จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช.
แหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สะดวก สบาย ทันสมัย ใจกลางเมือง
ประวัติ ความเป็นมา
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะยกระดับสังคมไทยให้เป็นสังคมวิทยาศาสตร์ อพวช. ได้พัฒนาแหล่งเรียนรู้ ‘จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช’ ขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ที่เปิดให้บริการนิทรรศการ และกิจกรรมเสริมศึกษา กับกลุ่มเป้าหมายในเขตเมืองชั้นในของกรุงเทพมหานคร ที่อาจไม่สะดวกในการเดินทางมายัง อพวช. คลอง ๕ ปทุมธานี โดยสาระของกิจกรรมต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นผ่านกระบวนการสํารวจความคิดเห็นและตอบรับกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมาอย่างต่อเนื่อง เช่น นิทรรศการบทเรียนในความมืด นิทรรศการ Science Careers Part กิจกรรม Maker Space และห้องปฏิบัติการหลากหลายรูปแบบ
อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจํากัดในการให้บริการผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมที่อยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีแหล่งเรียนรู้ในลักษณะเดียวกันให้บริการในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ง่ายในแต่ละภูมิภาค อพวช. จึงได้พัฒนาโครงการ ‘จัตุรัสวิทยาศาสตร์ภูมิภาค’ เพื่อให้บริการ นิทรรศการและกิจกรรมด้าน วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในรูปแบบเดียวกับจัตุรัสวิทยาศาสตร์ ณ กรุงเทพมหานคร ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๑๐ จังหวัด ทั้งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบสนอง กลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึงยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการลดความเหลื่อมล้ำ ช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างเท่าเทียมกันในทุกพื้นที่ โดยในระยะแรกเป็นการดำเนินโครงการในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
NSM Science Square @ The Street Ratchada
จัตรุัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ เดอะสตรีท รัชดา
บริเวณชั้น 5 ศูนย์การค้า เดอะสตรีท รัชดา
เปิดบริการอย่างเป็นทางการ วันที่ 2 มีนาคม 2564 (Grand Opening) เปิดบริการทุกวัน เวลา : 10.00 – 19.00 น.
ทดลองเปิดบริการ (Soft Opening) 1 มกราคม 2564 เวลาทำการ 11.00 - 18.00 น.
โทรศัพท์ 02 577 9970 และ 02 121 1861 โทรสาร 02 121 1860
Facebook : https://www.facebook.com/NSMScienceSquare
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
Exhibition | Imaginarium | Inspire Lab | Innovation Space | Explorium | I-SCREAM |
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
NSM Science Square @ Chiangmai
จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. จังหวัดเชียงใหม่
ทดลองดำเนินการ 18 มีนาคม 2564
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. เมืองโคราช
ทดลองดำเนินการ มิถุนายน 2564
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
*******************************************************************************************************
การดำเนินงานที่ผ่านมา
NSM Science Square @ Chamchuri Square ปิดบริการแล้ว
ณ บริเวณ ชั้น 4 และ 5 อาคารจัตุรัสจามจุรี สามย่าน
ระยะเวลาดำเนินการ 14 กันยายน 2553 - 31 ธันวาคม 2562
![]() |
![]() |
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ มีนโยบายขยายพื้นที่ให้บริการและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึง เพื่อเอื้อต่อกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด และหวังให้เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นความสนใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงจัดตั้ง “จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช.” ณ บริเวณชั้น 4 และ 5 ของอาคารจัตุรัสจามจุรี สามย่าน โดยเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2553 - 31 ธันวาคม 2562 จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. จัดแสดงนิทรรศการ เสริมด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีเรื่องราวหลากหลาย แปลกใหม่ เพื่อให้เด็ก เยาวชน และครอบครัว เลือกเรียนรู้ สนุกสนานตามอัธยาศัยอย่างเต็มที่ ประกอบด้วย
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
บทเรียนในความมืด (Dialogue in the Dark) ร่วมสัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่ และเรียนรู้การใช้ชีวิตในวิถีที่แตกต่างที่ไม่อาจเข้าถึงได้ด้วยการบอกเล่า เข้าถึงจินตนาการที่ไร้ขอบเขตและศักยภาพอันน่าอัศจรรย์ของประสาทสัมผัสเปิดประตูสู่มิตรภาพกับผู้พิการทางสายตา ประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตที่ต้องสัมผัสด้วยตนเองเท่านั้น
ดินแดนแห่งจินตนาการ” (Imagination Playground) สนามเด็กเล่นสุดพิเศษจากชิ้นส่วนที่เรียกว่า "Blue Block" เสริมสร้างจินตนาการและทักษะการเข้าสังคมสำหรับเด็กเล็ก
สวนสนุกวิทยาศาสตร์ (Science Circus) นำเสนอหลักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่พบเจอในชีวิตประจำวัน เช่น ไฟฟ้า การสัมผัส การมองเห็น และกลไกต่างๆ ในรูปแบบการเรียนรู้ ทดลอง สัมผัส ได้ด้วยตนเอง
การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science Lab) การถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบการทดลอง ผู้ทดลองจะได้เห็นผลด้วยตัวเองตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นการปลูกฝังกระบวนการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา และฝึกทักษะพื้นฐานการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์
บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย (Little Scientists House) กิจกรรมที่ปลูกฝังนิสัยรักวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กเล็กระดับปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) ผ่านการทำกิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้เสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ฝึกการสังเกต การตั้งคำถาม การตอบคำถาม รวมถึงฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือ โดยประสบการณ์และกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ ล้วนมีอิทธิพลต่อพัฒนาการอย่างยิ่ง
โลกของหนูน้อยนักประดิษฐ์ (Enjoy Maker Space) การนำแนวคิดการเรียนรู้แบบ STEM Education มาประยุกต์ใช้ เป็นการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (Science: S) มาบูรณาการเข้ากับหลักการของศาสตร์ต่างๆ อันได้แก่ เทคโนโลยี (Technology: T), วิศวกรรม (Engineer: E), และคณิตศาสตร์ (Mathematics: M) ซึ่งการนำจุดเด่นของแต่ละศาสตร์มาผสมผสานกัน จะทำให้น้องๆ สามารถผลิตชิ้นงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
******************************************************************************************************