาวิทยาศาสตร์ เขียนบทความเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้งานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์
คณะกรรมการตัดสิน
ผู้ทรงคุณวุฒิจาก
- องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
- สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย
- บริษัท ทรู คอปเปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
หน่วยงานผู้ร่วมจัด
- องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
- สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย
- บริษัท ทรู คอปเปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ศักดิ์ชัย จวนงาม
สุมัยญา ยะก๊บ
Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
โทร 02 577 9999 ต่อ 1475, 1473